Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไฟฟ้าเรื่องน่าคิด
•
ติดตาม
29 ก.ค. 2020 เวลา 16:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#มารู้เรื่องไฟฟ้าดับแบบทั่วไป และเมื่อพูดถึงการเกิดเหตุการณ์ #Blackout แตกต่างกันอย่างไร? (ตอนที่2)
จากครั้งที่แล้วได้พูดถึงหลักใหญ่ของการเกิดไฟฟ้าดับ จากเหตุการณ์ #Blackout ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว หน่วยงานศูนย์ควบคุมฯ ที่ดูแลระบบไฟฟ้าจะเป็นผู้สั่งการ ค้นหาสาเหตุและนำระบบไฟฟ้ากลับมาจ่ายให้ได้เร็วที่สุด แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นแบบ Total Blackout มีโอกาสขึ้นน้อยมาก เนื่องจากในการควบคุมระบบจะติดตั้งระบบป้องกัน เพื่อตัดโหลดออกบางส่วนจากระบบ #ป้องกันความถี่ต่ำ (#Under Frequency Relay: #UF) และ #แรงดันไฟฟ้าต่ำไว้ (#Under Voltage Relay: #UV) ก่อนที่จะทำให้ระบบไฟฟ้าล่มจนไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทั้งหมด อีกอย่างในการควบคุมจะมีระบบกำลังสำรองไว้ (Spinning Reserve) ซึ่งสามารถไปอ่านจากบทความที่นำเสนอไปแล้วนั้น
สำหรับการตั้งค่าความถี่ระบบไฟฟ้าในการปลดโหลดออกเมื่อเกิดความถี่ระบบไฟฟ้าต่ำ หน่วยงานการไฟฟ้าทั้งหมดเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและพื้นที่ในการปลดโหลดออกเพื่อรักษาระบบไฟฟ้าไว้ โดยจะกระจายทั่วประเทศ โดยตั้งไว้ 5 ช่วงความถี่ด้วยกัน โดยจะเริ่มที่ 49.0 เฮิร์ท โหลดที่ปลดออกโดยรวมจะประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และค่าความถี่ ต่ำสุดที่ตั้งไว้คือ 47.9 เฮิร์ท สำหรับค่า แรงดันไฟฟ้าต่ำจะตั้งไว้ที่ ประมาณ 80-85 เปอร์เซ็นต์ (0.8-0.85 PU)ในช่วงเวลา 4-9 วินาทีแบบต่อเนื่อง
ช่วงความถี่ในการปลดโหลดออกจากระบบ
ในกรณีเกิดขึ้นจริงการค้นหาสาเหตุของเหตุการณ์จะต้องทำอย่างรวดเร็วและกำหนดขอบเขตพื้นที่ ในกรณีทราบปัญหาแล้ว การนำระบบกลับคืนจะทำโดยใช้ระบบส่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก่อนที่จะถึงขั้นตอนนั้น ขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การ #Reset ระบบ
การ #Reset ระบบคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ?
เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุการณ์ระบบป้องกันต่างๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่เมื่อไฟฟ้าดับทั้งหมด อุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าที่จ่ายอยู่จะยังคงสถานะเดิมอยู่ เพราะระบบป้องกันเช่น หม้อแปลง สายส่ง และอุปกรณ์อื่นๆของสถานีไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าให้ประชาชน จะยังคงสภาพพร้อมจ่ายไฟ ดังนั้นถ้าเราไม่มีการ Reset ระบบไฟฟ้า จะทำให้สายส่งและกลุ่มโหลดยังคงพร้อมรับไฟฟ้า และมีปริมาณมาก อีกทั้งสายส่งจะยังคงเชื่อมโยงกันอยู่ ถ้าเราจ่ายไฟฟ้าที่จุดใด จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันทั้งหมด จะส่งผลที่ให้ไม่สามารถจ่ายฟ้าได้เพราะโหลดมีค่ามากเกินไป และความยาวส่งส่งมาก ผลของ #Ferranti Effect เกิดขึ้น (สามารถอ่านบทความที่นำเสนอไปแล้ว) ดังนั้นการปลดอุปกรณ์เชื่อมโยงออกทั้งหมดจึงมีความจำเป็น ซึ่งจะต้องเป็นหน้าที่ของ กฟผ. และ กฟน. กฟภ. ต้องปลดอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าออกทั้งหมดและจุดจ่ายไฟฟ้าด้วย เพราะถ้ายังมีกลุ่มโหลดเกาะจุดจ่ายไฟฟ้าอยู่ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ค่ากระแส #Inrush Current จะเกิดขึ้นมีค่าสูงมากจากอุปกรณ์ที่จ่ายไฟอยู่ และถูกปลดออกช่วงเวลาหนึ่งเช่นเกิดจากไฟฟ้าดับทันทีเป็นต้น ซึ่งกลุ่มโหลดนี้เราจะเรียกว่า #Cold Load Pickup จะทำให้ค่ากระแส #Inrush Current สูงถึง 8-10 เท่าเลยทีเดียว ดังนั้นการ Reset ระบบจึงมีความจำเป็นต้องทำก่อนมีการจ่ายไฟฟ้ากลับคืนสภาพปกติ
Inrush Current จากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
หวังว่าเพื่อนๆพอจะทราบขั้นตอนในส่วนของการ Reset ระบบ ว่าทำถึงมีความจำเป็น สำหรับขั้นตอนต่อไปเรื่องการนำระบบกลับสภาวะปกติจะนำเสนอครั้งต่อไป ติดตาม และช่วยแชร์หน่อยนะครับ เพื่อนๆจะได้แลกเปลี่ยนคำถามและความรู้กันครับ
#ไฟฟ้าดับ #Blackout #Cold Load Pickup #Inrush Current #Reset ระบบ
#ระบบส่งไฟฟ้าและการควบคุมการจ่ายไฟ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย