30 ก.ค. 2020 เวลา 16:11 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#มารู้เรื่องไฟฟ้าดับแบบทั่วไป และเมื่อพูดถึงการเกิดเหตุการณ์ #Blackout แตกต่างกันอย่างไร? (ตอนที่3)
จากตอนที่1 และ 2 ในกรณีเกิดเหตุการณ์ #Blackout ในระบบ เมื่อเราทราบสาเหตุและทำการ Reset ระบบเรียบร้อยแล้ว (ครั้งที่แล้วลืมอธิบายในการ #Reset ระบบ อุปกรณ์ที่ปลดออก คือ #Breaker สำหรับใบมีด (#Disconnecting Switch) จะไม่ปลดออก สภาพสถานีไฟฟ้าทุกแห่ง สภาพ Breaker จะอยู่ในสภาพปลดออกทั้งหมด ) ซึ่งเมื่อรู้สาเหตุและกำหนดพื้นที่แล้ว ดังนั้น #การนำระบบกลับคืน (#Restoration) จะเป็นขั้นตอนต่อไปและมีความสำคัญ เพราะต้องทำเวลาและให้ระบบมั่นคงด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะถ้าเกิดปัญหาในช่วงเริ่มต้น การนำระบบกลับคืนอาจไม่สำเร็จได้
ขั้นตอนสำคัญของการนำระบบกลับคืนขั้นตอนแรกสุดเราจะเรียกขั้นตอนนี้ว่าการทำ #Black Start ซึ่งโรงไฟฟ้าที่มีความสามารถในการทำขั้นตอนนี้ได้จะต้องสามารถทำ Black Start ได้อย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง เนื่องจากอาจประสบปัญหาในขั้นตอนช่วงการจ่ายโหลดหรือการขนานเข้าระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโรงไฟฟ้าที่มีความสามารถนี้ได้จะเป็น #โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ และระบบของโรงไฟฟ้าจะต้องสามารถจ่ายในแบบ #Isochronous Mode ได้ สำหรับโรงไฟฟ้าเอกชนที่ขนานเข้าระบบ เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้วโรงไฟฟ้ายังสามารถพร้อมขนานอยู่ได้ ซึ่งเดินเครื่องในลักษณะ #House Load (คือเครื่องพร้อมขนานเข้าระบบแต่จ่ายโหลดเฉพาะภายในพื้นที่ตนเอง) ให้รอจนกว่าจะได้รับการอนุญาตให้ขนานเข้าระบบหลัก ซึ่งขั้นตอนการนำระบบกลับคืนจะมีขั้นตอนหลักๆดังนี้
1. การ #Reset ระบบ
2. แบ่งพื้นที่การจ่ายไฟฟ้าออกเป็นพื้นย่อยๆ โดยหลักๆในพื้นที่นั้นๆจะต้องมีโรงไฟฟ้าที่สามารถทำขั้นตอน #Black start ได้ด้วย
3. ขั้นตอนการทำ Black start ของโรงไฟฟ้า
4. การ #Charge Line ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญเพราะโรงไฟฟ้าจะต้องรับกระแส #Inrush Current และ #Ferranti Effect ( #VAR Charging )อาจส่งผลทำให้โรงไฟฟ้า Trip ออกได้ ทำให้ต้องเริ่มทำขั้นตอน Black Start ใหม่อีกครั้ง ( ช่วงแรกก่อนมีการจ่ายโหลดโรงไฟฟ้าอาจจะต้องจ่ายไฟใน #Voltage Control เพื่อการควบคุมแรงดันไฟฟ้าปลายสาย ซึ่งผลกระทบอาจจะทำให้โรงไฟฟ้าอยู่ในโหมด เกือบ #Under excited เพราะถ้าต่ำเดินโรงไฟฟ้าจะไม่สามารถจ่ายไฟเข้าระบบได้ ซึ่งปกติจะมีการทดสอบของโรงไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติ Black Start ได้ทุกปี )
2
5. การควบคุมแรงดันปลายสาย ของสถานีไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าจ่ายเข้าจะต้องให้อยู่ในค่าที่ไม่สูงเกินไป โดยจะ #ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ไม่เกิน 110% Rated และค่าแรงดันไฟฟ้าต้องไม่ Swing ค่าความถี่ให้อยู่ในเกณฑ์ 50+/- 0.5 เฮิร์ท (49.5-50.50 เฮิร์ท)
6. การจ่ายโหลดในช่วงแรกมีเป้าหมายจ่ายไฟไปยังโรงไฟฟ้าที่ไม่สามารถทำ Black Start ได้ก่อน หรือโรงไฟฟ้าที่สามารถ #House Load ได้ แต่อย่างไร ขั้นตอนนี้จะอยู่ที่สภาพของระบบส่งด้วยว่ามีความพร้อมและระยะห่างมากน้อยเพียงใด (ขั้นตอนนี้จะมีการจ่ายโหลดบางส่วนเพื่อให้แรงดันไฟฟ้ามีค่าไม่สูงมาก เพื่อให้สามารถจ่ายไฟไปยังสถานีไฟฟ้าอื่นต่อไปได้)
7. การจ่ายโหลดผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป ขั้นตอนนี้ทางหน่วยงานการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งจะต้องประสานงานกันและต้องกำหนดปริมาณโหลดที่เหมาะสมเพื่อให้การนำระบบกลับคืนเป็นไปด้วยความระมัดระวังเพื่อให้ให้มีโหลดมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าที่ทำการ Black Start (ซึ่งขั้นตอนนี้ กฟภ. กฟน. จะต้องทำขั้นตอน #Reset ระบบเช่นเดียวกันเพื่อไม่ให้การจ่ายไฟครั้งแรกมีโหลดสูง ในช่วงนี้โรงไฟฟ้าจะอยู่ในโหมดการจ่ายไฟ #Frequency Control )
ขั้นตอนนี้การจ่ายโหลดจะเป็นการจ่ายไม่เต็ม 100 % ซึ่งอาจจะจ่ายไม่เกิน 50% และต้องให้เหมาะสมกับโรงไฟฟ้าที่เดินเข้าระบบช่วงเวลาดังกล่าว ค่าความถี่และแรงดันต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
8. การขนานเข้าระบบในโซนย่อยๆ การขนานโรงไฟฟ้าเข้าระบบเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดความมั่นคง และทำให้สามารถจ่ายโหลดได้มากขึ้นและทั่วถึง
9. การขนานระหว่างโซนให้เป็นระบบใหญ่ ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่ยากอีกเช่นกัน บางครั้งความถี่ระบบเท่ากันแต่มุมของโซนแตกต่างกัน การขนานกันจึงต้องมีการปรับ ซึ่งอาจใช้เวลา ซึ่ง การไฟฟ้าได้ศึกษาไว้แล้วว่าจุดเหมาะสมและโหลดปริมาณเท่าใดเพื่อให้การควบคุมได้ง่ายในการขนานเข้าด้วยกัน
10. เมื่อขนานโซนครบทั้งพื้นที่แล้วจนระบบเป็นระบบเดียวกันความถี่เดียวกัน การเพิ่มโหลดจะค่อยทำจนครบโหลด 100%
จากขั้นตอนทั้งหมดที่เล่ามานี้ เราจะมีจุดเสี่ยงในขั้นตอนต่างๆ ดังนั้นผู้ใช้ไฟฟ้าเองถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นการใช้ไฟฟ้าไม่ควรนำโหลดขนานใหญ่ๆเข้าระบบ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อขั้นตอนการนำระบบกลับคืนได้ หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ นะครับ
#ไฟฟ้าดับ #Restoration #Blackout #Cold Load Pickup #Inrush Current #Reset ระบบ #Frequency Control #Voltage Control #Black start #Ferranti Effect #VAR Charging
#ระบบส่งไฟฟ้าและการควบคุมการจ่ายไฟ
โฆษณา