Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นภา
•
ติดตาม
22 ก.ค. 2020 เวลา 16:13 • การศึกษา
Neowise สหาย 6,000 ปี
แน่นอนว่า เรื่องที่ร้อนแรงที่สุดของแวดวง วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ดาวหาง Neowise ไปได้
ซึ่งความสำคัญ ของปรากฏการณ์นี้คือ Neowise นั้นไม่ได้โคจรมาใหล้โลกได้บ่อยครั้งเหมือนกับดาวหางดวงอื่นๆ เช่น ดาวหางฮัลเลย์ ที่จะโคจรมาเยี่ยมเยีนโลกของเรา ทุกๆ 75 ปี
แต่สำหรับ Neowise นั้นเป็นการเดินทางที่ยาวนานกว่ามากไป ซึ่งจะเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยียนโลกของเราทุกๆ 6,000 ปี
คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะได้เห็นการกลับมาของดาวหางดวงนี้อีกสักครั้ง และแน่นอนว่าช่วงชีวิตนี้คงเป็นไปไม่ได้อีกแล้ว
Neowise หรือ Near-Earth Object Wide-field Infered Survey ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนมีนาที่ผ่านมา (27/มี.ค./63) จากภาพถ่ายการสำรวจดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก
ซึ่งนั่นถือเป็นการทำความรู้จักกับ Neowise เป็นครั้งแรก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Neowise นั้นพึ่งเข้ามาอยู่ในวงโคจรของระบบสุริยะเราเป็นครั้งแรกนะครับ
เพราะ โลกของวิทยาศาสตร์ ที่มนุษย์เรียกว่าดาราศาสตร์นั้น พึ่งจะถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ ไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง
ทำให้เราอาจจะคิดได้ว่า นี่คงเป็นการพบเจอกันของเพื่อนเก่า ที่เขาไม่ได้เจอกันมานานกว่า 6,767 ปี ก็ได้
ซึ่งตัวเลข 6,767 ปี นั้นคือคาบการโคจรที่เราสามารถคำนวณได้จากการเคลื่อนที่ของมัน
https://www.india.com/viral/sky-gazers-in-india-get-your-binoculars-and-cameras-ready-as-comet-neowise-to-be-visible-on-this-date-4088914/
ลักษณะของ Neowise นั้น จัดว่าเป็นดาวหางคาบยาว มีหางถึงสองหาง
ซึ่งหางด้านบนนั้น เรียกว่า หางไอออน มีความยาวมากกว่า แต่จะมีความสว่างน้อยกว่าหางด้านล่าง
ส่วนหางด้านล่างเรียกว่า หางฝุ่น จะมีความยาวไม่มากเท่ากับหางไอออน แต่จะมีความฟุ้งกระจาย และความสว่างมากกว่าหางไอออน
โดยทั่วไปแล้ว หางของดาวหางนั้นไม่ได้บอกถึงทิศทางการเคลื่อนที่เหมือนกับไอพ่นเครื่องบิน
แต่หางของดาวหางนั้น จะมีทิศทางที่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ เนื่องจากการระเหิดของ คาร์บอนที่อยู่ในสถานะของแข็ง ประกอบกับลมสุริยะที่พัดออกมา ทำให้เราเห็นเป็นหางของดาวหาง
และแน่นอนว่า เราทุกๆคนสามารถมองหาดาวหางดวงนี้กันได้ด้วยตาเปล่า
เพียงแค่ทุกคนมองไปในทิศตะวันตก เฉียงเหนือ ในช่วงหัวค่ำ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
ซึ่งเราสามารถเห็น ดาวหาง Neowise เข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม นี้
แต่ก็ใช่ว่าจะเราจะมองเห็นกันได้ง่าย ด้วยฤดูกาลของประเทศไทยที่เข้าสู่ช่วงฤดูฝน ทำให้ท้องฟ้าค่อนข้างปิดพอสมควร
และนั่นเป็นอุปสรรคอย่างมากในการดูดาว
นอกจากสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ ในสังคมเมืองยังมีอีกอุปสรรคคือ แสงสว่างจากพื้นราบ แสงสว่างของดวงดาวจากพื้นดินเหล่านี้ จะบดบังแสงดาวบนท้องฟ้าไปจนหมด ทำให้ผู้คนในเมืองใหญ่อาจจะไม่ได้เห็น Neowise กันได้ง่ายๆ เหมือนพื้นที่ตามชนบท ป่าเขา
ถึงแม้ว่า การหาตำแหน่งด้วยตาเปล่า การมองดาวท่ามกลางแสงไฟนั้นจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้
ปัจจุบันเรามีแอพพลิเคชั่น ที่สามารถจะค้นหาตำแหน่งของดวงดวงดาวต่างๆ ได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส
ส่วนวิใช้ ก็แค่ ตั้งวันที่ และเวลา ให้ตรงกับปัจจุบัน แอพพลิเคชั่น ก็จะคำนวน การเคลื่อนที่ของดวงดาวต่างไป และบอกตำแหน่งให้เราทราบได้อย่างง่ายได้
ใช่แล้วละครับ รวมไปถึง ดาวหาง Neowise ของเราด้วย
เพียงเท่านี้ การมองหาดาวหาง Neowise ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้วใช่ไหมละครับ 😆😆
และสำหรับ คนที่ไม่รู้จักว่า Neowise คืออะไร หรือคนที่รู้จักกับ Neowise กันมาบ้างแล้ว ก็ได้รู้จักกับ ดาวหาง Neowise กันมากขึ้นแล้วใช่ไหมละครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเรื่องราวที่นำมาฝากกันในวันนี้
ทุกๆคนสามารถ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ นภา ได้ผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกันได้ที่ด้านล่าง นี้เลยครับ ⬇️⬇️⬇️
และมากไปกว่านั้น ยังสามารถ เป็นกำลังใจ และสนับสนุน นภา ได้ด้วยการ กดว้าว เพื่อบอกกับเราว่า อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆
Ref:
🔹https://en.m.wikipedia.org/wiki/C/2020_F3_(NEOWISE)
🔹https://www.thebangkokinsight.com/393303/
🔹https://www.mhesi.go.th/home/index.php/pr/news/1839-18-23-6000
🔹https://spaceth.co/halley-comet-return/
🔹http://www.lesa.biz/astronomy/solar-system/small-bodies/comet
🌸นภา วิทย์นิดนิด เรียบเรียง 22/07/63
5 บันทึก
13
1
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
space sci
5
13
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย