Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องเมทัลชีท
•
ติดตาม
22 ก.ค. 2020 เวลา 08:18 • บ้าน & สวน
การเลือกฉนวนให้เหมาะกับบ้านอย่างไรดี?
เมื่อเราเลือกหลังคาเมทัลชีทเป็นแล้ว แน่นอนว่า เราก็อยากให้ตรงที่เรามุงหลังคาไปแล้ว มันไม่ร้อน และไม่มีเสียงดังมากในตอนฝนตก เพราะหลายๆท่านบ่นมาว่า ทำไมใช้แล้วร้อน ทำไมใช้แล้วตอนฝนตกเสียงดังจัง วันนี้ผมเลยจะมาแนะนำฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิดกัน เป็นไอเทมเสริมที่ทำให้ชีวิตเราดีขี้นมากกันเลยทีเดียว ซึ่งฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกันไปดังนี้ครับ
ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น อาจเรียกได้ว่าเป็นฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป มีลักษณะเป็นแผ่น หรือเป็นม้วน แบ่งออกเป็น 4 วัสดุ คือ อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil ),โพลีเอทีลีนโฟม (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE,Air Bubble,และใยแก้ว(Fiber Glass) ส่วนฉนวนกันความร้อนแบบพ่น เป็นฉนวนกันความร้อนที่ต้องมาพ่นลงบนพื้นผิว เช่นหลังคา ผนัง หรือฝ้าเพดาน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามวัสดุ คือ สะท้อนความร้อน (Ceramic Coating) ,โพลียูริเทนโฟม(Polyurethane Foam)หรือโฟมPU และ เยื้อกระดาษ(Cellulose)
1.อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil ) หรือ ฉนวนPE ฟอยล์
มีลักษณะเป็นโฟมเหนียว อ่อนนุ่มและมีแผ่นฟอยล์บางๆ หุ้มเคลือบบนผิวโฟมอีกชั้นหนึ่ง โดย "วัสดุโฟม"จะมีคุณสมบัติต้านทานความร้อน ส่วน "แผ่นฟอยล์" จะสามารถช่วย สะท้อนความร้อน และปกป้องแผ่นโฟม
ฉนวน PE 5mm. แบบติดตั้งจากโรงงาน
เป็นฉนวนที่เราสามารถหาซื้อมาติดตั้งเองได้ง่าย โดยการติดตั้งได้ทั้งแบบปูบนฝ้าเพดาน ติดในโครงผนังเบา ติดกับแป หรือติดใต้จันทัน หรือสามารถให้ทางโรงงานที่เราซื้อแผ่นหลังคาเมทัลชีทติดตั้งมากับท้องแผ่นหลังคาได้เลยจากโรงงาน ซึ่ง
สะดวกมาก และมีราคาถูกที่สุดในบรรดาฉนวนกันความร้อนทุกประเภท มีความหนา
ให้เลือก 2 ความหนา คือ 5 mm. และ 10 mm. และยังมีแบบที่กันความร้อนได้สูงขึ้นไปอีกอย่าง ฉนวนPE ประเภท Air Bubble ซึ่งอาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกเพื่อแลกกันคุณภาพวัสดุที่ดียิ่งขึ้น
2.โพลียูริเทนโฟม(Polyurethane Foam)หรือ PU Foam+อลูมิเนียมฟอยล์
เป็นหลังหลังคาเมทัลชีทที่มีการพัฒนาในเรื่องฉนวนPU โฟมที่แต่เดิมที่ใช้
วิธีพ่นหลังจากติดตั้งหลังคาเสร็จ ซึ่งมักพบปัญหาในเรืองการควบคุมความหนาของ
PU โดยใช้เวลานานในการพ่นและมักจะสลายตัวไปตามเวลา จึงมีการรวมหลังคา
เมทัลชีทกับฉนวน PU Foam เข้าด้วยกัน โดยมีการปิดผิวของโฟมด้วยอลูมิเนียม
ฟอยล์ อีกชั้นนึง เพื่อไม่ให้ PU Foam มีการสลายตัว ทำให้เวลาการติดตั้งเร็ว และ
ประหยัดเวลามากทั้งยังสามารถควบคุมความหนาแน่นของ Foam ได้อย่างสม่ำเสมอ
ท้องแผ่นปิดด้วยอลูมิเนียฟอยล์จึงทำให้มีความสวยงามกว่าแบบพ่น
คุณสมบัติของหลังคาฉนวนกันความร้อนPU Foam คือ มีจุดหลอมเหลวต่ำ ทั่งยังไม่ดูดซับความชื้น สามารถป้องกันน้ำและกันความชื้นได้เป็นเยี่ยม ลดการแผ่รังสี การนำความร้อนที่จะเข้าสู่ภายในบ้านหรืออาคารได้มากกว่า 95 เปอร์เซนต์ ซี่งความร้อนส่วนมาก เป็นความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนของแสงอาทิตย์ แบบกระจายจากด้านบนของหลังคา ผ่านฝ้าเพดานลงสู่ภายใน นั้นคือต้นเหตุของปัญหา และยังช่วยดูดซับการสะท้อนของเสียภายในบ้านหรืออาคาร ทั้งยังลดการเกิดเสียงที่เกิดจากน้ำฝนมากระทบกับแผ่นหลังคาเมทัลชีทได้อีกด้วย ทั้งนี้เราสามารถเลือกวัสุดที่
ใช้ในการปิดท้องแผ่นได้ถึง 3 แบบอีกด้วย
หมายเหตุ : ไม่สามารถทำทรงโค้งได้
แบบอลูมิเนียมฟอยล์
แบบพีวีซี มีให้เลือกทั้งสีขาวและสีดำ
แบบแผ่นเมทัลชีทหรือเรียกว่าแผ่นแซนวิช
3.ฉนวนใยแก้ว(Fiber Glass)
หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับฉนวนใยแก้ว เพราะหาซื้อง่ายตามร้านวัสดุ
ก่อสร้าง มีหลายแบบหลายยี่ห้อให้เลือก เช่น แบบแผ่น แบบไม่มีวัสดุปิดผิว แบบปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ยังทำการปิดผิวด้วยเครื่องจักรจาก
โรงงาน มีค่าน้ำความร้อนต่ำ ดูดซับเสียงได้ดี ไม่ลามไฟ ขนาด 0.60 m.x 4.00 m. มีความหนา ตั้งแต่ 1นิ้ว ขึ้นไป สามารถติดตั้งโดยวางตะแกรงกรงไก่ขึงให้ตึงแล้วยึด
ด้วยสกรู บนแป แล้วจึงวางฉนวนใยแก้วลงไป ช่วงลอยต่อของฉนวนส่วนใหญ่จะปิดด้วยเทปกาวอลูมิเนียม เพื่อความสวยงามและแข็งแรง หลังจากนั้้นจึงปิดด้วยหลังคา
เมทัลชีทอีกชั้น เนื้องจากขั้นตอนการติดตั้งค่อนข้างเยอะ จึงเป็นที่นิยมแค่ในหน่วย
งานราชการ(จากประสบการณ์ที่ผมได้ทำงานมานะครับ)
ฉนวนใยแก้วแบบม้วน
หน้าตาหลังจากติดตั้งฉนวนใยแก้วก็จะประมาณนี้ครับ
4.เซรามิคโค๊ดติ้ง(Ceramic Coating)
ฉนวนสีสะท้อนความร้อน Ceramic Coating คือ ฉนวนกันความร้อนที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมีส่วนประกอบของเม็ดเซรามิคโบโรซิลิเกต ซึ่งมีส่วนผสมของสารต่อต้านความร้อนรูปทรงกลมที่เรียกว่า ไมโครสเฟียร์ เซรามิค มีความสามารถการสะท้อนความร้อนได้ดีและจะไม่สะสมความร้อนบริเวณที่พ่นลงไป เหมาะกับงานหลังคาเมทัลชีท และหลังคากระเบื้อง ที่ต้องการยึดอายุการใชังานของตัววัสดุหลังคา
เป็นยังไงบ้างครับ จากที่ผมได้แนะนำไปขั้นต้นแล้ว พอจะมีไอเดียในการเลือกวัสุดฉนวนกันความร้อนกันบ้างแล้วหรือยังครับ สงสัยอะไรสามารถเค้ามาคอมเม้นได้ใน Blogger เลยนะครับ ผมยินดีให้คำปรึกษา
ฉนวนสีเซรามิคโค๊ตติ้ง
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย