12 ส.ค. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
สาย IEC53 กับสาย VCT ใช้งานอย่างไร ? ( เตือนภัย !!! ระวังใช้งานผิด )
1. โครงสร้างของสาย 60227 IEC 53
สาย 60227 IEC53 จะเป็นสายที่ผลิตตามมาตรฐานสากล IEC 60227 ครับ โดยโครงสร้างของสาย IEC53 และสาย VCT จะคล้ายกันครับ ก็จะประกอบด้วย
1.1 ตัวนำทองแดงที่มีลักษณะเป็นสายฝอยครับ
1.2 ฉนวน PVC
1.3 เปลือก PVC
ตัวอย่างสาย 60227 IEC 53
2. โครงสร้างของสาย VCT
สาย VCT ก็จะเป็นสายที่อ้างอิงมาตรฐาน มอก. 11-2553 ที่ปรับปรุงมาจากมาตรฐานเดิม มอก. 11-2531 ครับ
ตัวอย่างสาย VCT
โดยข้อกำหนดในการใช้งานสาย IEC53 และ สาย VCT นั้น ตามมาตรฐาน วสท.ในบทที่ 5 ตารางที่ 5-48 ข้อกำหนดการใช้งานสายไฟฟ้าตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนพีวีซี ตาม มอก. 11-2553
ก็จะระบุว่า สาย VCT สามารถใช้งาน ฝังดินได้โดยตรงหรือร้อยท่อฝังดินได้ครับ เดินบนรางเคเบิ้ล หรือใช้ต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ครับ แต่สาย 60227 IEC53 ไม่สามารถใช้ฝังดินได้โดยตรงและห้ามใช้ร้อยท่อฝังดินครับ
ข้อกำหนดการใช้งานสาย
เนื่องจากสาย VCT นั้นมีพิกัดการทนแรงดันไฟฟ้าที่ 450/750 V แต่สาย 60227 IEC53 พิกัดทนแรงดันที่ 300/500 V ซึ่งจะแสดงกำกับไว้ที่เปลือกของสายครับ
เมื่อแรงดันไม่เท่ากันฉนวนและเปลือกที่หุ้มสายไฟฟ้าก็จะมีขนาดไม่เท่ากันครับ ซึ่งฉนวนและเปลือกของสาย 60227 IEC53 จึงไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานฝังดินโดยตรงหรือร้อยท่อฝังดินครับ
สาย IEC53 พิกัด 300/500V แต่สาย VCT พิกัด 450/750V
ดังนั้นการใส่ตัวห้อยว่า VCT ที่สาย 60227 IEC53 อาจจะทำให้เราเข้าใจผิดว่านำไปเดินใต้ดินได้ครับ ดังนั้นจุดที่เพื่อนๆควรสังเกตคือ พิกัดแรงดันของสายไฟฟ้าที่เพื่อนๆจะใช้งานครับ
จุดที่ควรสังเกตุข้อแตกต่างระหว่างสาย IEC53 กับสาย VCT
เพื่อนๆสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับ
โฆษณา