Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สัพเพเหระ สาระค้าปลีก
•
ติดตาม
25 ก.ค. 2020 เวลา 13:08 • ความคิดเห็น
โพสท์ลำดับที่ 44
Block นี้ ตั้งชื่อไว้ว่า
สัพเพเหระ สาระค้าปลีก
ก็คือทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค้าปลีกโดยตรง
ไม่เกี่ยวข้องกับสาระค้าปลีกโดยตรง
วันนี้จะมาเล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องการศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรอาชีวะค้าปลีก
ให้อ่านเอามันส์ ซึ้งๆแบบ น้ำตาจิไหล !!!!!!!!!
สงสารการศึกษาไทย
ร่วมพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 4.0 .... ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สองปีที่แล้ว ผู้เขียนได้รับเชิญเข้าร่วม ประชุมปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ โดยให้นำเอาประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๖ เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรใหม่สำหรับ พุทธศักราช ๒๕๖๐
โครงสร้างหลักสูตร สาขาวิชาพาณิชยกรรม 2556 เป็นอย่างไร ?
โครงสร้างของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 แบ่งเป็น 3 หมวดวิชา
1 หมวดวิชาทักษะชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 1) กลุ่มวิชาภาษาไทย 2) กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ 4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ 5) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6) กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
หมวดวิชาทักษะชีวิต ก็คือ วิชาสามัญพื้นฐานที่กำหนดให้ต้องเรียน
2) หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย
2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน ซึ่งกำหนดไว้ 21 หน่วยกิต ประกอบด้วย
พิมพ์ไทยเบื้องต้น, พิมพ์อังกฤษเบื้องต้น, การบัญชีเบื้องต้นเบื้องต้น , การขายเบื้องต้นเบื้องต้น, กฎหมายพาณิชย์, กฎหมายแรงงาน, คอมพิวเตอร์สารสนเทศ, เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น การเป็นผู้ประกอบการ, พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม วิชาละ 2 หน่วยกิต
**** ข้อสังเกตจากที่ผู้เขียนเข้าร่วมประชุม *****
ผู้เขียนอยากตั้งข้อสังเกตในกลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐานที่ระบุข้างต้น อย่างพิมพ์ไทยเบื้องต้น พิมพ์อังกฤษเบื้องต้น ทำไมยังมีอยู่ นักศึกษาวัย Gen Z นี้พิมพ์ดีดไม่ได้เลยหรือ และหลักสูตร พิมพ์ไทยเบื้องต้น พิมพ์อังกฤษเบื้องต้น ยังต้องเรียนด้วยเครื่องพิมพ์ดีดเพื่อต้องการ ให้สัมผัสถูกต้อง (เครื่องพิมพ์ดีดถือว่าเป็นคุรุภัณฑ์ ต้องดูแลรักษาให้ใช้งานได้ตลอดเวลา)
ผู้เขียนก็ตั้งคำถามว่าวิชาดังกล่าวสามารถยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนอะไรได้ไหม ? โดยอาจหาวิชาอื่นมาแทน เพราะในหลักสูตรก็มีเรียนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานและสารสนเทศ .....
คำตอบที่ได้รับคือ ในกลุ่ม กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นกลุ่มวิชาที่สำนักมาตรฐานอาชีวศึกษา (สมอ) ได้กำหนดไว้แล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นคำตอบน่าสนใจมาก คือ วิชาดังกล่าวข้างต้น อาทิ วิชา พิมพ์ไทยเบื้องต้น วิชาพิมพ์อังกฤษ วิชาการขายเบื้องต้น วิชากฎหมายแรงงาน กฎหมายพาณิชย์ ถ้ายกเลิกไปแล้ว อาจจะทำให้ครูเจ้าของวิชาไม่มีวิชาสอน
ครั้นจะขอให้ปรับวิชาพิมพ์ดีดไทย, พิมพ์ดีดอังกฤษ, การขายเบื้องต้น เป็นวิชาเลือก แล้วนำวิชาที่ควรจะเรียนในยุคสมัยนี้ อาทิ ความรู้พื้นฐานค้าปลีก, การค้าปลีกออนไลน์, โลจิสติกส์ มาเป็นวิชาพื้นฐานแทน ก็ได้รับแจ้งว่าไม่ได้ อีกเช่นกัน
เพราะวิชา ทักษะวิชาชีพพื้นฐานได้กำหนดเป็นวิชาบังคับเรียนรวมในสาขาวิชาพณิชยกรรม (ซึ่งประกอบด้วย
1.สาขางานการบัญชี,
2.สาขางานการตลาด,
3.สาขางานธุรกิจค้าปลีก,
4.สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ,
5.สาขางานธุรกิจสถานพยาบาล,
6.สาขางานการเลขานุการ,
7.สาขางานประชาสัมพันธ์,
8.สาขางานภาษาต่างประเทศ,
และ9. สาขางานสำนักงานสำหรับคนพิการทางสายตา)
ซึ่งเนื้อหาทั้ง 9 วิชาแตกต่างกัน แต่กำหนดให้เรียนเหมือนกัน
ถ้าเปลี่ยนเป็นวิชาเลือก อาจจะไม่มีใครมาเรียน
นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจนที่สุดของการพัฒนาหลักสูตร ที่เป็นการร่างโดยยึดนโยบายผู้บริหารการศึกษาและคุณครูเป็นศูนย์กลางโดยไม่ได้ยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลางแต่อย่างใด
หลักสูตรที่ร่างคำนึงถึงความยากลำบากในการเปลี่ยนวิชาการสอนของคุณครูเป็นหลัก เราพูดถึงการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมานาน แต่ปรากฏการณ์จากการร่างหลักสูตร สามารถชี้ชัดได้ว่าไม่ได้เกิดขึ้นเลย หลักสูตรการเรียนการสอน 4.0 ที่ต้องให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ไม่ได้ถูกนำมาร่วมพิจารณา การพัฒนาหลักสูตร พศ. 2560 ครั้งนี้แต่อย่างไร เพียงแค่นำหลักสูตร พ.ศ. 2556 มาปรับแต่งเนื้อหาเล็กน้อย เท่าที่เห็น
ตารางเปรียบเทียบหลักสูตรปี 2542 , 2556 และ 2560
โครงสร้างหลักสูตร สาขาวิชาค้าปลีก 2560 ปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้าง ?
โครงสร้างของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาค้าปลีก พุทธศักราช 2560
แบ่งเป็น 3 หมวดวิชา และ
1 หมวดวิชาทักษะชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 1) กลุ่มวิชาภาษาไทย 2) กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ 4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ 5) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6) กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน ซึ่งกำหนดไว้ 21 หน่วยกิต ประกอบด้วย
พิมพ์ไทยเบื้องต้น, พิมพ์อังกฤษเบื้องต้น, การบัญชีเบื้องต้นเบื้องต้น , การขายเบื้องต้นเบื้องต้น, กฎหมายพาณิชย์, กฎหมายแรงงาน, คอมพิวเตอร์สารสนเทศ, เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น การเป็นผู้ประกอบการ, พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม วิชาละ 2 หน่วยกิต
**** ข้อสังเกตจากที่ผู้เขียนที่เข้าร่วมประชุม
ปรับเปลี่ยนอะไรของท่านไม่ได้จ้า !!!!!!!!!
****เข้าสังเกตการณ์ในกลุ่มวิชาการตลาด รู้แล้วถึงอึ้ง !!!!!! น้ำตาจิไหล
จากที่ผู้เขียนเข้าสังเกตการณ์ในกลุ่มวิชาการตลาด
หลักสูตรการตลาดก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
แนวคิดการตลาดของหลักสูตร ปวช. ดั่งเดิมเป็นการการขาย ก็ยังเน้นที่การขาย และ การตลาด 4P ( Product, Price, Place, Promotion)
ผู้เขียนพยายามอธิบายให้เข้าใจว่า ก่อนที่จะมา 4P ต้อง STP ( Segmentation, Targeting, Positioning) และ 3 C (Company, Competitor, Customer)
และได้รับคำตอบจากคุณครูทั้งหลายว่า ถ้า ปวช. สอนแค่ 4P แต่ถ้าเป็นปวส. ก็จะสอน STP
..... อ้าว !!! สอนแค่ 4P โดยไม่เชื่อมโยงให้เข้าใจ STP และ 3C
ถึงว่า นักศึกษาจบ ปวช. จึงไม่สามารถเข้าใจวิเคราะห์สถานการณ์ได้
ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ (จบปวช ) จึงรู้จักการตลาดแค่ 4P
ในร่างหลักสูตร พ.ศ. 2560 กลุ่มทักษะเฉพาะสาขาการตลาดจึงประกอบด้วย วิชาศิลปะการขาย , การพัฒนาบุคลิกภาพนักขาย, การจัดจําหน่ายสินค้าและบริการ, การโฆษณา, การส่งเสริมการขาย, การจัดแสดงสินค้า,การกําหนดราคา ,การจัดซื้อเบื้องต้น, การขายตรง, การค้าปลีกและการค้าส่ง, การบรรจุภัณฑ์,การประกันภัย,การขายประกันชีวิต เป็นต้น
ผู้เขียนพยายามเสนอว่า ถ้าเป็นการตลาด ควรมีอย่างน้อยวิชา การตลาดอุปโภคบริโภค, การตลาดอุตสาหกรรม ,การตลาดการบริการ, (ซึ่งทั้งสามวิชาไม่มีในวิชาการตลาด) การตลาดประกันภัย (ไม่ใช่การประกันภัย), การตลาดขายตรง (ไม่ใช่สอนการขาย) , การตลาดค้าปลีกค้าส่ง (ไม่ใช่สอนการค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งวิชาค้าปลีกเขาสอนแล้ว) เป็นต้น
เปลี่ยนอะไรไม่ได้จ้า แล้วให้มาปรับปรุงหลักสูตร เพื่อ........ !!!!!!!!!!
บทบาทครูที่ต้องเปลี่ยนไป จากผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ
ผู้เขียนได้เรียนรู้จากการประชุมดังกล่าวนี้ว่า
ปรัชญาในการสอนระดับ ปวช. ยังใช้หลักการที่ว่า “ จำ-ใจ-ใช้”
คือ นักเรียนต้องจำความรู้ที่คุณครูสอนให้ได้.... ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ .... และนำไปใช้ให้เป็น ซึ่งคุณครูที่ร่วมพัฒนาหลักสูตรส่วนใหญ่ก็ยังติดยึดอยู่กับปรัชญานี้ ดังนั้น การที่เสนอให้มีการยกเลิกบางวิชา จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะคุณครูเจ้าของวิชาเป็นผู้รอบรู้ในวิชานั้นและเป็นผู้ที่จะสามารถประสาทวิชาดังกล่าวให้ผู้เรียนได้
แต่..... ในยุคดิจิตอลทุกวันนี้ เนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ มีมาก ล้น และ มีอยู่รอบๆตัวเป็น Cloud Knowledge ผู้เรียนมีขีดความสามารถเข้าถึงเนื้อหา ได้ง่ายและเร็ว ทำให้มีขีดความสามารถในการมองเห็นเนื้อหา ได้ประหนึ่งเสมือนจดจำไว้ในสมอง ครูยุคดิจิตอลจึงไม่ควรเน้นแค่การสอนตามเนื้อหาในหลักสูตร แต่จะเน้นการนำเนื้อหามาประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดทางความคิด และต้องจัดการเรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จําเป็นให้นักเรียน
ครูยุคดิจิตอล ต้องเน้นให้นักเรียนแสวงหาความรู้ได้เอง ครูจะไม่ควรใช้วิธี Transfer knowledge แต่จะให้นักเรียน สามารถ Infer Knowledge หรือสังเคราะห์ความรู้ จากข้อมูลข่าวสารที่แสวงหามาได้
ครูยุคดิจิตอลต้องเป็นนักจัดการที่ดี จัดการให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ (Action Learning) และต้องเปลี่ยนการสอบเป็นการประเมินเพื่อการพัฒนาปรับปรุง
คุณครูยุคใหม่ Thailand 4.0
ภายในไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายในการนำพาประเทศเข้าสู่โมเดล “Thailand 4.0” ที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” รูปแบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตปริมาณมากและใช้แรงงานราคาถูก ไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่พึ่งพาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ฉะนั้น คุณครู จึงมีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพคนให้สูงขึ้น และหาแนวทางสร้างคนให้เป็น “นักคิด” ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น
คุณครูยุค 1.0 – ยุค 2.0 และยุค 3.0 เป็นครูที่มุ่งมั่นทำให้นักเรียนเรียนรู้ เข้าใจ และสามารถนำความรู้ (Knowledge) ทั้งที่อยู่ในรูปทฤษฎี ที่ปรากฏตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นครูที่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้และสามารถใช้ Knowledge ที่มีอยู่แล้ว ค้นพบแล้วให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของผู้เรียน ( จำ-ใจ-ใช้ )
แต่ การเรียนการสอนของครู 4.0 จึงเป็นการเรียนการสอนที่ต้องเน้นการคิดสร้างสรรค์ Creative Learning ที่จะนำไปสู่การผลิตนวัตกรรม-Innovation
สรุป หลักสูตร 4.0 ....... จุดเริ่มต้นอยู่ที่ใคร ?
จุดเริ่มต้นอยู่ที่ไหน ผู้เขียนมีความเชื่ออย่างยิ่งว่า
ถ้าครูและผู้บริหารโรงเรียน (อดีตคุณครู) ผู้บริหารการศึกษา และ ผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา ไม่พัฒนาตนเองให้เป็นคุณครู 4.0 และผู้บริหารโรงเรียน 4.0 และผู้บริหารการศึกษา 4.0 และกำหนดการ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 4.0 แล้ว...... นักเรียนไทยจะเป็นนักเรียน 4.0 ได้อย่างไร
แล้ว Thailand 4.0 จะก้าวไปอย่างไร ถ้าจุดเริ่มต้นยังไม่ก้าวสู่ความเป็น 4.0
2 บันทึก
8
2
2
2
8
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย