26 ก.ค. 2020 เวลา 08:51 • ธุรกิจ
ถ้าการเมืองดี เงินเดือน ป.ตรี จะเป็น 4 หมื่น...จริงหรือ?
ขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านสักเล็กน้อยถึงปานกลางก่อนว่า กรุณาอย่าเอาไปโยงกับ
เรื่องการชุมนุม แล้วไปตีความว่าเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่บทความนี้ให้ความ
สนใจกับข้อสงสัยว่า ถ้าเงินเดือนขั้นต่ำ 4หมื่นจริง ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรและ
เป็นไปได้จริงหรือแค่......."ความฝัน"
ค่าแรงขั้นต่ำ เงินเดือน ป.ตรี ขั้นต่ำ ระยะหลังถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการ
หาเสียงของพรรคการเมือง แน่นอนว่าังแล้วหรือเคลิ้ม แต่ ในทางปฏิบัติเป็นไปได้
หรือไม่ ลองพิเคราะห์บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงกัน
หากเราลองไปส่องดูเงินเดือนเฉลี่ยเมื่อเทียบกับค่าครองชีพของประเทศ
ในแถบเอเชีย พบว่า 3 อันดับแรกได้แก่ สิงคโปร์ เกหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ซึ่งมีเงินเดือน
เฉลี่ยราว 9 หมื่นบาทไทย ในขณะที่ไทยอยู่ลำดับ 7 มีเงินเดือนเฉลี่ยที่ 13,736 บาท ซึ่งน้อยกว่ามาเลเซีย แต่ยังมากกว่าเวียดนามและกัมพูชา
https://www.admissionpremium.com/entrepreneur/news/4914
อย่างไรก็ตามหากเรามาวิเคราะห์ให้ดีจะพบว่า ประเทศ 3 ลำดับแรกนั้นไม่แปลกที่จะมีเงินเดือนเฉลี่ยที่สูงมาก ทั้งนี้ก็เพราะ ประเทศเหล่านั้นมี "know how" หรือ
เทคโนโลยีเป็นของตนเอง เช่น เกาหลีใต้มี Samsung, LG ในขณะที่ญี่ปุ่น นี่คงไม่
ต้องสาธยาย ในขณะที่สิงค์โปร ฮ่องกง และจีน ประเทศเหล่านี้มี ทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ภาษาอังกฤษ ที่ดีกว่าประเทศไทย
นอกจากนี้เพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย เขาก็มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ได้แก่
รถยนต์ยี่ห้อ proton
1
หากพิจารณาต่อไปว่า ค่าครองชีพของไทยเมื่อเทียบกับเงินเดือน อยู่ที่ 24000 บาท ซึ่งถือว่ากลาง ๆ เมือเทียบกับประเทศอื่น ๆ ใน 9 ประเทศ ข้อสงสัยที่ชวนคิดและได้คำตอบในทันทีคือ นี่ไง ประเทศไทยเงินเดือนน้อยแต่ค่าครองชีพสูง ยิ่งต้องขึ้น
เงินเดือนหน่ะซิ ถึงจะถูก.....แต่ หากพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้เราอาจต้องคิดกันใหม่ว่าแน่ใจหรือว่าต้องขึ้นเงินเดือน?
ผลกระทบจากการขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำเป็น 40000 บาท
1. เงินเดือนราชการต้องเพิ่มขึ้นด้วย >>> ทุกวันนี้ งบประมาณภาครัฐหมดไปกับ
หมวดเงินเดือนและค่าตอบแทน คิดเป็น 24 % จากเงินงบประมาณทั้งหมด
ซึ่งเป็นรายจ่ายประจำ (จ่ายทุกเดือน ทุกปีเป็นการแน่นอน) ดังนั้น การจะขึ้นเงินเดือนราชการรัฐจะเอาเงินมาจากไหน ถ้าไม่ใช่ "ภาษี"
รายงานการวิเคราะห์ พรบ. งบประมาณ ปี 2562 (หน้า จ) https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=690
2. ภาคเอกชน >>> เงินเดือนและค่าแรงงาน คือต้นทุนในการดำเนินงานประเภท
หนึ่ง ซึ่งทางออกของภาคเอกชนในการลดต้นทุน คือ ใช้เทคโนโลยีแทนการจ้างคน ผลที่ตามมาคือ "คนตกงานมากขึ้น"
3. เงินเฟ้อ >>> ในหมวดที่เกี่ยวกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค จะเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน สังเกตุได้จากตัวเลข เงินเดือนเฉลี่ยเทียบกับค่าครองชีพ ที่ค่าครองชีพสูงกว่า
ดังนั้น ถ้าเงินเดือนขึ้น วัตถุดิบอย่างผัก อาหาร พื้นฐานเช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวกระเพราะ หรือแม้กระทั่งไข่ดาว ขึ้นตามด้วยแน่นอน 100%
4. ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ>>> ถ้าตัดประเด็นเรื่อง
"ทรัพยากรมนุษย์" เหลือเพียง การดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ (FDI)
ในแง่ของค่าจ้างที่ถูก ไทยมีโอกาสถูกย้ายฐานการผลิตไป เวียดนาม
(สำหรับสินค้าเทคโนโลยี : ทุกวันนี้ Samsung ไปสร้างฐานการผลิตที่นั้น) ,
อินโดนีเชีย (สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์) และ กัมพูชา
(สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม)
เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้เราพึ่งพาการลงทุนจากต่างชาติในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ นอกจากปัจจัยเรื่องค่าแรงแล้ว ประเด็นเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์
ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ
ที่มา https://www.etda.or.th/content/world-economic-forum-ranking-2019.html
ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย จากสถาบันIMD
(International Institute for Management Development) และ WEF
(World Economic Forum) พบว่า ในปี 2019 มีระดับคะแนนลดลง และอยู่อันดับ 6 ของประเทศในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีด้านที่ได้คะแนนสูง ได้แก่
ด้านเศรษฐกิจ มีการเกินดุลทางการค้า, ระบบธนาคารมีความเข้มแข็ง
ด้านสาธารณสุข มีสวัสดิการที่ดี ครอบคลุมและเข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง
ด้านระบบการเงิน โอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สูง, ระบบตลาดทุนและกลไกกำกับ
ดูแลมีความเข้มแข็ง
ส่วนที่ต้องปรับปรุง (ได้คะแนนน้อย)
- ระบบกฏหมาย และ ระเบียบขั้นตอนทางราชการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และ คอร์รัปชั่น
- ทักษะของ "บัณฑิตจบใหม่" ที่ไม่สอดรับกับความต้องการของภาคธุรกิจที่เปลี่ยน
แปลง
- นวัตกรรมไม่มี
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี ในที่นี้วัดจาก การตระหนักรู้ในการใช้ประโยชน์และโทษ
ของการใช้เทคโนโลยี ของประชาชนในประเทศ
และ ข้อมูลอีกด้านที่เป็นการตอกย้ำว่า การขึ้นเงินเดือนหรือค่าแรงขั้นต่ำนั้น อาจไม่
ใช่เรื่องง่ายและเป็นเรื่องที่ยังไม่อาจทำได้ถึง 40000 บาท ก็คือ การไม่มี
Know-how เป็นของตนเองในระดับที่สามารถเป็นสินค้าส่งออกได้เหมือน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น โดยข้อมูลจากงานวิจัยเรื่อง 10 ปีอุตสาหกรรมไทย เรามาไกลแค่ไหน
ให้ข้อสรุปว่า ภาคธุรกิจไทยมีการลงทุนใน ที่ดิน อาคารและเครื่องจักร ในอัตราที่สูง แสดงถึงแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีมาทำงานแทนคนมากขึ้น แต่ ในส่วนของ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ สิทธิบัตรการผลิต ลิขสิทธิ์ มีสัดส่วนที่น้อยถึงน้อยมาก
ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า เรายังไม่สามารถที่จะก้าวพ้นกับดักรายได้ปนกลางไปได้
เพราะเราไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ทั้งในมิติของ การขาดการสนับสนุนจาก
ภาครัฐ และทักษะของทรัพยากรมนุษย์
ที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_165. pdf
ความฝันว่าเงินเดือนขั้นต่ำ ป.ตรี 40000 บาท เป็นไปได้ไหม คำตอบคือ เป็นไปได้
แต่...."เมื่อไรไม่รู้แต่ที่รู้คงไม่ใช้เร็ว ๆ นี้แน่" แต่ ความจริงที่ประจักษ์ชัด คือ
" ขีดความสามารถโดยเฉพาะ ทรัพยากรมนุษย์" วันนี้เราพร้อมแค่ไหนและ คุณภาพอยู่ในระดับไหน แค่ อาเซียน เอเชีย หรือ ระดับโลก
และต่อให้การเมืองเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ คุณภาพของทรัพย์มนุษย์
ยังไม่อยู่ในวิสัยของการเปลี่ยนแปลง แล้วจะมีประโยชน์อะไร?
โฆษณา