Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Stock In Trend - หุ้นอินเทรนด์
•
ติดตาม
23 ก.ค. 2020 เวลา 04:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แนวรับและแนวต้าน ตอนที่ 1 - ความหมายและมุมมองในเชิงเทคนิค-เชิงจิตวิทยา
ทบทวนความรู้กันก่อน การลงทุนสาย Run trend เราจำเป็นจะต้องรู้อะไรบ้าง
1. เลือกหุ้นให้ถูก (ถูกตัว ถูกจังหวะ ถูกราคา ถูกใจ)
2. มองแนวโน้มของหุ้นได้ถูกต้อง ซึ่งควรเลือกฝั่งขาขึ้นเท่านั้น
3. รู้จัก Dow theory และ Wyckoff cycle
4. อย่าเล่นหุ้นขาลง อย่าถัวเฉลี่ยหุ้นขาลง
5. แนวรับ-แนวต้าน
ในตอนนี้ เราจะมาทำความรู้จักแนวรับ-แนวต้านว่าคืออะไร และมีแนวรับ-แนวต้านทั้งหมดกี่แบบ
แนวรับ-แนวต้านในมุมมองด้านเทคนิค
ปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นเคลื่อนที่ขึ้นและลงในทุกวัน เกิดจากอุปสงค์และอุปทานที่แตกต่างกัน ซึ่งสังเกตได้ว่าถ้าวันไหนที่มีคนต้องการซื้อหุ้นนี้มากๆ อาจจะมีข่าวดี ผลประกอบการดี ราคาหุ้นก็จะมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งถ้าเราสังเกตแท่งเทียนมักพบว่าเป็นแท่งเทียนสีเขียวยาวหรือเปิดที่ราคาต่ำและปิดที่ราคาสูงนั่นเอง
ตรงกันข้ามหากวันไหนที่มีคนต้องการขายหุ้นนี้มากๆ เช่น อาจจะมีข่าวแย่ที่ทำให้นักลงทุนกลัว หรือผลประกอบการบริษัทออกมาไม่ดี เป็นต้น ราคาหุ้นก็จะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งถ้าเราสังเกตแท่งเทียนมักพบว่าเป็นแท่งเทียนแดงยางหรือเปิดที่ราคาสูงแต่ปิดที่ราคาต่ำกว่านั่นเอง
ซึ่งการเกิดอุปสงค์และอุปทานที่แตกต่างกันในแต่ละวันจะเป็นต้นกำเนิดของชุดแท่งเทียนที่จะทำให้เกิดแนวรับ-แนวต้านต่อไป
แนวรับ คือ ระดับราคาที่มีความต้องการซื้อมาก
คำนิยามของแนวรับ คือ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาในปัจจุบัน ที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการซื้อเข้ามาอย่างมากหรือมีคนสนใจซื้อเป็นจำนวนมาก ถ้าความต้องการซื้อมีเข้ามาที่ระดับราคาที่เป็นแนวรับจำนวนมากพอ ก็จะสามารถหยุดไม่ให้ราคาปรับตัวลดต่ำลงไปกว่าระดับราคาแนวรับ และอาจจะทำให้ราคาที่กำลังปรับตัวลดลงเกิดการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น โดยการหาแนวรับนิยมหาตอนที่ราคากำลังปรับตัวลดลงและกลับตัวขึ้นมานั่นเอง
แนวรับในเชิงความหมายจิตวิทยา
สมมติมีหุ้นตัวหนึ่งที่เราอยากซื้อมากๆ ซึ่งตอนนี้ราคา 10 บาท กำลังปรับตัวลดลง เราจะมีความรู้สึกเหมือนเรารอของลดราคาอยู่ ปรากฎว่าหุ้นตัวนี้ปรับตัวลดลงมาต่ำสุดที่ราคา 8 บาท แล้วราคากลับดีดตัวสูงขึ้น โดยที่เรายังไม่ทันได้ซื้อหุ้นตัวนั้นเลย อารมณ์เหมือนเราเห็นของลดราคาแต่เรายังไม่มีเงินซื้อหรือซื้อไม่ทันนั่นเอง
เราก็อาจรอคอยให้หุ้นตัวนี้ราคาลงมาที่เดิมเพื่อที่ครั้งหน้าเราจะไม่พลาดอีก ต่อมาราคาหุ้นกลับปรับตัวลดลงมาแถว ๆ 8 บาทอีกครั้ง ซึ่งเรารอราคานี้เพราะว่าครั้งก่อนเราพลาดการซื้อไป สิ่งที่เราจะทำคืออะไรครับเมื่อถึงตอนนี้
แน่นอนว่าเราจะมีความรู้สึกอยากซื้อหุ้นตัวนี้มากๆ คิดในใจว่าครั้งนี้จะไม่พลาดเหมือนครั้งก่อนอย่างแน่นอน
ดังนั้นถ้าราคาหุ้นกลับลดต่ำลงมาที่ 8 บาทจริง ก็จะมีความต้องการซื้อเป็นจำนวนมากเหมือนกับมีกำแพงหนาๆ ที่มากั้นไม่ให้ระดับราคาลดต่ำลงไปกว่านี้ ในเชิงจิตวิทยานักเทคนิคจึงสรุปว่าที่ระดับราคาประมาณ 8 บาทเป็นระดับราคาที่เราเรียกว่า แนวรับ (รับราคานี้อยู่ ไม่ตกลงไปมากกว่านี้เพราะคนแห่ซื้อกันหมด)
