1 ส.ค. 2020 เวลา 00:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมถึงประเทศโซนหนาวถึงร่ำรวยกว่าประเทศโซนร้อน
เมื่อคนนึกถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่คนก็จะนึกถึงประเทศที่อยู่ในโซนยุโรปอย่าง เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ สวีเดน นอร์เวย์ หรือนอกพื้นที่ก็จะเป็นอย่าง สหรัฐอเมริกาเอง เป็นต้น แต่เมื่อคนนึกถึงประเทศที่ด้อยพัฒนาก็จะนึกถึงประเทศแถบ แอฟริกา อเมริกากลาง อเมริกาใต้ หรือประเทศในแถบโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแถบบ้านเรา แน่นอนว่าหลายๆสิ่งหลายๆอย่างมีผลกับประเทศว่าจะพัฒนาแล้วหรือยัง ทั้ง ความมั่นคงของการเมืองในประเทศ อุตสาหกรรมต่างๆ ทรัพยากรทางธรรมชาติๆ การศึกษา และ อื่นๆอีกมากมาย แต่ถ้าเราลองสังเกตุกันดีๆมันจะเป็นไปได้ไหมว่าเพียงแค่ ซีกโลก ที่มันแตกต่างกัน ประเทศที่ร่ำรวยแล้วจะอยู่ในซีกเหนือ และประเทศที่ยากจนจะอยู่พื้นที่ของซีกโลกใต้ ซึ่งนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่
ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นโทนสีน้ำเงิน ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาจะเป็นโทนสีแดงและส้ม
ผมขอยกตัวอย่างประเทศๆนึงที่อยู่ในซีกโลกใต้แต่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง ออสเตรเลีย ซึ่งมีจีดีพีอยู่ที่อันดับ 14 ของโลกเลยทีเดียว และมีประชากรทั้งหมดประมาณ 25 ล้านคน เมืองที่เป็นเมืองหลวงของออสเตรเลียนคือ แคนเบอร์รา และ เมืองที่ถือว่าเป็นฐานเศรษฐกิจของออสเตรเลียเลยคือ เมลเบิร์น และ ซิดนี่ย์ ซึ่งทั้งสามเมืองที่ผมได้กล่าวถึงอยู่เกือบใต้ที่สุดของออสเตรเลีย แต่เมืองที่ควรเป็นฐานเศรษฐกิจของออสเตรเลียมากที่สุดควรเป็นเมือง ดาร์วิน ซึ่งอยู่เหนือสุดของออสเตรเลีย และ มีทรัพยากรทางธรรมชาติเยอะที่สุดในออสเตรเลีย และ เป็นเมืองที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศคู่ค้ากับออสเตรเลียอย่าง จีน ได้ใกล้กว่าเมืองอย่าง ซิดนี่ย์ กับ เมลเบิร์น แต่เมืองนี้กลับเป็นเมืองหลวงของรัฐในออสเตรเลียที่จนที่สุดในออสเตรเลียเลยด้วยซ้ำ และนอกจากนั้นยังเป็นเมืองหลวงที่ร้อนที่สุดอีกด้วย
1
แผนที่ของประเทศออสเตรเลีย
แต่เราก็อาจจะบอกว่าประเทศอย่าง กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ สิงคโปร์ ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่ร่ำรวยแต่อยู่ในโซนร้อน ซึ่งสำหรับสี่ประเทศแรกที่อยู่ในแถบตะวันออกกลาง ล้วนแล้วแต่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่มากพอจนทำให้ลบข้อเสียของการเป็นประเทศโซนร้อนได้ ส่วนสิงคโปร์เองเป็นประเทศที่พิเศษมากเพราะว่าตัวประเทศเองไม่ได้มีอะไรพิเศษที่จะมากลบเกลื่อนความเป็นประเทศโซนร้อนได้เลย ส่วนประเทศซีกเหนือแต่จนก็มีตัวอย่างเช่น เกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในเขตหนาว แต่กลับเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา เพราะว่าความไม่มั่นคงทางการเมือง ซึ่งเป็นภาระอย่างหนักที่ถ่วงความก้าวหน้าของประเทศที่ได้เปรียบในการอยู่โซนหนาว
ประเทศสิงคโปร์
ทุกวันนี้จริงๆแล้วยังไม่มีการวิจัย หรือ การศึกษาใดที่เป็นชิ้นเป็นอันในการหาต้นตอว่าทำไมถึงประเทศซีกเหนือของโลก ถึงร่ำรวยกว่า ซีกล่างของโลก ดังนั้นวิธีการเปรียบเทียบที่ดีที่สุดคือการเอา จีดีพี ของแต่หละประเทศ มาโยงกับ อุณหภูมิของแต่หละประเทศ ซึ่งก็พบตัวเลขน่าสนใจมากมายเช่น ทุกๆ 1 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้นมาในแต่หละประเทศ ทำให้จีดีพีของแต่หละประเทศลดลงไป 762 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้าประเทศ A มีอุณหภูมิต่ำกว่าประเทศ B 10 องศาเซลเซียส ประเทศ A จะมีจีดีพีสูงกว่าประเทศ B 7,620 เหรียญสหรัฐ สิ่งนึงที่เป็นที่น่าสนใจอีกเหมือนกันที่นักสถิติชอบเรียกกันคือ ยกกำลังอาร์ (R-Squared) ยกกำลังอาร์คือการเปรียบเทียบว่าตัวเลขนี่มีผลกับสิ่งที่เราตามหากี่เปอร์เซนต์ ยกตัวอย่างเช่น เรารู้ว่ายิ่งคนตัวสูง น้ำหนักของคนก็อาจจะเยอะขึ้นตาม ดังนั้นส่วนสูงกับน้ำหนักมียกกำลังอาร์ที่ 50% ซึ่งพอเรามาดูยกกำลังอาร์ในเรื่องของอุณหภูมิมีผลกับจีดีพีของแต่หละประเทศมากเท่าไหร่ คำตอบคือ 9% ครับ
2
อุณหภูมิของประเทศทั่วโลก
9% นี้อาจจะยังไม่เยอะเท่าไหร่เพราะว่าอีก 91% ที่เหลือคือเรื่องของ การเมือง ทรัพยากรทางธรรมชาติ การศึกษา อุตสาหกรรม แต่จริงๆแล้วมันมีผลกว่าที่เราคิดมากเลย หนึ่งทฤษฎีที่สามารถตอบได้คือประเทศซีกเหนือของโลกเวลาเผชิญกับฤดูหนาวจะมีความรุนแรงกว่าประเทศซีกใต้เผชิญกับความร้อน ดังนั้นประเทศอย่างนอร์เวย์ที่ฤดูหนาวแทบจะอยู่ข้างนอกบ้านไม่ได้ ต้องเตรียมเครื่องนุ่มห่ม อาหาร ให้พร้อมก่อนเจอกับฤดูหนาวที่แสนทรหด ทำให้ประเทศเหล่านี้จะได้เปรียบกว่าเพราะต้องซื้อของเยอะกว่าในโซนร้อน อีกทฤษฎีหนึ่งที่ดีไม่แพ้กันคือ อารยธรรมต่างๆที่เคยเป็นศูนย์กลางของโลกอย่าง อียิปต์ กรีก โรมัน มายาน เปอร์เซีย หรือแม้กระทั่ง แอซเท็ก ล้วนแล้วแต่อยู่ในเขตร้อนทั้งนั้น ทำไมถึงอารยธรรมเหล่านี้จึงได้เป็นอารยธรรมที่ร่ำรวยได้ และเป็นศูนย์กลางของโลก แต่ทุกวันนี้กลับเป็นประเทศโซนหนาวทั้งนั้น
ประเทศนอร์เวย์
คำตอบคือเพราะว่า อุตสาหกรรมของโลกเปลี่ยนไปครับ สมัยก่อนประเทศทั่วโลกแข่งกันตรงที่ว่าใครผลิตอาหารได้เยอะสุดชนะ เพราะว่ายิ่งคุณผลิตได้เยอะเท่าไหร่ คุณจะยิ่งสามารถเลี้ยงคนได้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนจึงได้เปรียบเพราะสามารถปลูกผลผลิตได้ทั้งปี ในขณะที่โซนหนาวปลูกได้แค่ 3-4 เดือนเท่านั้น แต่ทุกวันนี้โครงสร้างเศรษฐกิจของโลกเปลี่ยนไป ทุกวันนี้ประเทศแข่งกันที่ นวัตกรรม และ อุตสาหกรรม นี่คือสาเหตุที่ทำไมรัฐอย่างแคลิฟอร์เนียเพียงรัฐเดียวที่มีเมืองอย่าง ซิลิคอน แวลลีย์ ถึงมีจีดีพีมากกว่าประเทศไทยทั้งประเทศ ทฤษฎีอื่นๆที่มีผลก็จะมีอย่าง คนในประเทศเขตโซนหนาวต้องมีความอดทนต่อกันและกันมากกว่าโซนร้อน เพราะว่า ต้องอยู่ในบ้านด้วยกันช่วงฤดูหนาว อีกหนึ่งทฤษฎีที่ใช้ได้เหมือนกันคือ คนที่อยู่ในเขตร้อนมักมีความใจร้อนมากกว่าคนที่อยู่ในโซนหนาว ถึงแม้ว่ามันอาจจะเป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้ แต่ในยุคที่แข่งกันด้วย นวัตกรรมใหม่ๆ คนที่อยู่ในประเทศที่เย็นกว่าจะได้เปรียบเพราะความใจเย็นของเขา
ซิลิคอน แวลลีย์
สุดท้ายแล้วถึงแม้ว่าการที่ประเทศอยู่ในซีกโลกเหนือจะได้เปรียบกว่าประเทศที่อยู่ในซีกโลกใต้กว่านิดหน่อย แต่เราก็มีประเทศที่โชว์ให้เห็นแล้วว่าถึงแม้ว่าประเทศจะอยู่ในเขตร้อน แต่ก็ยังสามารถเป็นประเทศที่พัฒนาได้อย่างสิงคโปร์ ด้วย เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และ การศึกษา ซึ่งอยู่ในอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงแค่เมืองจีนเท่านั้น สิ่งที่ประเทศไทยสามารถทำได้ตอนนี้คือพยายามลบจุดด้อยของการเป็นประเทศอยู่ในเขตร้อน และ พยายามพัฒนาข้อได้เปรียบของประเทศอย่างเช่น การท่องเที่ยว และ อุตสาหกรรมอาหาร หรือล่าสุดยังการทำให้ประเทศเป็น Wellness Center ของโลกก็เป็นไอเดียที่ไม่เลวเหมือนกันครับ
5
โฆษณา