Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คิด อย่าง สถาปนิก
•
ติดตาม
28 ก.ค. 2020 เวลา 02:21 • ศิลปะ & ออกแบบ
บ้านกล่องคอนเทนเนอร์
หลายคนคงเคยเห็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกปรับมาใช้ทำหน้าที่อย่างอื่นนอกจากการบรรทุกสินค้า เช่นเป็นร้านอาหาร เป็นบ้าน เป็นออฟฟิท เป็นที่พักแรม ซึ่งบางคนบอกว่า มันดูมีเสน่ห์ดีนะ
Cr. : livingpop.com
อยากรู้ไหมครับว่า ถ้าเราเอาตู้คอนเทนเนอร์มาทำเป็นที่พักหรืออาคารชนิดอื่นๆ จะทำได้อย่างไรบ้าง ?
การนำตู้คอนเทนเนอร์มาปรับใช้เป็นสถาปัตยกรรม เราจะต้องรู้ถึงปัจจัยต่างๆของมันเพื่อที่จะได้เอามาใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
Cr. : www.hps-trade.co.th
1.ขนาดมาตรฐานของตู้
ตู้คอนเทนเนอร์มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบทั่วไป แบบรักษาอุณหภูมิได้ แบบมีแต่โครงที่ไว้ยึดจับสินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่าตู้
1
Cr. : FDI logistics & Biz management
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างคอนเทนเนอร์ทั่วไปนะครับ
ซึ่งก็เป็นตู้ที่ใช้บรรจุสินค้าแห้งทั่วไป เรียกกันว่า Dry Container มี 2 ความยาวคือ
๏ ตู้ยาว 20 ฟุต
- ขนาดภายใน
ยาว: 5.86 เมตร / กว้าง: 2.35 เมตร / สูง: 2.38 เมตร
1
Cr. : www.hps-trade.co.th
๏ ตู้ยาว 40 ฟุต
- ขนาดภายใน
ยาว: 12.03 เมตร / กว้าง: 2.35 เมตร / สูง: 2.38 เมตร
* รุ่น 40 ฟุต จะมีรุ่นที่สูงพิเศษ คือมีระยะภายในสูง 2.70 เมตร
Cr. : www.hps-trade.co.th
นี่คือตู้ทึบ มีผนังโดยรอบ เราจะเห็นว่ามีขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่นัก ซึ่งถ้าต้องการให้โปร่งและโล่งกว่านี้ เราสามารถเชื่อมต่อตู้เข้าด้วยกันเพื่อให้ได้พื้นที่ที่กว้างขึ้น และเลือกใช้ตู้ที่ไม่มีผนังบางด้านได้
Cr. : www.hps-trade.co.th
2.โครงสร้างและการรับน้ำหนักของตู้
โครงสร้างหลักของตู้เป็นเฟรมเหล็กที่เป็นโครงเสา-คานเหล็กรัดรอบตู้และจะมีส่วนเสริมความแข็งแรงที่มุม ผนังเป็นแผ่นเหล็กพับเป็นลอนเพื่อเสริมความแข็งแรงและเคลือบด้วยสีพ่นกันสนิม
ซึ่งตู้พวกนี้สามารถรับน้ำหนักได้ 25-30 ตัน จึงไม่ต้องห่วงถ้านำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป
การซ้อนตู้ ในกรณีที่วางซ้อนกันพอดี คือโครงเหล็กแต่ละตู้ถ่ายน้ำหนักผ่านโครงแต่ละตู้ลงมาได้โดยตรงจนถึงพื้นดิน สามารถทำได้สูงถึง 3-5 ชั้น(แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน)
แต่ไม่แนะนำให้วางโดยตรงบนพื้นดินนะครับ เพราะจะมีปัญหาเรื่องความชื้น
Cr. : pantip.com
แต่ถ้าอยากวางเหลื่อมกัน แนะนำให้เสริมความแข็งแรงของตู้ตัวล่าง (การเสริมความแข็งแรงควรปรึกษาวิศวกร)
3. ขอบเขตของการตัดเจาะต่อเติม
สามารถทำได้อย่างอิสระ แต่เมื่อทำแล้วต้องทำโครงเหล็กเสริมความแข็งแรงรอบช่องที่เจาะ (คล้ายการทำเสาเอ็นคานเอ็นของผนังอิฐ)
ส่วนห้องน้ำ ก็สามารถเสริมโครงรับโครงสร้างพื้นของห้องน้ำได้เช่นกัน
Cr. : pinterest
4. รูปลักษณ์ของตู้
ตามที่เห็นว่าเป็นตู้สี่เหลี่ยม ดังนั้นเมื่อจะนำมาใช้ควรจะคิดเรื่องการป้องกันฝนที่จะสาดเข้าด้านข้างและการระบายน้ำที่อาจจะขังด้านบน รวมไปถึงการรั่วซึมทางรอยต่อที่เชื่อมระหว่างตู้
และด้วยวัสดุที่เป็นเหล็ก ด้านที่โดนแสงแดดจะถ่ายเทและนำความร้อนเข้าสู่ภายใน จึงควรที่จะเสริมส่วนที่ช่วยบังแสงแดด เช่น ทำหลังคา ทำแผงระแนงบังแดด
Cr. : pinterest
รวมไปถึงทำฉนวนภายใน เพื่อช่วยลดปัญหาเรื่องความร้อนในอาคาร
Cr. : pantip.com
การนำตู้คอนเทนเนอร์มาใช้ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของบ้านกึ่งสำเร็จรูป ที่ช่วยประหยัดเวลาการก่อสร้าง
และเป็นการนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยลดขยะได้ทางหนึ่ง
Cr. : Angel Muniz Arquitecto
ได้ที่อยู่อาศัยเท่ๆ แล้วยังช่วยโลกได้ด้วยนะครับ
***********************************
สำหรับเพื่อนๆ Blockdit ที่สนใจแนวอื่น ผมมีเขียนลงอีก 2 เพจคือ
๏ 'Bear's Books' = ข้อคิดดีๆที่ได้จากการอ่าน
๏ 'Bear's Blog' = ภาพถ่ายกับมุมมองของชีวิต ในรูปของ บทกลอน เรื่องสั้น หรือ ไฮกุ
ขอเชิญชวนให้เข้าไปแวะชมนะครับ
เผื่อจะมีบางข้อเขียนที่อาจถูกใจ
ฝากติดตาม หรือ แลกเปลี่ยนความคิดกันได้ครับ
หรือใครสนใจเฉพาะภาพถ่าย
ลองเข้าไปดูและกดติดตามได้ใน
ig : khanaad_photo นะครับ
แล้วพบกันนะครับ
15 บันทึก
35
13
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บ้าน-บ้าน
15
35
13
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย