24 ก.ค. 2020 เวลา 11:49 • ประวัติศาสตร์
EP. 1: “ชา” และการเดินทางสู่การเป็นเครื่องดื่มที่มีอิทธิพลที่สุดในโลก
A Geo-linguistic map of Tea (WIP)
เครื่องดื่ม “ชา” คงเป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆคน รวมถึงอชิด้วยค่ะ ตอนไปเรียนที่อังกฤษ เรียกได้ว่า ต้องดื่มชา หลังมื้ออาหารทุกมื้อ
ด้วยความที่อชิชอบดื่มชามากๆ เวลาไปเที่ยวที่ไหนๆ ก็ชอบสั่ง ชา มาลิ้มรสอยู่เป็นประจำ ทำให้สังเกตได้ว่า หลายๆประเทศมีวิธีเรียกชากันอย่างหลากหลาย แต่ก๋คล้ายคลึงกัน
“ชา” ในภาษารัสเซีย ถูกเรียกว่า ‘Chaj’ ส่วนในภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาฮิบริว และ ภาษานอร์เวียร์ เรียก ชา เหมือนกันว่า ‘Tea’ หรืออย่างน้อยก็ออกเสียงคล้าย ‘tea’ แต่มีข้อสังเกตอีกอย่างนึงคือ ในประเทศอังกฤษ ก็มีชา Chai ที่เป็นที่นิยมอยู่เช่นกัน
จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมการดื่มชานั้นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ซึ่งเก่าแก่กว่า 2700 ปี ก่อนคริสตกาล จนกระทั่ง ค.ศ. 800 วัฒนธรรมการดื่มชาก็แพร่หลายไปสู่ประเทศญี่ปุ่น และ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมยุโรปในช่วงคริสตศตวรรต ที่ 17 นี้เอง
คำเรียก ชาที่หลากหลายนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนทั้งสิ้น โดยคำเรียก ชา ส่วนใหญ่ จะพ้องมาจาก 1) ภาษาในกลุ่มตระกูลภาษาจีน (Sinitic Languages) ซึ่งได้แก่ ภาษาจีนท้องถื่น ภาษาจีนแมนดาริน และ แต้จิ๋ว เป็นต้น
2) ภาษาจีนหมิ่น (Min Nan) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาของตระกูลภาษาจีน พูดทางตะวันออกเฉียงใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน และผู้ที่อพยพไปมณฑลกวางตุ้ง หูหนาน และไต้หวัน แบ่งย่อยได้เป็น ภาษาหมิ่นเหนือ ภาษาหมิ่นใต้หรือภาษาจีนฮกเกี้ยน และสำเนียงอื่นๆ เป็นภาษาหลักของชาวจีน ในฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
The World Atlas of Language Structures Online
โดยในภูมิภาคที่ได้รับอิทธิพลมาจาก จีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งใช้ภาษาในตระกูลภาษาจีน (สีแดง) ส่วนออกเสียงเรียก ชา ว่า ‘chá ’ เช่น ชา ใน ภาษาไทย ก็คือ ชา (cha)
ส่วนในภูมิภาคที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนหมิ่น ส่วนใหญ่ จะออกเสียงเรียก ชา ว่า ‘te’ เช่น ดัชท์ หรือ ฮอลันดา ได้ทำการค้าขายกับ นักธุรกิจในฟูเจี้ยน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ทำให้ ชาวดัชท์ได้รับอิทธิพลทางภาษา Min Nan (สีน้ำเงิน) จึง เรียกชา ว่า ‘thee’ จากนี้เอง ทำให้ประเทศในยุโรปที่มีการติดต่อค้าขายกับฮอลันดา ได้รับอิทธิพลทางภาษาตรงนี้ไปด้วย เช่น tea ในภาษาอังกฤษ , thé ในภาษาฝรั่งเศส และ ‘tè ในภาษาอิตาเลี่ยน
ส่วนทางจีนโพ้นทะเล ซึ่งเป้นชาวจีนที่อพยพมาจากทาวตอนใต้ของจีนนั้น จะเห็นได้ว่า มีการออกเสียงเรียกชา ว่า te กันทุกประเทศ เช่น ชาวจีนโพ้นทะเลในฟิลิปปินส์ เรียกชาว่า ‘tsaa’ และ ชาวจีนมาเลย์เรียก ชา ว่า ‘teh’
จากการเรียก ชา ที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึง ความเป็นที่นิยมของวัฒนธรรมการดื่มชา ที่แผ่ขยายไปทั่วโลก แต่ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้า (trade relations) ของประเทศต่างๆ รวมไปถึงอิทธิพลทางภาษา
ชา เมื่อไม่นานมานี้ ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระหว่างไทย และ ไต้หวัน เกิดเป็นพันธมิตรชานมขึ้น โดย ชานมไข่มุก กลายเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายประชาธิปไตย...
ติดตามต่อได้ใน EP.2 ว่า ชานมกลายเป็นสัญลักษณ์ฝ่ายประชาธิปไตยไปได้อย่างไร? เร็วๆนี้ค่ะ
โฆษณา