Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Go-Gether
•
ติดตาม
28 ก.ค. 2020 เวลา 04:00 • ท่องเที่ยว
🍀ลัดเลาะฝั่งธนเที่ยวชมชุมชนกุฎีจีน🛥
One day trip ตอน ตามรอยอดีต เดินส่องล่องแม่น้ำเจ้าพระยา “ ชุมชนกุฎีจีน “ 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ ที่รวมกันอยู่อย่างกลมเกลียว มากกว่า 200 ปี
Violet_p
ชุมชนกุฎีจีน ตั้งอยู่ ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานครฯ ตรงข้ามปากคลองตลาดฝั่งพระนคร
ชุมชนกุฎีจีน หรือ กะดีจีน
เป็นชุมชนเก่าแก่ย่านฝั่งธนบุรี ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ชุมชนกุฎีจีน เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื่อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน โปรตุเกส ญวน มอญ แขกจาม แขกแพ ที่อพยพมาจากเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งกรุงแตกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 และได้มาตั้งถิ่นฐานบริเวณทางใต้ของคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ชาวกุฎีจีนจะมีเชื้อสายมาจากโปรตุเกสเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้แทบจะไม่เหลือเค้าลางของรูปแบบหน้าตาของชาวตะวันตกให้เห็นอีกแล้ว
หากจะถามว่าเหตุใดชาวบ้านที่นี่จึงได้มีเชื่อสายของชาวโปรตุเกสได้ล่ะ อันนี้คงต้องเล่าย้อนเวลากลับไปนับร้อยปีเลยค่ะ อยากอ่านไหม? ไม่อยากก็ต้องอ่านแหละ เพราะจะเล่า แหะ ๆ
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2054 ชาวโปรตุเกสเป็นชาตตะวันตกชาตแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี กับกรุงธนบุรี
ในปี พ.ศ. 2081 ได้เกิดกลุ่มทหารอาสาชาวตะวันตกขึ้น ทหารอาสาเหล่านี้ได้มีส่วนช่วยเหลือเรื่องอาวุธให้กับทางราชสำนักอยุธยา รวมทั้งยังส่งทหารอาสามาช่วยร่วมรบกับพม่าที่ศึกเมืองเชียงกราน ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช เรียก “ กองทหารอาสาฝรั่งแม่นปืน “
ด้วยความกล้าหาญและความดีความชอบในศึกเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้มีพระบรมราชานุญาติให้ ชาวโปรตุเกสได้ตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาในราชอาณาจักรพร้อมพระราชทานที่ดิน ให้สร้างเป็น “ หมู่บ้านโปรตุเกส “ (กรุงเก่า)
พ.ศ. 2310 หลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ชาวตะวันตกหลายชาติได้อพยพหนีภัยสงคราม หากแต่ชาวโปรตุเกสได้เข้าร่วมเป็นทหารอาสากอบกู้เอกราชกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนสำเร็จ ครั้งสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ตอบแทนคุณงามความดี ทรงพระราชทานที่ดินให้ตั้งรกรากที่บริเวณชุมชน “ กุฎีจีน “ (ด้านใต้ของคลองบางกอกใหญ่) กรุงเทพมหานครฯในปัจจุบัน
เอาล่ะค่ะจบประวัติความเป็นมาของชุมชน “ กุฎีจีน “ กันแล้วก็ได้เวลาออกเดินกันค่ะ
จุดหมายแรกก็แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องเป็นที่ชุมชนกุฎีจีนก่อน ไปหาขนมอร่อย ๆ กินกันค่าาา 🤗
วันนี้บรรยากาศในชุมชนจะแลเงียบ ๆ เพราะมันเป็นวันหยุดไง!!!
ขนมฝรั่งกุฎีจีน
เป็นขนมโบราณที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นขนมลูกผสมระหว่างจีนและฝรั่ง(โปรตุเกส) คนจีนถือว่าใครได้ทานขนมนี่จะอยู่เย็นเป็นสุข แป้งนุ่ม หอมหวานเบา ๆ อร่อยจนลอยได้ มาแล้วต้องตำค่ะ ประเดี๋ยวจะมาไม่ถึง
ขนมกุฎีจีน
ขนมหน้านวล
ขนมหน้านวล
ขนมกวยตั๊สพายสัปปะรด ใครชอบขนมที่ออกรสเปรี้ยว ๆ นิดหน่อย แนะนำเลยค่ะ แป้งพายกรอบ ๆ สัปปะรดเหนียวนุ่ม หวานอมเปรี้ยวนิด ๆ กินเพลินจนเกินห้ามใจเลยล่ะ
ขนมกวยตั๊สพายสัป
ขนมร้านของคุณป้าอำพรรณ คุยเก่ง ขาเมาส์เล่าเรื่องสนุก ใครไปเที่ยวที่ชุมชนก็แวะอุดหนุนร้านคุณป้าได้นะคะ
ร้านคุณป้าอำพรรณ
เดินย่อยขนมไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเดินชมภาพกราฟฟิตี้ที่แสดงภาพกิจกรรม และจุดเด่นของชุมชน สวยงามแปลกตา ผสานความใหม่และเก่าเข้ากันอย่างลงตัว เหมือนโอเลี้ยงกับนมข้นหวานยังไงยังงั้น
ภาพกราฟฟิตี้วิถีชุมชน
ภาพกราฟฟิตี้วิถีชุมชน
พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน หรือตึกแดง
เปิดให้เข้าชมฟรี ชั้นล่างเปิดเป็นคาเฟ่มีขนม และเครื่องดื่มอร่อย ๆ จำหน่าย มีมุมนั่งเล่นน่ารัก ๆ ให้ได้ผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการเดินด้วยค่ะ
พิพิธภัณฑ์เปิดวัน อังคาร-อาทิตย์
ปิดวันจันทร์ เด้อ!!! ปิดวันจันทร์!! (เสียงสูงมากกก)
พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน
ด้วยเหตุที่อิฉันไปในวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันหยุดของพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นจึงอดเข้าชมตามระเบียบ นั่งเสียใจอยู่เงียบ ๆ ที่ร้านข้าง ๆ ละกันนะ 😭 โอดครวญ หวนไห้...ถถถถ วาสนาหมาน้อยดันหยุดงานวันจันทร์
Window กาแฟ
Window กาแฟ
🥤☕️ร้านคาเฟ่เล็ก ๆ ข้างพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ขนมอร่อย ไอศกรีมแบบโฮมเมดอร่อยนะแก คือแอบฟรุกมาก 🍨ไอศกรีมเนื้อละเอียดเนียนนุ่มเป็นตูดเด็ก หอมนุ่มละมุนกลิ่นชาเขียวและนมเข้ากั๊นเข้ากัน กาแฟก็เข้มข้นใช้ได้แก้ง่วง แก้เพลีย แก้ละเหี่ยใจได้เริ่ด!!!ค่ะ เอาไป 10 กะโหลก 👍
Ice cream homemade green tea
Ice latte
ทางเดินไปโบสถ์ซางตาครู้ส ออกจากชุมชนจะเจอภาพนี้
เดิมชม เดินศึกษาขนม และของกินภายในชุมชนกันเรียบร้อยแล้ว เราจะไปต่อกันที่โบสถ์ซางตาครู้สกันค่ะ พร้อมแล้วก็ตามมาเลยค่าาาา ! 😇
เดินออกจากเขตชุมชนตามซอยมาเรื่อย ๆ ไปทางท่าน้ำ โบสถ์อยู่ใกล้กับริมแม่น้ำเจ้าพระยาเลยค่ะ หรือใครมาจากทางวัดประยูรเดินเลาะมาตามริมแม่น้ำก็จะเจอทางเข้าค่ะ
ศาลาท่าเรือวัดซางตาครู้ส มาจากทางวัดประยูรจะเจอภาพนี้
แต่ท่าเรือพังถล่มลงไปแล้วนะคะ ตรงนี้เรือจะจอดไม่ได้ ถ้าใครมาทางเรืออาจจะต้องไปลงตรงท่าเรือวัดประยูร หรือท่าเรือวัดอรุณแทนค่ะ
ท่าเรือพังไปแล้วจ้า
Santa Cruz Church
โบสถ์ซางตาครู้ส Santa Cruz Church
สร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศาสนสถานที่อยู่คู่ชุมชนกุฎีจีนมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี คำว่า “ ซางตาครู้ส “ เป็นภาษาโปรตุเกส ที่แปลว่า “ กางเขนศักดิ์สิทธิ์ “ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก และ เรเนอซองซ์ มีโดมคล้ายโดมของพระมหาวิหารฟลอเรนซ์ แคว้นทัสคานา ประเทศอิตาลี ลักษณะเด่นของโบสถ์ก็คือ หอระฆังทรงแปดเหลี่ยมประดับด้วยกางเขนบนยอด ตัวอาการก่ออิฐประดับลายปูนปั้น ส่วนโค้งของโถงมีการใช้เสาลอยรับน้ำหนักของฝ้าเพดานแบบโค้ง รวมตกแต่งด้วยกระจกหลากสีที่ถ่ายทอดเรื่องราวในพระคัมภีร์
Cr.pic : The momentum
วัดซางตาครู้สเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยบริเวณที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม สมัยธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานที่ดินให้แก่ชาวโปรตุเกสซึ่งร่วมทำการศึกต่อต้านพม่าจนได้รับชัยชนะ นักบวชชาวโปรตุเกสจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารวัดหลังแรกที่สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313
รูปหล่อสัมฤทธิ์พระเยซูถูกตรึงกางเขน
ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในชุมชนในปี พ.ศ. 2376 ทำให้อาคารวัดพังเสียหายทั้งหมด จึงต้องก่อสร้างใหม่ด้วยอิฐถือปูน
และได้ก่อสร้างใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2459 ซึ่งคืออาคารวัดหลังที่เห็นในปัจจุบัน
โบสถ์ซางตาครู้ส
คิดแล้วก็น่าเสียดายหากไม่เกิดเพลิงไหม้ครั้งนั้น เราคงได้เห็นโบสถ์ไม้สวย ๆ ที่มีอายุหลายร้อยปีให้ได้ชื่นชมแน่นอนเลยค่ะ
ออกจากโบสถ์ซางตาครู้ส เราไปชมโบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแล้ว แล้ว เราไปต่อกันที่ศาลเจ้าของจีนที่มาของชื่อชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้กันเลย....
ระหว่างทางจะพบกับบ้านไม้โบราณ บ้านหลังนี้ก็เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ไม่ควรพลาด ไม่ใช่บ้านร้างนะคะ มีผู้ดูแลอยู่ ถ้าจะเข้าชมก็สามารถทำได้ แต่วันที่เราไป หาทางเข้าไม่เจอ แง้!เสียใจ😭 คร่ำครวญเบา ๆ รอบสอง วาสนาหมาน้อยอดอีกแล้ว
บ้านไม้แบบโบราณ
บ้านวินด์เซอร์
บ้านวินด์เซอร์ กุฎีจีน
เรือนไม้หลังงามตั้งตระหง่านท้าทายกาลเวลาริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเรือนขนมปังขิงสลักลวดลายงดงาม ปราณีต
สลักลวดลายขนมปังขิง
เรือนไทยหลังนี้ตั้งอยู่บนที่ดินพระราชทาน ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชทานให้แก่วัดซางตาครู้ส เมื่อวันที่ 14 กัยายน 2312 หรือเมื่อ 230 กว่าปีที่แล้ว เป็นมาดกตกทอดมาจากคุณสมบุญ วินด์เซอร์ บุตรสาวเจ้าของโรงสีข้าวในย่านคลองบางหลวงที่สมรสกับ หลุยส์ วินด์เซอร์ ชาวโปรตุเกส
1
คุณครูแอ๊ด สมสุข จูฑะโยธิน ทายาทของตระกูลวินด์เซอร์ เป็นผู้เป็นเจ้าของคนปัจจุบัน
ตระกูลวินด์เซอร์นอกจากจะเป็นคหบดีที่ร่ำรวยแล้ว ยังเป็นตระกูลที่มีบทบาทกับชุมชนกุฎีจีนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านศาสนา การบูรณะโบสถ์ซางตาครู้ส สร้างโบสถ์ ถวายระฆังตีบอกเวลาเป็นต้น
ศาลเจ้าเกียงอันเกง
เราเดินเลียบริมแม่น้ำเจ้าพระยามาเรื่อย ๆ เดินแบบชิลล์ ๆ สายชมวิวอย่างเรานี้สบ๊ายยยย แต่...ก็แอบร้อนชะมัด😅 ไม่แอบล่ะ ร้อนสมองละลายเลยแหละ🤯
ทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา
หยุดถ่ายรูปกลางแดดเปรี้ยง!!🌞 วิวหลักล้าน แต่แดดเอาไปสิบล้าน เดินเหมือนจะชิลล์ แต่ปล๊าว!!! ขอแนะนำว่าใครอยากเลิกกับแฟนให้พากันมาเดิน รับรองเลิกชัวร์!!
ไปต่อกันค่ะ...ท่าด๊า!!!!ถึงแล้วค่ะ ศาลเจ้าเกียงอันเกง
ทางเข้าศาลเจ้า
ศาลเจ้าเกียงอันเกง หรือศาลเจ้าแม่กวนอิม
ศาลเจ้าเกียงอันเกง หรือ ศาลเจ้าแม่กวนอิม เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ของชุมชนกุฎีจีน ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ระหว่างวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารและวัดซางตาครู้ส
ศาลเจ้าได้สร้างขึ้นในปีใดนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด บ้างก็ว่าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นผู้สร้าง
เดิมศาลเจ้าแห่งนี้มีจำนวน 2 หลังซึ่งติดกัน คือ ศาลเจ้าโจวซือกง และ ศาลเจ้ากวนอู ในเวลาต่อมาศาลเจ้าได้ทรุดโทรมลงไปมาก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ ได้มีชาวฮกเกี้ยนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามารื้อศาลทั้ง 2 ลง แล้วสร้างใหม่เพียงหลังเดียว ซึ่งก็คือศาลเจ้าในปัจจุบัน (ไม่ทราบเหตุผลเช่นกันค่ะว่าทำไปทำไม)
เดิมทีทั้ง 2 ศาล เป็นที่ประดิษฐาน “ เจ้าพ่อโจวซือกง “ และ “ เจ้าพ่อกวนอู “ ตามชื่อศาลเจ้า แต่ภายหลังรื้อศาลเจ้าแล้วสร้างใหม่เพียงหลังเดียวทำให้องค์ประธานทั้ง 2 ได้ถูกย้ายไป ซึ่งไม่ปรากฏว่าถูกย้ายไปอยู่ที่ใด ปัจจุบันศาลเจ้ามีเพียงเจ้าแม่กวนอิม เป็นองค์ประธานหลัก เพียงองค์เดียว
คานไม้แกะสลักบริเวณประตูทางเข้า
ศาลเจ้าเกียงอันเกง นับเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี มีอายุมากกว่าร้อยปี ภายในศาลเจ้าประกอบด้วยสิ่งของล้ำค่าที่ได้รับการอนุรักษ์ทั้ง ไม้เครื่องแกะสลักที่มีความประณีตและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง และภายนอกศาลเจ้าที่มุงด้วยกระเบื้องโค้งตามแบบจีนโบราณ ที่ยังคงความงดงาม และเป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของจีนแท้ ๆ ค่ะ
งานจิตรกรรมฝาผนัง และไม้แกะสลัก
เขาห้ามถ่ายรูปภายในนะคะ ให้ถ่ายได้แค่ภายนอกเท่านั้น และ อย่าหยิบจับสิ่งของภายในโดยพละกาลนะคะ ประเดี๋ยวจะโดนดุเอานาออเจ้าทั้งหลาย
แค่เดินถ่ายรูป(ภายนอก)นาน คนดูแลยังแอบมองแรง สงสัยคงกลัวเราไปรบกวนคนอื่น ยังไงก็รีบไหว้รีบถ่ายและรีบเดินต่อท่าจะดีกว่านะออข้อย
ศาลเจ้าเกียงอันเกง
จบแล้วสำหรับครึ่งแรก เรายังมีที่เที่ยวอีกหลายที่ ที่จะพาไปชม ทั้งที่อยู่ในแพลนและนอกแพลน เหตุที่มีนอกแพลนเพราะเดินหลงทางตามเฮีย G พาเดินทะลุทะลวงมั่วไปหมด เหงื่อตกหน้าดำเป็นปลาหมึกแห้งกันเลยทีเดียวค่ะ 😤
สำหรับบทความนี้ ขอลาไปแล้ว และพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ ติดตามและเป็นกำลังใจให้กันต่อไปด้วยนะ อย่าเพิ่งเบื่อกันน่า
@Violet_p
4 บันทึก
31
8
7
4
31
8
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย