24 ก.ค. 2020 เวลา 14:40 • ประวัติศาสตร์
📌ย้อนไทม์ไลน์ แค้นข้ามศตวรรษของจีนและอังกฤษ....ที่มาของความร้าวฉานในปัจจุบัน
โดย พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
ทำความเข้าใจที่มาของเหตุการณ์ความรุนแรงในฮ่องกง ความถูกผิดแห่งยุคสมัย
...ใครคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ชาวฮ่องกงต้องเสียอิสระภาพไปตลอดกาล
บทความนี้ แบ่งออกเป็น 4 ตอน
1. ราชวงศ์ชิง และสงครามฝิ่น: ความแค้นที่สลักลงไปในวิญญาณของชาวจีน
2. อังกฤษส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนสู่ประเทศจีน
3. ตัวแปรที่ทำให้ทุกอย่างเลวร้ายไปกว่าเดิมอาจจะไม่ใช่อเมริกา
4. ใครคือผู้แพ้ตัวจริงในเหตุการณ์ครั้งนี้
🔻1. ราชวงศ์ชิง & สงครามฝิ่น ความแค้นที่สลักลงไปในวิญญาณของชาวจีน
https://weaponsandwarfare.com/2017/01/04/qing-and-opium-wars-i/
การ 'ล่าอาณานิคม' ในช่วงที่ราชวงศ์ชิงเป็นผู้นำของประเทศจีนนั้น อยู่ในจุดที่เรียกได้ว่ามีความรุนแรงเป็นอย่างมาก
https://www.ejinsight.com/eji/article/id/1609570/20170717-Foreign-aggression-didnt-trigger-Chinas-decline-says-study
สงครามฝิ่นนั้นเกิดขึ้นในยุคของ ราชวงศ์ชิง (Qing) ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองประเทศจีน ช่วงค.ศ. 1636 - ค.ศ. 1912
ประเทศจีน เกิดสงครามฝิ่นถึง 2 ครั้งด้วยกัน
----
สงครามฝิ่นครั้งแรก ปีค.ศ. 1834-1843
----
สมัยนั้น ชาติตะวันตกทำการค้ากับจีนผ่านทางพ่อค้าคนจีนที่เรียกว่า กงหา โดยฝ่ายอังกฤษดำเนินการผ่านบริษัทอินเดียตะวันออก (การที่จีนไม่ยอมเปิดการค้าเสรีกับอังกฤษนั้น สร้างความไม่พอใจให้กับอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง)
สินค้าของชาวจีนที่ชาวอังกฤษชื่นชอบมากที่สุด ณ เวลานั้นคือ "ใบชา" ซึ่งผลจากการค้าขายนั้น ปรากฎว่าอังกฤษขาดดุลการค้ากับจีนเป็นจำนวนมาก📉
จนกระทั่ง ในปี 1820 ทางอังกฤษได้พบว่ามีสินค้าตัวหนึ่งซึ่งทำกำไรให้กับบริษัทได้เป็นอย่างดีนั่นคือ "ฝิ่น"
https://static01.nyt.com/images/2018/07/08/books/review/08Morris/08Morris-videoSixteenByNineJumbo1600.jpg
หลังจากนั้นดุลการค้าของฝั่งอังกฤษก็พลิกกลับมาเป็นบวก📈
กว่าราชวงศ์ชิงจะตระหนักถึงพิษภัยของฝิ่นนั้นประชาชนชาวจีนก็ถูกมอมเมาไปด้วยดอกไม้หายนะนี้ไปเรียบร้อยแล้ว
ปี 1838 จึงประกาศห้ามนำฝิ่นเข้าประเทศ โดยผู้ที่ฝ่าฝืนนั้นมีโทษถึงประหารชีวิตทั้งผู้ค้าและผู้เสพ (18 ปีเต็มๆนับตั้งแต่อังกฤษเริ่มนำฝิ่นเข้ามาขายคนจีน)
ปี 1839 จีนยึดฝิ่นจากพ่อค้าอังกฤษจากท่าเรือในกวางโจว หลังจากนั้นทางจีนได้ส่งหนังสือไปถามทางอังกฤษว่า "ในเมื่ออังกฤษ สั่งห้ามค้าฝิ่นในประเทศตัวเอง รวมถึง ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ ทำไมถึงส่งฝิ่นมาขายที่จีน มอมเมาประชาชนชาวจีน
จนในที่สุดก็กำไรมหาศาล"
อังกฤษตอบจีนไปทำนองว่า "ที่จีนยึดฝิ่นของเราน่ะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม ขอคืนด้วย"
จีนโมโหจึงสั่งลำลายฝิ่นลอตนั้นทิ้ง เป็นที่มาแห่งชนวนเหตุสงครามฝิ่นโดยทันที‼️
ในปี 1842 อังกฤษได้ยกทัพเรือมาปิดล้อมชายฝั่งกวางตุ้ง
https://www.nytimes.com/2018/07/03/world/asia/opium-war-book-china-britain.html
ณ ขณะนั้นกองทัพเรือของชาวอังกฤษนับว่าเป็นกองทัพที่มีแสนยานุภาพมากที่สุด
ครอบครองเทคโนโลยีทางอาวุธในระดับสูงอย่างดินปืน ปืนใหญ่ และอาวุธระยะไกลนานาชนิด
แน่นอนว่า ผลลัพธ์ครั้งนั้นคือ "จีนพ่ายแพ้"
ถูกบังคับให้ชดใช้ค่าปฏิกรณ์สงครามให้กับอังกฤษ ด้วยการลงนามในสนธิสัญญานานกิง เปิดเมืองท่า 5 แห่งให้อังกฤษ คือ กวางโจว เซียะเหมิน ฝูโจว หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ รวมถึงต้อง "ยกเกาะฮ่องกง" และเกาะรอบๆให้อังกฤษเช่า
ผลกระทบของสัญญานี้ที่แย่ที่สุดคือ ทำให้ "การค้าฝิ่นเป็นสิ่งถูกกฏหมาย"
นั่นทำให้ประเทศจีน ณ ขณะนั้น ต้องตกอยู่ในนรกของฝิ่น ไปอีกหลายปี........
--———————————————-
สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ปี ค.ศ. 1856 - 1860
--———————————————-
สงครามรอบนี้ ทางจีนก็แพ้อีกรอบครับ
จนในที่สุดก็ต้องทำ
"สนธิสัญญาเทียนจิน" ในปี 1842 กับคู่กรณี 4 ประเทศคือ อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย
และตามมาด้วยข้อตกลงปักกิ่ง ในปี 1860 อีกฉบับ โดยสัญญาฉบับนี้ส่งผลให้อังกฤษ ครอบครองพื้นที่มากขึ้นกว่าเดิมจากสงครามฝิ่นครั้งแรก และได้ฮ่องกง เป็นเขตเช่าอีก 99 ปี .....
🔻2. อังกฤษส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนสู่ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1997
ภายหลังจากที่จักรพรรดิราชวงศ์ชิง แพ้สงครามฝิ่น ท้ายที่สุดจึงนำมาสู่สัญญาเช่าเกาะฮ่องกงกับทางอังกฤษ ในปี 1898 ทำให้อังกฤษมีสิทธิเหนือเกาะฮ่องกงเป็นเวลา 99 ปี
จนในที่สุด ทางอังกฤษก็ต้องส่งมอบฮ่องกงคืนสู่ประเทศจีนในวันที่ 1 กรกฏาคม 1997
*** จุดน่าสนใจในทางประวัติศาสตร์ ***
การเจรจาเพื่อส่งมอบฮ่องกงคืนสู่ประเทศจีนนั้นเกิดขึ้นในยุคของ 2 ผู้นำ คือ
เติ้ง เสี่ยวผิง และ นางมาการ์เรต เทรชเชอร์
(ในขณะที่อยู่บนโต๊ะเจรจานั้น ชาวฮ่องกงไม่มีสิทธิเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเลยแม้แต่น้อย แม้จะเป็นเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อ อนาคตและเสรีภาพของตนเอง )
https://edition.cnn.com/2017/06/18/asia/hong-kong-handover-china-uk-thatcher/index.html
ในข้อตกลงเรื่อง อังกฤษต้องส่งมอบฮ่องกงคืนสู่ประเทศจีนนั้น มีเอกสารลับที่บันทึกเอาไว้ในมุมมองของ นางมาร์การ์เรต เทรชเชอร์ว่า
"เป็นอย่างที่คาดคิดไว้ ประเทศจีนยืนยันว่าฮ่องกงนั้นคือส่วนหนึ่งของแผ่นดินจีน และพวกเขาจำเป็นที่จะต้องค่อยๆฟื้นการควบคุมเหนือฮ่องกง พยายามรักษาเสถียรภาพให้ได้มากที่สุด, พวกเขา (ประเทศจีน)ได้เสนอว่าจะทำให้ฮ่องกงเป็นเขตบริหารพิเศษ ในแผ่นดินจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของจีนในปัจจุบัน โดยที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลอังกฤษอีกต่อไป " (กลายมาเป็นสิ่งที่ประเทศจีนเรียกว่า 1 ประเทศ 2 ระบบ)
....ณ ขณะนั้นทางอังกฤษรู้ดีว่า ประเทศตัวเองมีสิทธิเหนือเกาะฮ่องกง ตั้งแต่ปี 1898
และสิ้นสุดในปี 1997 เท่านั้น
1
และ ณ ขณะนั้นอำนาจของประเทศจีนในเวทีโลกเพิ่มขึ้นมาถึงจุดที่สหราชอาณาจักรไม่สามารถ ส่งกองทัพเรือไปกดดันประเทศจีนได้อีกต่อไป (เรื่องนี้ย่อมต้องกดดัน นางมาร์การ์เรต เทรชเชอร์เป็นอย่างมากทีเดียวครับ)
https://edition.cnn.com/2017/06/18/asia/hong-kong-handover-china-uk-thatcher/index.html
จากเอกสารเปิดเผยส่วนหนึ่ง ผู้แทนอังกฤษ ได้พบปะกับ โจว เอิน ไหล ณ กรุงปักกิ่ง
วันที่ 30 มกราคม 1958 ความว่า
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางฮ่องกงนั้น มีจุดสำคัญคือ เขา (โจว เอิน ไหล) ต้องการกล่าวกับนาย แมค มิลลาน หรืออย่างน้อยผู้รักษาการแทนของเขาว่า แผนการหรือการกระทำใดที่มุ่งเป้าให้ฮ่องกงกลายเป็นรัฐบาลที่ปกครองตนเองอย่างสิงคโปร์ ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกของอังกฤษและรัฐบาลฮ่องกง
เขาหวังว่า แมคมิลาน จะรู้ว่า "จีนจะถือว่าการกระทำเหล่านั้นเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเป็นอย่างมาก"
2
Maurice Harold Macmillan : https://en.wikipedia.org/wiki/Harold_Macmillan
จากการที่ผมได้หาข้อมูลเพิ่มเติมว่า แมคมิคลานคือใคร มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็น
Maurice Harold Macmillan เอิร์ลแห่งสต๊อคโฮม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรในขณะนั้น (1957 - 1963)
สอดคล้องกับช่วงเวลาที่ผู้แทนอังกฤษที่ปรากฏตัวอยู่ในเอกสารพบปะกับ นาย โจว เอิน ไหล (นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 1 ดำรงตำแหน่งในช่วงปี 1954 - 1976)
Zhou Enlai first Premier of the People's Republic of China : https://en.wikipedia.org/wiki/Zhou_Enlai
https://edition.cnn.com/2017/06/18/asia/hong-kong-handover-china-uk-thatcher/index.html
มีความเห็นนึงที่น่าสนใจจากทางฝั่งฮ่องกงครับ
Emily Lau ประธานฝั่ง Hong Kong Democratic Party ณ ขณะนั้นกล่าวว่า
"ประชาชนชาวฮ่องกงรู้ดีว่า ทั้งหมดที่อังกฤษใส่ใจคือ ธุรกิจและทรัพย์สินของตนที่อยู่ในฮ่องกง ณ ขณะนั้น ในขณะที่ความสำคัญของประชาชนชาวฮ่องกงเป็นสิ่งรองลงมา"
https://www.scmp.com/sites/default/files/images/methode/2016/07/01/3a3a24e6-3eb9-11e6-8294-3afaa7dcda6c_image_hires.JPG
และแล้วในที่สุด ประเทศอังกฤษ ก็ได้ส่งมอบฮ่องกงคืนสู่ประเทศจีน ในวันที่ 30 มิถุนายน 1997 อย่างเป็นทางการ
*จากเรื่องนี้ทำให้เราทราบได้ทันทีครับว่า เรื่องที่จีนต้องเสียฮ่องกงให้อังกฤษนั้นเป็นปมที่ฝังอยู่ในใจของชาวจีนมาอย่างยาวนาน
🔻3. ตัวแปรที่ทำให้ทุกอย่างเลวร้ายไปกว่าเดิมอาจจะไม่ใช่อเมริกา
