อีกนัยหนึ่งแบบโบราณทางศาสนาว่า ผิวเบื้องบนจะมีหลายสีคือสีหม่น สีขาว สีเหลือง หรือสีแดงในแต่ละส่วนของร่างกาย และสัณฐานหรือรูปร่างแตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของร่างกายคือ
- หนังนิ้วเท้าเหมือนดั่งรังไหม
- หนังเท้าเหมือนกับหนังเกือกหุ้มทั้งหัวเท้าตลอดส้นเท้า
- หนังแข้งเหมือนกับใบตาลห่อของแขวนไว้
- หนังขาเปรียบกับถุงยาวใส่ข้าวสาร
- หนังสะโพกเหมือนกับผ้ากรองน้ำบรรจุน้ำไว้เต็มผ้า
- หนังสันหลังเหมือนกับแผ่นกระดาน
- หนังท้องเหมือนกับรางพิณ
- หนังอกเป็นสี่เหลี่ยม
- หนังแขนเหมือนแล่งธนู
- หนังมือเหมือนกับฝักมีดโกน
- หนังนิ้วมือเหมือนกับลูกกุญแจ
- หนังคอเหมือนกับปกเสื้อ
- หนังปากเป็นปรุช่องเหมือนกับรังตั๊กแตนและหนังศีรษะเหมือนกับถลกบาตร
หนังทุกชนิดมีหน้าที่หลักคือ
- ป้องกัน ช่วยป้องกันอันตรายจากแสง และความร้อนไม่ให้ผ่านเข้าสู่ ร่างกายมากเกินไป และช่วยป้องกันไม่ให้มีการระเหยของน้ำออกจากร่างกายมากเกินไป
- เป็นด่านป้องกันเชื้อโรคชนิดต่างๆและสารพิษไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
- การรับความรู้สึก ผิวหนังประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกมากมายหลายชนิดเช่น อวัยวะรับความรู้สึกเกี่ยวกับ การสัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อน เย็น
- ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยการทำงานของต่อมเหงื่อ กลุ่มร่างแหของหลอดเลือดฝอยและ ไขมันที่อยู่ในชั้นใต้ผิวหนังทำให้อุณหภูมิของร่างกายคงที่
- เป็นตัวไฟอุ่นกายหรือปัจจุบันเรียก metabolism ของร่างกาย โดยเป็นแหล่งเก็บสะสมพลังงานไว้ในรูปของไขมันใต้ผิวหนังและเซลล์ในชั้นหนังกำพร้ายังช่วยสร้างวิตามินดีให้กับร่างกาย
ในการศาสนาแบ่งไว้เพื่อให้เรียนรู้ผัสสะ ที่กระทบ โบราณจึงถือเป็นธาตุไฟ เมื่อไม่สบายป่วยไข้จึงมีผลกับผิวโดยตรง เช่นกำเดาเมื่อพิการให้ปวดแสบผิว ร้อนกาย กระหายน้ำ ตามัว ถ้าปล่อยไว้นานจะดำเนินโรคไปทางไฟทุกคำภีร์ เช่นกษัยเพลิง เรื้อนเพลิง เป็นต้น
ว่าจะย่อๆ พอเข้าใจกลับยาวไปอีก พรุ่งนี้เจอธาตุดินอีก ๕ ตัวในระบบน้ำกันค่ะ
รวบรวมโดย อ. ปณิตา ถนอมวงษ์