27 ก.ค. 2020 เวลา 13:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Bitcoin (บิทคอยน์) มีมูลค่าอยู่จริง หรือแค่อิงนิยาย ??
1
บิทคอยน์ นับว่าเป็นคริปโตเคอร์เรนซี่ (Cryptocurrency) ตัวหนึ่ง โดยคริปโตเคอร์เรนซี่เป็นอีกหนึ่งหมวดผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นในปี 2008 โดยผลิตภัณฑ์ตัวแรกในหมวดคริปโตเคอร์เรนซี่คือ Bitcoin (บิทคอยน์) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาถึงวันนี้ นับว่าเป็นตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและได้รับการยอมรับมากที่สุด
ก่อนรู้จักบิทคอยน์ มารู้จักคริปโตเคอร์เรนซี่กันก่อน
คริปโตเคอร์เรนซี่คือ เหรียญ (Coin หรือ Token) ที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เหรียญใดก็ตามที่ถูกผลิตขึ้นโดยไม่ได้ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ไม่นับว่าเป็นคริปโตเคอร์เรนซี่ ไม่ว่าเหรียญนั้นจะโฆษณาว่ามีการใช้งานจริง มีอีโคซิสเต็ม (Ecosystem) รองรับ ก็ไม่นับว่าเป็นคริปโตเคอร์เรนซี่ตราบใดที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนในการผลิตเหรียญ
.
2
อย่างไรก็ตาม การผลิตเหรียญขึ้นมาโดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก สิ่งที่ยุ่งยากและเป็นเครื่องมือตัดสินมูลค่าของเหรียญนั้นๆ คือ วิธีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่สร้าง ‘ความต้องการใช้’ (Demand) ที่สอดคล้องเมื่อเทียบกับ ‘จำนวนที่ถูกผลิต’ (Supply) ราคาของเหรียญจะขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply ของเหรียญ ซึ่งไม่ได้แตกต่างกับเงินกระดาษ (Fiat Currency) ที่เราใช้อยู่แต่ประการใด
.
6
ดังนั้น เมื่อเรามองเข้าไปในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่ เราจะพบว่า เหรียญบางเหรียญก็ได้รับการยอมรับ และยังคงมีมูลค่าอยู่ เพราะยังคงมีความต้องการเหรียญนั้นอยู่ในตลาด ในขณะที่หลายต่อหลายเหรียญไม่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Ecosystem และเหรียญเหล่านี้ในที่สุดแล้วก็ไม่มีมูลค่าใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่มีใครต้องการ กลายเป็นสิ่งที่คนในวงการบล็อกเชนเรียกว่า ‘Shitcoin’ (เหรียญที่ไร้มูลค่า) ไป คริปโตเคอร์เรนซี่จึงมีทั้งเหรียญที่ใช่ กับเหรียญที่ไม่ใช่ ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของตลาดต่อการเติบโตของเหรียญแต่ละเหรียญ การลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี่จึงเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลงทุนบนเหรียญที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน เหรียญเหล่านี้สามารถทำกำไรให้นักเก็งกำไรเป็นร้อยเท่า ในขณะที่สามารถทำให้นักเก็งกำไรสูญเงินจนหมดได้เช่นเดียวกันหากไม่ระมัดระวัง
8
เรื่องของ Bitcoin
2
Bitcoin นับเป็นเหรียญในหมวด Cryptocurrency ที่เก่าแก่ที่สุด มีเสถียรภาพมากที่สุด ได้รับการยอมรับมากที่สุด และมีขนาดใหญ่มากที่สุด คือประมาณ 188 Billion ดอลล่าร์สหรัฐ หรือราวๆ 6 ล้านล้านบาทไทย ซึ่งหากเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สินอื่นๆ บนโลกใบนี้ Bitcoin นับว่ายังเป็นตลาดที่เล็กมาก แม้แต่ตลาดหุ้นบ้านเราบน Set Index ยังมีขนาดตลาดอยู่ที่ราวๆ 17 ล้านล้านบาท ดังนั้นเมื่อคิดว่า Bitcoin เป็นทรัพย์สินทางการเงินระดับโลก (Global) ที่ยังมีขนาดตลาดเพียง 6 ล้านล้านบาท Bitcoin จึงเป็นสินทรัพย์ที่มีช่องว่างในการเติบโตในอนาคตได้อีกสูงมาก
6
Bitcoin : Store of value จริงหรือเปล่า ??
ก่อนเราจะตอบคำถามว่า Bitcoin กักเก็บมูลค่าได้จริงหรือไม่ เรามาลองพิจารณาคำว่า ‘Store of value’ กันหน่อย เวลาที่เราพูดถึงสินทรัพย์ที่เป็น Store of value หรือสามารถกักเก็บมูลค่าได้ เรามักคิดถึงสินทรัพย์ที่ระหว่างการเดินทางของระยะเวลาจากวันนี้ไปสู่อนาคต สินทรัพย์นี้จะต้องมีราคาที่เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับระดับของเงินเฟ้อ เพราะเหตุนี้ เงินสด หรือ Fiat Currency จึงเป็นสินทรัพย์ที่ถูกตั้งแง่มาก ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ยิ่งถือยิ่งลดมูลค่า ไม่เป็น Store of value อย่างที่คุณสมบัติของเงิน (Money) พึงจะมี
.
3
แต่คำถามที่สำคัญกว่าคือ ‘เงิน’ ที่เราใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ความจริงควรที่จะมีคุณสมบัติอะไรกันแน่ ระหว่างถือแล้วมูลค่าเพิ่ม หรือถือแล้วมูลค่าลด ??
.
สิ่งที่จะเกิดขึ้น หากเงินที่เราถือเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น คือคนจะมีแนวโน้มในการใช้เงินซื้อสินค้าน้อยลงเพราะเราจะอยากถือเงินเอาไว้ให้มากที่สุด นานที่สุด เพราะยิ่งถือยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม
.
มันแปลว่า ในระบบเศรษฐกิจ จะมีคนเอาเงินใส่ตุ่มใส่ไหฝังไว้ที่สวนหลังบ้านมากขึ้น ในขณะที่มีคนใช้เงินในระบบเศรษฐกิจน้อยลง ปรากฏการณ์นี้จะนำมาซึ่ง ‘เงินฝืด’ และ ‘การถดถอยของเศรษฐกิจ’
1
แต่ถ้ามูลค่าของเงินลดลงทีละน้อย แปลว่ามีความเฟ้อของเงินปีละน้อย อย่างที่ธนาคารกลางทั่วโลกให้เป้าหมายเอาไว้ที่ 2% ต่อปี มันแปลว่า เงินยังคงสามารถรักษามูลค่าของมันเอาไว้ได้ เพราะเงินที่เราถือในปีนี้ อีก 10 ปีก็ยังคงนำเงินจำนวนเดิมมาใช้ได้อยู่ เพียงแต่มูลค่านั้นมันลดลง แทนที่จะซื้อไก่ย่างได้ 1 ตัว 10 ปีผ่านไปเราอาจจะซื้อไก่ย่างได้แค่ครึ่งตัว
.
2
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อเงินกระดาษมีมูลค่าลดลงทีละน้อยทุกปี จึงไม่มีใครคิดจะเอาเงินใส่ไว้ในตุ่มในไห เพราะเมื่อ 10 ปีผ่านไป หากใส่เงินในตุ่ม เราจะพบว่าเงินในตุ่มที่เคยซื้อของได้มากมายในวันนี้ กลับสามารถซื้อของได้จำกัดมากขึ้นในวันหน้า เพราะฉะนั้น ไม่สู้นำเงินมาใช้จ่ายวันนี้และลงทุนในวันนี้เลยดีกว่า เพื่อที่เงินนี้จะได้ซื้อของได้มากที่สุดในวันนี้ และสามารถสร้างผลตอบแทนเพื่อรักษา ‘ความสามารถในการซื้อ’ ในวันข้างหน้าได้อีกด้วย เมื่อทุกคนในระบบเศรษฐกิจมีแนวคิดแบบนี้ เงินจึงไม่อยู่ในตุ่มในไห แต่กลับเข้ามาวนเวียนในระบบเศรษฐกิจ นำมาซึ่ง ‘เงินเฟ้อ’ และ ‘การเติบโตทางเศรษฐกิจ’ นั่นเอง
1
กลับมาที่ Bitcoin ด้วยการออกแบบของ Bitcoin ที่มีการจำกัดการผลิตอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ โดยไม่สนใจว่า Demand ของเหรียญจะเพิ่มขึ้นขนาดไหนในอนาคต ทำให้ลักษณะของ Bitcoin เป็นทรัพย์สินที่อยู่ฟากตรงข้ามกับเงินเฟ้อ เพราะ Bitcoin เป็นเหรียญที่เกิดมาท่ามกลางเหตุการณ์วิกฤติทางการเงินในช่วงปี 2008 หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งเป็นวิกฤติที่เราเห็นได้ชัดว่าเงินบนโลกใบนี้ถูกแทรกแซงและควบคุมจากธนาคารกลาง (ส่วนกลาง : Centralized) และวิกฤติทางการเงินทั้งหลายก็เกิดขึ้นเพราะการแทรกแซงจากส่วนกลาง ดังนั้น Bitcoin จึงถือกำเนิดขึ้นบนปรัชญาที่ต้องการแก้ไขปัญหาการถูกแทรกแซงจากส่วนกลาง และด้วยเทคโนโลยี Blockchain ในที่สุด บิทคอยน์จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยคุณลักษณะ Decentralized หรือ ‘ไม่รวมศูนย์’
.
3
จากคุณลักษณะ ไม่รวมศูนย์ และ ไม่เฟ้อ ของบิทคอยน์นี่เอง ทำให้ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา เริ่มมีการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีความเชื่อและความต้องการเดียวกัน คือ ต้องการมีระบบเงินที่หลุดพ้นจากส่วนกลาง ต้องการระบบเงินที่สามารถกักเก็บมูลค่าให้เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปได้ ต้องการระบบเงินที่เป็นของประชาคมโลกอย่างแท้จริง แม้มันจะเป็นความต้องการที่ดูสุดโต่งและเป็นความเพ้อฝัน แต่ด้วยการเกิดขึ้นของ bitcoin ก็ทำให้คนกลุ่มนี้รวมตัวเข้าด้วยกันมากขึ้นเรื่อยๆ
.
1
ในเมื่อมีกลุ่มคนที่มีความเชื่อเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ และมีคนยอมรับการมีอยู่ของ Bitcoin มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิด ‘Demand’ หรือความต้องการซื้อบิทคอยน์มากขึ้น ไม่ว่าจะซื้อมาเก็บ ซื้อมาแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ รวมทั้งซื้อมาเทรด ต่างก็เป็น ‘Demand’ หรือปริมาณการใช้บิทคอยน์ที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น เมื่อความต้องการบิทคอยน์มีมากขึ้น ในขณะที่ความสามารถในการผลิตบิทคอยน์ลดน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้ราคาของบิทคอยน์ แม้จะผันผวนจากการเทรดในตลาด แต่บิทคอยน์ก็ยังคงมีมูลค่าและมีคนต้องการเสมอ
3
อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Bitcoin มีลักษณะพื้นฐานที่ต่อต้านเงินเฟ้อ คือถูกออกแบบมาให้เมื่อเวลาผ่านไป Supply หรือความสามารถในการผลิตลดลง ในขณะที่ฟาก Demand หรือความต้องการไม่มีข้อจำกัด ทำให้แนวโน้มราคาบิทคอยน์จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป จากกลไก Demand และ Supply เมื่อ Bitcoin มีลักษณะที่จะ ‘ฝืด’ หรือ ‘ขาดแคลน’ ในอนาคต บนจิตวิทยาของผู้ถือ จะเห็น Bitcoin มีมูลค่าที่สูงขึ้น ส่งผลให้คนอยากจะถือ Bitcoin มากกว่าจะนำมาใช้แลกเปลี่ยนสินค้า เพราะการแลกเปลี่ยนสินค้าคือการลดบิทคอยน์ในกระเป๋าของตัวเอง บนพฤติกรรมมนุษย์ หากเรามองว่าบิทคอยน์จะราคาขึ้น เราจะไม่อยากใช้บิทคอยน์ เราจะอยาก ‘เก็บ’ บิทคอยน์ และมีความสุขที่จะใช้เงินอื่นๆ ในกระเป๋าเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ามากกว่า
.
2
พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมเดียวกันกับคนถือทองคำที่มีความเชื่อว่าทองคำเป็น Store of Value คือหากเชื่อว่าทองคำจะราคาขึ้น เราจะเก็บทองคำและไม่ขายทองคำเพื่อเอาเงินสดมาใช้ เพราะเราคิดว่าถ้าถือทองคำต่อไป ในที่สุดแล้วทองคำจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ความมั่งคั่งของเราจะเพิ่มขึ้น แม้แต่กับการลงทุนในหุ้นก็ยังเป็นเรื่องเดียวกัน คือตราบใดที่นักลงทุนเชื่อว่าหุ้นนี้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เราจะไม่ขายหุ้นทิ้ง เราจะเก็บหุ้นตัวนั้นต่อไปจนกว่ามุมมองต่อมูลค่าของทองคำ หรือหุ้น จะเปลี่ยนไป
1
เพราะเหตุนี้ หากถามว่าบิทคอยน์จะมีมูลค่าได้อย่างไรหากไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง เนื่องจากบิทคอยน์ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อส่งเสริมให้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า แต่ถูกส่งเสริมให้ ‘เก็บ’ และให้ ‘เทรด’ มากกว่า หลายคนจึงมองว่าบิทคอยน์มีลักษณะเหมือนกับทองคำ ในขณะที่ทองคำมีต้นทุนการผลิตบนเหมืองทอง บิทคอยน์เองก็มีต้นทุนการผลิตบนเหมืองบิทคอยน์เช่นเดียวกัน หากใครสนใจการผลิตบิทคอยน์สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในอินเตอร์เน็ตซึ่งมีข้อมูลอยู่มากมาย หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าบิทคอยน์สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีต้นทุน แต่ในความเป็นจริง บิทคอยน์มีต้นทุนอยู่ที่ราวๆ 8200 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ บิทคอยน์จึงมีมูลค่าบนต้นทุนการผลิตเช่นเดียวกับทองคำ
.
6
นอกจากนี้ เพราะทองคำมีลักษณะของความเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าต่ำ เวลาเราซื้อของ เราไม่เอาทองคำไปซื้อของ เราเอาทองคำแลกเงิน แล้วเอาเงินไปซื้อของ แต่เราก็ยังคงถือทองคำแม้มันจะแลกเปลี่ยนสินค้าไม่สะดวก นั่นเป็นเพราะเราเชื่อว่าทองคำเป็น Store Of Value ที่จะราคาเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป บิทคอยน์เองก็เช่นเดียวกัน ในวันนี้การแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยบิทคอยน์ไม่ได้เป็นเรื่องสะดวก แต่ทำไมยังคงมีคนถือบิทคอยน์? นั่นก็เป็นเพราะว่ามีคนเชื่อว่าบิทคอยน์จะราคาขึ้นในอนาคตจากการเป็น Store of value นั่นเอง
2
แล้วสำหรับข้อโต้แย้งที่ว่า ทองคำเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ จึงสามารถเป็น Store of value ที่ดี ในขณะที่บิทคอยน์ไม่อาจเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ จึงไม่เป็น Store of value ล่ะ ??
2
อย่างที่อธิบายไปในข้างต้นแล้วว่า Bitcoin ถูกออกแบบมาให้สามารถผลิตได้จำกัดแค่ 21 ล้านเหรียญบิทคอยน์เท่านั้น นี่ทำให้ bitcoin เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ และไม่สามารถปรับยืดหยุ่นให้ปริมาณบิทคอยน์ที่ถูกผลิตสอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้ได้ ทำให้ Bitcoin ไม่เหมาะที่จะเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่แล้ว ถามว่าถ้ากลุ่มประเทศบนโลกนี้ตัดสินใจรวม Bitcoin เอาไว้ในตะกร้าเงินได้หรือไม่ คำตอบคือได้ แต่ด้วยความไม่เหมาะสมในหลายอย่าง ทั้งเรื่องปริมาณการผลิตบิทคอยน์และความผันผวนของราคาบิทคอยน์ ทำให้โอกาสที่บิทคอยน์จะเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศแทบเป็นศูนย์
.
2
อย่างไรก็ตาม ด้วยขนาดตลาดของบิทคอยน์ในปัจจุบันที่มีขนาดเพียง 188 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ท่ามกลางความสามารถในการเข้าถึงของคนทั่วโลก โอกาสในการขยายตัวของผู้ถือบิทคอยน์มีสูงมาก เมื่อเรารวมเอาปัจจัยเชิงเครือข่ายผู้ถือบิทคอยน์ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ (Network Effect) มารวมกับต้นทุนการผลิตบิทคอยน์ และปริมาณการผลิตบิทคอยน์ที่มีจำกัด บิทคอยน์จึงกลายเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่มีกลไกมูลค่าของตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
2
แต่แม้ Bitcoin จะเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต ก็อย่าลืมว่า Bitcoin เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความผันผวนสูง ความเสี่ยงสูง บิทคอยน์เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่น่าสนใจ และเหมาะแก่การนำมาอยู่ในพอร์ตการลงทุนก็จริง แต่ควรบริหารความเสี่ยงด้วยการกระจายความเสี่ยงไปในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ด้วย เพื่อให้พอร์ตมีความสมดุลและเหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล
3
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับ Macro Investment เพิ่มเติมได้ที่ https://m.facebook.com/blackbox4.0bymei
โฆษณา