Licensee : พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
หากเรามองลงไปในสายธารแห่งประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การแย่งชิงความเป็นใหญ่ในโลกใบนี้ ล้วนเกี่ยวพันกับ 2 สิ่งที่เรียกว่า
"อำนาจ" และ
"ความกลัวที่จะสูญเสียอำนาจนั้นไป"
ณ เวลานี้ อเมริกาครอบครองสิ่งที่เรียกว่า 'อำนาจ' จนกลายมาเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลกมาอย่างยาวนาน
สิ่งที่อเมริกากลัวมากที่สุด ไม่ใช่ประเทศจีน แต่คือ "ความกลัวที่จะสูญเสียอำนาจนั้นไป" ไม่ว่าภัยคุกคามนั้นจะมาจากภายนอกหรือภายในก็ตาม
ดังนั้นหากจะบอกว่า อเมริกา อังกฤษ หรือ จีนเป็นคนผิดสำหรับเหตุการณ์ในครั้งนี้
เมื่อมองลึกลงไป อาจจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า 'อำนาจ' ที่ทำให้ทุกประเทศต่างต้องทำทุกทางเพื่อแย่งชิงมันมาให้ได้
หากมองด้วยตัวโครงสร้างแล้ว การล่าอาณานิคมอาจจะยังมีอยู่ในสังคมโลก
โดยเปลี่ยนมาเป็น 'การล่าอาณานิคมในยุคปัจจุบัน' ผ่านทางการ 'ลงทุน'
ในสภาวะที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 จนทำให้หลายธุรกิจในหลายประเทศต้องประสบปัญหาเรื่อง cash flow ทั้งๆที่ตัวธุรกิจนั้นมีศักยภาพมากพอที่จะสร้างรายได้ อย่างต่อเนื่อง จนไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และท้ายที่สุดก็ต้องประกาศขายกิจการ
คำถามคือ "การเข้าซื้อกิจการของต่างชาติ สามารถมองเป็นการล่าอาณานิคมในยุคปัจจุบันได้หรือไม่?"
ท่านผู้อ่านมีมุมมองกับเรื่องนี้อย่างไรครับ?
🔻4. ใครคือผู้แพ้สำหรับเหตุการณ์ในครั้งนี้
--—
ณ ช่วงเวลา ปี 2020
----
🐽หมูน้อย อาจจะตอบว่า ผู้แพ้สำหรับเหตุการณ์ที่ชาวฮ่องกงถูกประเทศจีนแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดก็สูญเสียอิสระภาพในการแสดงออกทางความคิดและการดำเนินชีวิตไป อาจจะเป็น
"ชาวฮ่องกงเองที่เป็นผู้แพ้" เมื่อพิจารณาจากหลากหลายปัจจัย ทั้งมาตุภูมิอย่างประเทศจีน คู่กรณีในยุคล่าอาณานิคมอย่างประเทศอังกฤษ หรือแม้กระทั่งอเมริกาที่ใช้ข้ออ้างต่างๆ เพื่อสนับสนุนฮ่องกง
https://usercontent.one/wp/www.asianewsday.com/wp-content/uploads/2019/09/Hong-Kong-protesters-waving-American-flags-call-on-Trump-to-liberate-city.jpg
สุดท้ายแล้ว สิ่งที่ชาวฮ่องกงเสียไปไม่ใช่เพียงแค่อิสระในการแสดงความคิดเเละการดำเนินชีวิตเท่านั้น การที่เหล่าชนชั้นนำในฮ่องกงที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจไว้ในมือส่วนหนึ่ง โยกย้ายไปยังนานาประเทศ
นั่นทำให้ฮ่องกงสูญเสียความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจที่เคยเป็นจุดได้เปรียบไป ซึ่งจุดนี้อาจจะใช้เวลานับทศวรรษกว่าที่ฮ่องกงจะฟื้นตัวกลับมาเช่นเดิม
แต่ขณะเดียวกัน เราไม่สามารถใช้บริบททางด้านเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว มาตัดสินว่าประชาชนชาวฮ่องกงนั้นเป็นผู้แพ้
ชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนชาวฮ่องกงในมุมของ 'คนนอก' สามารถกล่าวได้ว่า คุณภาพการดำรงชีวิตในฮ่องกงนั้นอยู่ในระดับสูง
ด้วยมีระบบโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วน อำนวยความสะดวกได้มากมาย
แต่หากมอง 'ด้วยมุมมองของคนใน'
พื้นที่ของฮ่องกงนั้นมีจำกัด และไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนประชาการ (เนื่องด้วยตัวเกาะที่มีขนาดเล็ก ขนาดพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ 7,200,000 คน)
ทำให้เกิดปัญหาเรื่องราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่สูงจนเรียกได้ว่า 'บ้าไปแล้ว'
คนธรรมดารุ่นใหม่ๆ แทบไม่มีโอกาสที่จะเป็น ‘เจ้าของ’ บ้านหรือคอนโดได้เลย
การอยู่ท่ามกลางตึกสูงที่อัดแน่นไปด้วยผู้คน และพื้นที่มีขนาดเล็กนั้น คงจะสร้างทั้งความอึดอัดทางกายภาพและความคิดไม่ใช่น้อย
จนมาถึงจุดที่คนบางส่วนรู้สึกสิ้นหวังกับสถานการณ์ในปัจจุบันของฮ่องกงเหลือเกิน
ท้ายที่สุด จึงเกิดการประท้วงใหญ่ในปี 2019 ตามมา ด้วยความหวังว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง
เพราะ ... "Hong Kong is not a place, it's THE people"
ไม่ใช่สิ่งของที่จะโยนไปโยนมา เพื่อหาความรับผิดชอบทั้งจากจีนและอังกฤษ
https://www.newstatesman.com/culture/film/2016/09/list-ways-our-society-already-pixar-s-dystopia-wall-e
----
ณ ช่วงเวลา อีกหลายปีข้างหน้า
----
🐽หมูน้อย อาจจะตอบว่า แท้ที่จริงแล้ว ผู้แพ้ในครั้งนี้อาจจะเป็น "มนุษยชาติ"
เพราะท้ายที่สุดแล้ว ประชาชนชาวโลก ยังต้องเจอกับความท้าทายในอนาคตอีกมาก ทั้งความเสียหายทางธรรมชาติที่มากขึ้นเรื่อยๆ มลภาวะทั้งทางน้ำ ทางอากาศที่เพิ่มสูงขึ้น นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา ปัญหาเรื่องขยะ โรคระบาด ฯลฯ
ในที่สุด ทรัพยากรของโลกใบนี้ก็จะหมดไป ถึงวันนั้น เมื่อเรามองย้อนกลับมา ความขัดแย้งกันในระดับประเทศ อาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กไปเลยก็ได้
การที่เราไม่ร่วมมือกันจัดการปัญหานี้ตั้งแต่มันอยู่ในจุดที่ สามารถบริหารจัดการได้ จนวันนึงที่...มันสายไปแล้ว
เมื่อนั้นเรา (มนุษย์โลก) ได้มองย้อนกลับมา เราจะรู้สึกเสียใจหรือไม่?
ที่ ณ เวลานั้น (วันนี้) เราไม่ได้ร่วมมือกันเท่าที่ควรจะเป็น เพื่อดูแลรักษาโลกใบนี้ไว้
ให้กับทายาท หรือ ลูกหลานของเราในอีกหลายปีข้างหน้า
ได้อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์สีน้ำเงินที่แสนสวยงามดวงนี้...ตลอดไป
Licensee : พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
เป็นบทความที่ผมต้องทำการบ้านมากที่สุดบทความนึงเลยทีเดียวครับ หากมีจุดใดที่ผิดพลาดสามารถเพิ่มเติมข้อมูลได้เลยครับ
หวังว่าคงจะพอตอบคำถามที่คาใจของหลายๆท่านได้ว่า ที่มาของปัญหาเรื่องฮ่องกงนั้นมีความเป็นมาอย่างไร
ฝากกด like กด share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
reference

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา