28 ก.ค. 2020 เวลา 15:54 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#มารู้เรื่องไฟฟ้าดับแบบทั่วไป และเมื่อพูดถึงการเกิดเหตุการณ์ #Blackout แตกต่างกันอย่างไร? (ตอนที่1)
จริงๆแล้วความรู้สึกอาจไม่แตกต่าง เพราะไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนกัน แต่คำนิยามหรือการใช้เพื่อให้เห็นความรุนแรงต่อการเกิดเหตุการณ์ของไฟฟ้าดับ โดยทั่วไปการอาจจะเคยชินกับไฟฟ้าดับ อาจเป็นช่วงสั้นๆ หรือช่วงมีฟ้าคะนอง ซึ่งปัญหาที่เกิดจากไฟฟ้าดับแบบนั้นเกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติ หรืออาจมาจากการต้องดับไฟเพื่อให้ พนักงานที่ทำงานมีความปลอดภัย การดับไฟจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่จะมีการเตรียมการเพื่อให้งานเสร็จตามแผนที่ตั้งไว้ การมีไฟใช้เลยมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ยกเว้นจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่ทำให้ระบบส่งไฟฟ้าไม่สามารถจ่ายไฟให้ประชาชนได้ ซึ่งเหตุการณ์ที่เล่ามาเป็นเหตุการณ์ #ไฟฟ้าดับทั่วไป
แต่วันนี้มาเล่าเรื่องที่มีผลกระทบรุนแรงขึ้นมาหน่อยหรืออาจมาก ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าการจ่ายไฟจะมาถึงประชาชนทั่วไปได้ทั่วถึง เหตุการณ์ไฟฟ้าดับประเภทนี้เราเรียกว่าเกิดเหตุการณ์ Blackout เกิดขึ้นในระบบจ่ายไฟฟ้า ซึ่งเพื่อนๆอาจเคยได้ยินหรือชมมาบ้างแล้วที่ #กฟผ. ได้ออกโฆษณา เรื่องเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เพื่อนๆหลายคนอาจมีความรู้บ้างแล้วจะเข้าใจ แต่ผมว่าอีกหลายคนอาจยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์แบบนี้ ดังนั้นผลจึงจะมาเล่าให้เพื่อนๆฟังย่อๆ ว่ามันคืออะไร หน่วยงานไฟฟ้าเค้าทำงานกันอย่างไร และเราต้องทำอะไรกันบ้าง
#Blackout ส่วนใหญ่เมื่อพูดขึ้นมาจะเป็นเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างหรือทั้งหมดของระบบจ่ายไฟ ซึ่งบางคนจะใช้คำว่า #Total Blackout และกรณีไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างเช่นกันแต่ไม่ทั้งระบบการจ่ายไฟ เราจะเรียกว่า Partial Blackout ซึ่งการเกิดไฟฟ้าดับทั้งระบบต้องมีสาเหตุที่รุนแรงจริงๆ และทำให้โรงไฟฟ้าไม่สามารถรับโหลดทั้งหมดได้ทยอยหลุดออกจากระบบจนหมดทุกโรงไฟฟ้า และ #เกิดไฟฟ้าดับทั้งหมด แต่กรณีเกิดไฟฟ้าดับบางส่วน อาจเกิดมาจากจุดอ่อนของระบบ (สถานีจ่ายไฟฟ้า หรือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หลุดออกจากระบบ) เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้วทำให้มีไฟฟ้าดับบางส่วนซึ่งเป็นบริเวณกว้างหรือหลายจุดจ่ายไฟนั้นเอง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ Blackout มีขั้นตอนอย่างไร กว่าจะมีไฟฟ้าใช้ครบทุกบ้านเรือน ขอสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้แล้วจะมานำเสนอเป็นหลายหัวข้อให้ครั้งต่อไป
1. เมื่อเกิดเหตุการณ์ Blackout ที่ศูนย์ควบคุมจะเห็นความถี่ระบบลงมาเป็น ศูนย์ ( ถ้า เกิด #Partial Blackout ความถี่จะสวิงและกลับมา โดยจะมีระบบป้องกันพิเศษทำงานเช่น ระบบป้องกันความถี่ต่ำ (#UF) แรงดันไฟฟ้าต่ำ (#UV) ทำงาน เพื่อรักษาระบบใหญ่ให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อยู่ปกติ )
2. การ #Reset ระบบการจ่ายไฟ เมื่อเกิดเหตุการณ์ ( ต้องทำทุกจุดจ่ายไฟฟ้า ในพื้นที่ ที่เกิดขึ้น)
3. ค้นหาสาเหตุเพื่อตัดส่วนที่มีปัญหาออกจากระบบ และเพื่อนำระบบกลับจ่ายไฟฟ้าอีกครั้ง
4. การนำระบบกลับคืนสู่สภาพปกติการจ่ายไฟ
ขั้นตอนทั้งหมดนี้เป็นหัวข้อที่จะนำเสนอครั้งต่อไป เดี๋ยวจะยาวไป หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆนะครับ ช่วยกดชอบและสามารถแชร์ได้นะครับแบ่งปันความรู้กันครับ
#ไฟฟ้าดับ #Blackout #ระบบส่งไฟฟ้าและการควบคุมการจ่ายไฟ
โฆษณา