ความจริงแล้วไม่ใช่มีคนกลุ่มเดียวที่พลาดการซื้อหุ้นที่ราคา 8 บาทในครั้งก่อน แต่ยังมีอีกกลุ่มคนหนึ่งคือ พวกที่ขายหุ้นไปราคาแถวๆ 8 บาทในครั้งที่แล้ว เมื่อขายหุ้นออกไปแล้วราคากลับปรับตัวสูงขึ้น คนกลุ่มนี้ก็จะมีความรู้สึกว่าต้วเองขายหุ้นราคาถูกเกินไป เมื่อราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงมาที่บริเวณใกล้ 8 บาทอีกครั้ง ก็จะเป็นระดับราคาที่กลุ่มนี้มีโอกาสได้ซื้อหุ้นคืน
ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มคนที่ยังไม่เคยสนใจ หรือไม่เคยซื้อขายหุ้นตัวนี้มาก่อน แต่เพิ่งเริ่มเข้ามาสนใจหุ้นตัวนี้ในเวลาต่อมา อาจจะได้ยินคนรอบข้างหรือเห็นข่าวเขียร์ซื้อหุ้นตัวนี้เพราะราคากำลังลง เราก็จะใช้ข้อมูลของราคาหุ้นในอดีต คือ ระดับราคาใกล้ ๆ บริเวณ 8 บาท เป็นราคาที่น่าสนใจเข้าซื้อหุ้นได้อีก
แนวต้าน คือ ระดับราคาที่มีคนต้องการขายมาก
คำนิยามของแนวต้าน คือ ระดับราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน ที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการขายเข้ามาอย่างมาก หรือมีคนสนใจขายเป็นจำนวนมาก ถ้าความต้องการขายมีเข้ามาจำนวนมากพอจะสามารถหยุดไม่ให้ราคาเพิ่มขึ้นไปากกว่านี้และอาจจะทำให้ราคาที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นกลับตัวย่อลงมาได้ โดยการหาแนวต้านนิยมหาตอนที่ราคากลับปรับตัวสูงขึ้นแล้วเริ่มกลับตัวย่อลงมา
แนวต้านในเชิงความหมายจิตวิทยา
สมมติ ถ้าเราถือซื้อหุ้นตัวหนึ่งได้ในราคา 10 บาท หลังจากนั้นราคาขยับปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ จนหยุดที่ราคา 15 บาท แล้วราคาก็กลับตัวลดต่ำลงมาที่ 12 บาท โดยที่เรายังไม่ได้ขายหุ้นออกไป เราก็อาจจะคิดว่ารู้งี้ขายไปแถวๆราคา 15 บาทดีกว่าเพราะจะได้กำไรเยอะสุด คราวนี้ถ้าหุ้นมีการปรับตัวขึ้นอีกครั้ง ไปถึงบริเวณใกล้ ๆ 15 บาท สิ่งที่เราจะทำคืออะไรครับเมื่อถึงตอนนี้
แน่นอนว่าเราจะมีแนวโน้มอยากขายหุ้นตัวนี้ที่ราคาแถวๆ 15 บาทเพราะครั้งก่อนราคาหุ้นขึ้นมาที่ราคาแถวๆนี้แล้วไม่ไปต่อ ซึ่งหากเราไม่รีบขายราคานี้ เราอาจจะกลัวว่าเราจะต้องไปขายที่ราคาต่ำกว่า 15 บาทซึ่งจะทำให้เราได้กำไรน้อยลงนั่นเอง
ดังนั้นก็จะมีคนจำนวนมากแห่กันออกมาเทขายหุ้นที่ระดับราคานี้ ทำให้เกิดความต้องการขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเปรียบเสมือนกับเป็นกำแพงหนา ๆ ที่พยายามกั้นไม่ไห้ราคาสูงขึ้นไปกว่าระดับราคานี้เราจึงสรุปว่าที่ระดับราคาประมาณ 15 บาทเป็นระดับราคาที่เราเรียกว่า แนวต้าน (ต้านราคานี้อยู่ ไม่ให้ขึ้นไปมากกว่านี้เพราะคนแห่ขายกันหมด)
ในบทต่อไป เราจะมาศึกษาว่าแนวรับ-แนวต้าน เราหาจากไหนได้บ้าง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแถวๆนี้เป็นแนวรับ-แนวต้านที่เราต้องให้ความสนใจ
เมื่อเรารู้ว่าบริเวณใดเป็นแนวรับ-แนวต้านที่สำคัญ จะทำให้เราเข้าซื้อหุ้นได้ถุกจังหวะและถูกราคานั่นเอง ลดการติดดอยหรือขายหมู เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพบางส่วนจาก
https://www.finnomena.com/daddy-trader/sars/
สามารถอ่านบทความอื่นๆเกี่ยวกับกลยุทธ์ Run trend ได้ที่นี่ครับ
https://www.blockdit.com/series/5ed87c189eacdf0c87c8838c
5 บันทึก
3
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ขั้นตอนและวิธีการลงทุนสาย Run trend จากไม่เป็นจนชำนาญ
5
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย