⚖️ป.พ.พ.มาตรา 1655 พินัยกรรมนั้น จะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่ง
ดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
----
⚖️ป.พ.พ.มาตรา 1656
พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดั่งนี้ก็ได้ กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือ ลงวันที่เดือนปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรม ต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน อย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
ซึ่งพยานสองคนนั้น ต้องลงลายมือชื่อรับรอง ลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น
การขูด ลบ ตก เติม หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์
เว้นแต่ จะได้ปฏิบัติตามแบบ
อย่างเดียวกับการทำพินัยกรรม ตามมาตรานี้
----
⚖️ป.พ.พ.มาตรา 1657
พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรม ต้องเขียนด้วยมือตนเอง ซึ่งข้อความทั้งหมด วันเดือนปี และลายมือชื่อของตน
การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไข
เปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์
เว้นแต่ ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้
บทบัญญัติมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้น ตามมาตรานี้
----
⚖️ป.พ.พ.มาตรา 1658
พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ก็ได้ กล่าวคือ
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความ ที่ตนประสงค์ จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตน แก่กรมการอำเภอ ต่อหน้าพยาน อีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
(2) กรมการอำเภอ ต้องจดข้อความ ที่ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำพินัยกรรม และพยานฟัง
(3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรม และพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการอำเภอจดนั้น เป็นการถูกต้องตรงกัน กับที่ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรม และพยาน ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
(4) ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอ ลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเอง เป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้น ได้ทำขึ้นถูกต้อง ตามบทบัญญัติ อนุมาตรา 1 ถึง 3 ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่ง ไว้เป็นสำคัญ
การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้น ย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอ จะได้ลงลายมือชื่อ กำกับไว้
----
⚖️ป.พ.พ.มาตรา 1659
พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ
(1) ผู้ทำพินัยกรรม ต้องลงลายมือชื่อ ในพินัยกรรม
(2) ผู้ทำพินัยกรรม ต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อ คาบรอยผนึกนั้น
(3) ผู้ทำพินัยกรรม ต้องนำพินัยกรรม ที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อ กรมการอำเภอ และพยาน อีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมด เหล่านั้นว่า เป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้น ผู้ทำพินัยกรรม มิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด
ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้ง นาม และภูมิลำเนา ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
(4) เมื่อกรมการอำเภอ จดถ้อยคำ ของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้น และประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้กรมการอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรม และพยาน ลงลายมือชื่อ บนซองนั้น
การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม จะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
----
⚖️ป.พ.พ.มาตรา 1660
เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใด ไม่สามารถจะทำพินัยกรรม ตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้
เพื่อการนี้ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนา กำหนดข้อพินัยกรรม ต่อหน้าพยาน อย่างน้อยสองคน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
พยานสองคนนั้น ต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอ โดยมิชักช้า และแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องจด แจ้ง. วัน เดือน ปี สถานที่ ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษ นั้นไว้ด้วย
ให้กรมการอำเภอ จดข้อความ ที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนต้องลงลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้น จะให้เสมอกับการลงมือชื่อได้ ก็แต่ด้วย ลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน