27 ก.ค. 2020 เวลา 17:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เมื่อเชื้อราจากผนังเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลอาจเป็นความหวังในการช่วยปกป้องชาวอาณานิคมบนดาวอังคารจากรังสีมรณะ
เพราะมันคือเกราะกันรังสีที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้เมื่อได้รับความเสียหายจากโดนรังสีอแผดเผาอย่างรุนแรง
เชื้อรา Cryptococcus neoformans นี้พบอยู่ที่ผนังเตาปฏิกรณ์ของอดีตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล
อวกาศข้างนอกนั้นนอกจากจะเป็นพรมแดนมหัศจรรย์ด่านสุดท้ายที่รอให้เราออกไปค้นพบ แต่ก็เหมือนกับการเดินทางสำรวจโลกใหม่ของคนสมัยก่อนที่มีอันตรายมากมายรออยู่และหลายครั้งต้องแลกด้วยชีวิตของเหล่าคณะสำรวจ
หนึ่งในมหันตภัยในอวกาศก็คือรังสีมรณะที่เรียกว่า รังสีอวกาศ (Cosmic ray) รวมถึงรังสีจากดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งเมื่ออยู่บนโลกเราไม่ต้องกังวลถึงภัยร้ายนี้เพราะเรามีสนามแม่เหล็กและชั้นบรรยากาศของโลกคอยปกป้องเราอยู่
สนามแม่เหล็กโลกเกราะที่มองไม่เห็นแต่คอยปกป้องเราอยู่ในทุก ๆ วัน
ลองนึกถึงการไปตั้งถิ่นถานบนดาวอังคารที่แทบไม่มีสนามแม่เหล็กและชั้นบรรยากาศหลงเหลืออยู่
1
ดังนั้นที่อยู่อาศัยของชาวอาณานิคมดาวอังคารต้องมีการกำบังรังสี ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่ต่างกับการที่เรานอนอยู่ข้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งเป็นข้อคำนึงหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบสิ่งก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยบนดาวอังคาร
นิคมบนดาวอังคารในความฝัน
โดยแนวคิดการทำเกราะกันรังสีจากเชื้อรานี้เกิดขึ้นจากการที่มีการค้นพบเจ้าเชื้อรา Cryptococcus neoformans ซึ่งขึ้นอยู่บนผนังปูนของเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่ถูกทิ้งร้างนานหลายปี
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในวันนี้
นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการศึกษาเจ้าเชื้อราสุดทรหดนี้ว่ามันอยู่รอดในสภาวะแวดล้อมที่มีรังสีเข้มข้นนี้ได้อย่างไร และได้มีการนำเจ้าเชื้อรานี้ขึ้นไปทำการทดลองการกำบังรังสีบนสถานีอวกาศนานาชาติด้วย
แผนภาพชุดการทดลองวัดความสามารถในการกำบังรังสีของเชื้อราสุดทรหด
โดยผลการทดสอบนั้นพบว่าเจ้าเชื้อเรานี้มีความสามารถในการกำบังรังสีอวกาศได้ โดยตัวอย่างที่มีความหนา 2 มิลลิเมตรนั้นสามารถกันรังสีได้ 2%
แม้ตัวเลขจะดูน้อยจนแทบไม่น่าจะช่วยอะไรนักบินอวกาศได้ แต่อย่าลืมว่าตัวอย่างในจานเพาะเชื้อนั้นมีความหนาเพียง 2 มิลลิเมตรเท่านั้น
ภาพผลการทดสอบ
ซึ่งรายงานวิจัยประเมินว่าหากสามารถทำชั้นเกราะกันรังสีที่ทำจากเชื้อรานี้ได้หนาถึง 21 เซนติเมตรก็จะสามารถกำบังรังสีได้จนมีปริมาณเทียบเท่ากับที่เราได้รับบนโลก
ทั้งนี้เจ้าเชื้อเรานี้ยังมีความพิเศษอื่นอีก คือเราสามารถนำเชื้อตั้งต้นเพียงหยิบมือแล้วนำไปเพาะเลี้ยงเพิ่มได้ รวมถึงความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองหลังจากได้รับความเสียหายจากการรับรังสีอย่างรุนแรง
ทำให้ไม่ต้องกังวลในการคอยซ่อมเกราะป้องกันรังสีที่เสียหายจากการโดนรังสีอย่างรุนแรง เช่น กรณีเจอกับการลุกจ้าของดวงอาทิตย์ หรือ Solar flare
เกราะกันรังสีชีวภาพจากเชื้อรานี้ อาจจะเป็นคำตอบของการสร้างอาณานิคมบนดวงจันทร์หรือดาวอังคารในอนาคตก็เป็นได้ 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา