29 ก.ค. 2020 เวลา 04:55 • ประวัติศาสตร์
ทำไมจึงเรียกพระปางยืนศิลปะคันธารราฐว่า "ปางขอฝน"
2
แรกเริ่มเรื่องนี้เกิดจากว่าได้เห็นพระบูชาปางยืนศิลปะล้อยุคคันธารราฐ ของวัดพระปฐมเจดีย์ ปี 2476 ถูกเรียกกว่าพระปางขอฝน ไอ้เราก็เกิดข้อสงสัยจึงไปค้นหาที่มีว่าเหตุอันใดปางดังกล่าวจึงถูกเรียกเช่นนี้
1
พระปางขอฝน วัดพระปฐมเจดีย์ ปี 2476
ซึ่งต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า พระพุทธรูปศิลปะคันธารราฐ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกของโลก ได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีกเมื่อคราวพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย(เป็นเกาะทางใต้ของกรีก ซึ่งขณะนั้นทรงอิทธิพลเหนือกรีก) กรีฑาทัพมาทำสงครามกับอินเดียและสามารถยึดอินเดียตอนเหนือไว้ได้ โดยเฉพาะแคว้นคันธาระ ที่เป็นแคว้นใหญ่ ดังนั้นศิลปะที่พบบริเวณนั้น เมื่อได้รับอิทธพลจากกรีกจึงรวมเรียกว่าคันธารราฐนั่นเอง
โดยลักษณะศิลปะคันธารราฐ จะมีพระพักตร์รูปไข่ พระเนตรโต พระนาสิกโด่ง ใบหน้าคล้ายฝรั่งนั่นเอง พระเกศาเป็นมวยผม พระวรกายใหญ่ล่ำ จีวรริ้วสวยงาม นิยมอยู่ในปางยกพระหัตถ์ขวาคล้ายกวักมือ และผายพระหัตถ์ซ้าย มีทั้งปางนั่งและยืน
พระศิลปะคันธารราฐ
ต่อเมื่ออุษาคเนย์รับอิทธิพลพุทธศิลป์จากอินเดียช่วงแรกในยุคทวารวดี ได้ล้อเอาศิลปะคันธารราฐมาด้วย จึงสร้างพระที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ดังปรากฏเป็นพระศิลาเขียวและพระศิลาขาวทั้ง 4 องค์ที่ค้นพบที่วัดพระทุ่งพระเมรุ จ.นครปฐมในสมัยขุนหลวงพระงั่ว กษัตริย์อยุทธยาองค์ที่ 3 ที่ได้ชักลากไปอยุธยาในคราวนั้น ปัจจุบันได้แยกกันประดิษฐานที่นครปฐม 2 องค์ อยุธยา 2 องค์ และกรุงเทพมหานครอีก 1 องค์
พระศิลาขาว ปางคันธารราฐ สร้างสมัยทวารวดี จังหวัดนครปฐม
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงกลับจากเสด็จเยือนประเทศอินเดีย ได้มีพระราชประสงค์ให้สร้างพระศิลปะคันธาราฐปางยืนขึ้นเพื่อใช้ในการขอฝนให้น้ำท่าบริบูรณ์ดี ซึ่งทำให้คำว่าพระคันธารราฐในประเทศไทยมิได้หมายถึงเฉพาะศิลปะเท่านั้น แต่กลายเป็นคำเรียกพระปางยกพระหัตถ์ขวาและผายพระหัตถ์ซ้ายที่มีการล้อศิลปะคันฐารราฐว่าเป็นปางคันธารราฐไปด้วย
พระปางคันธารราฐ ที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง
ในส่วนที่ว่าทำไมรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง รวมถึงเหตุใดจึงได้ชื่อว่าพระปางขอฝน ก็มาจากตำนานเมืองคันธาระนั่นเอง โดยเล่ากันมาว่าก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแพร่เข้ามาในเมือง ได้มีพญานาคตนหนึ่งชื่อว่าอรวาล เป็นผู้ดูแลการให้น้ำแก่เมือง แต่นาคอรวาลมิได้ตั้งตนอยู่ในศีลในธรรม มันจะให้น้ำมากไปหรือน้อยไปเสมอ เป็นเหตุให้เมืองคันธาระประสบปัญหาน้ำแล้งหรือท่วมอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งเมื่อพระศาสดาได้สั่งสอนศาสนาเข้ามาในเมือง พญานาคอรวาลได้หันมานับถือพุทธศาสนา ทำให้ถือในธรรมตามตถาคต และหลังจากนั้นน้ำท่าของเมืองคันธาระก็ไม่เคยประสบปัญหาใดๆ อีกเลย พระพุทธรูปศิลปะคันธารราฐจึงเป็นสัญลักษณ์ของการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลและแต่พอดี เมื่อรัชกาลที่ 5 ได้ทรายความเชื่อจากชมพูทวีปจึงรับสั่งให้หล่อพระคันธารราฐขึ้นมานั่นเอง เพราะสยามเป็นประเทศกสิกรรม การที่ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาลและแต่พอดีจึงมีความสำคัญเช่นกัน เมื่อความนี้เผยแพร่ออกไปคนจึงได้นิยมสร้างเลียนแบบ และได้เรียกเอาง่ายๆ ว่าพระปางขอฝนแทนคำว่าปางคันธารราฐนั้นเอง
ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ศิลปะวัฒนธรรม เว็บไซต์นิตยสารพระเครื่องท่าพระจันทร์ เป็นต้น ขออนุญาตนำมามช้เพื่อการศึกษา
โฆษณา