10 ต.ค. 2020 เวลา 13:42
ความหมายที่แท้ของกฏเมอร์ฟี่
“ถ้ามันมีโอกาสผิดพลาด มันก็จะเกิด!”
1
บางคนอาจจะรู้จักกฏนี้มาจากหนังเรื่อง Interstellar หรือ ได้ยินจากที่ทำงาน โดยเฉพาะสายยานยนต์ หรือ ชิ้นส่วนเครื่องบิน ประโยคค่อนข้างมีความเป็นแง่ลบเล็กๆ ซึ่งชวนให้สงสัยว่าประโยคแบบนี้ มันจริงเหรอ แล้วเราจะปล่อยทุกอย่างให้เกิดขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลยเหรอ?
ผมจึงไปทำการหาข้อมูลเพิ่มเติมมาเล็กน้อย
ถ้าย้อนไปดูในหน้ง Interstellar จะสังเกตุว่าผู้เป็นพ่อกล่าวแย้งกับประโยคนี้นิดๆ แต่ก็ไม่ได้ถึงกับบอกว่ามันไม่จริง
ผู้เป็นพ่อ แก้ประโยคกฏของเมอร์ฟี่เหลือเพียง อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
▪️ปกติแล้ว แล้วกฏของเมอร์ฟี่เอาไว้ใช้ตอนไหน?
ล้างรถใหม่ๆแล้วต้องเจอกับฝนตกทันที หรือใครก็ตามเขียน BD ดราฟเอาไว้แล้วลืมเซฟ ดันไปปิดก่อน (ใช่ครับ มันเคยเกิดขึ้นกับผม 😢) กรณีแบบนี้บางคนจะพูดขึ้นมาว่า "whatever can go wrong will go wrong" ผมว่าภาษาไทยสำหรับภาษิตนี้น่าจะรูปประโยคที่เราใช้กันบ่อยๆว่า "นั้นงัย...ว่าแล้ว" (ทั้งๆที่จริงอาจไม่เคย "ว่า" มาก่อนเลย)
ที่น่าสงสัยเล็กๆคือ เวลาไป search คำนี้ใน google จะพบว่ามีรูปประโยคจะแตกต่างกันไปเล็กๆน้อยๆ (ไม่เหมือนสุภาษิตทั่วไปที่มักจะเป๊ะๆ) ตามแต่ว่าเราไป search จากที่ไหน เช่น
"หากว่ามันมีวิธีการที่จะทำให้ผิดพลาด มันก็จะเกิดขึ้น"
"ทุกสิ่งที่สามารถผิดพลาด จะผิดพลาด”
"ถ้ามีโอกาสที่จะผิด 1 ในล้าน ผู้ช่วยผมจะหามันเจอ"
หรือถ้าจากภาษาอังกฤษก็จะเช่น
"Whatever can go wrong will go wrong"
"if there is wrong way to do something, someone will do it"
▪️ภาษิตนี้มันมีที่มาที่ไปยังงัย
มีเวปไซด์ของ Murphy law เอาไว้เฉพาะเลย แต่สรุปคร่าวๆสำหรับที่มาที่ไปคือ
ปี คศ 1949 Edward A. Murphy Jr. ตอนนั้นเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานอยู่สังกัดหน่วยงานการบินของ กองทัพสหรัฐ หนึ่งในโครงการที่เขาต้องทำคือ การทดสอบหาค่า g* (ความเร่ง)
ที่มนุษย์สามารถทนได้
* ค่าg ในที่นี่คืออัตราเร่งความเร็วที่เปลี่ยนไปของเครื่องบิน ซึ่งมันจะเกิดการสั่นค่อนข้างรุนแรง ในตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่ามนุษย์ทนได้เท่าไหร่ แต่มันจำเป็นต้องใช้ในการออกแบบเครื่องบิน
ในการวัดค่า g สมัยนั้น เขาต้องทำหลายอย่างและหนึ่งในนั้นคือการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับค่า g นี่เอง ซึ่งในตอนนั้นจำเป็นต้องใช้ถึง 4 เส้น และคุณ Murphy ได้ทำการเขียนวิธีการติดตั้งเซนเซอร์เอาไว้อย่างละเอียด ก่อนจะให้ผู้ช่วยของเขาเป็นคนทำหน้าที่นี้
ทว่าระหว่างการทดสอบ Murphy ก็ต้องพบกับความแปลกใจ ค่าที่อ่านได้จากการทดสอบเพี้ยนไปและเขาคิดว่าเขาทำการทดลองผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะพยายามแก้ไขอย่างไรก็ยังไม่ได้ผลการทดลองอย่างที่เขาคิด เขาจึงเริ่มตรวจสอบการต่อสายวัดค่า g ที่ผู้ช่วยเขาเป็นคนติดตั้ง
ปรากฏว่าเซนเซอร์ 4 เส้นนั่น ถูกต่อเข้ากับตัวอ่านสัญญาณผิดวิธี! และไม่ใช่เส้นเดียว มันผิดสลับกันหมดทั้ง 4 เส้น และนั้นเป็นสาเหตุทำให้การอ่านค่าการทดลองที่ผ่านมาเพี้ยนทั้งหมด
เช้าวันรุ่งขึ้น เขาคงยังอารมณ์บูดอยู่ เมื่อเพื่อนร่วมงานสังเกตุและถามไถ่เขาได้ตอบเชิงจิกกัดผู้ช่วยของเขาไปว่า
"if there is a wrong way to do something, then someone will do it."
(ถ้ามันมีวิธีการที่ผิดในการทำสิ่งต่างๆ จะมีคนใช้วิธีนั้น)
ที่ละเล็กละน้อย ประโยคนี้ถูกใช้ต่อๆกันมา อาจถูกดัดแปลงไปบ้างตามแต่วาระของผู้นิยมใช้ แต่กลายมาเป็นภาษิตในวงการวิศวกรรมโดยเฉพาะการบิน รถยนต์ เป็นต้น
คนนอกวงการวิศวกรรมก็เริ่มนิยมใช้ประโยคภาษิตนี้บ้าง ส่วนใหญ่ใช้ไปในเชิงตัดพ้อต่อ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเช่น เวลาทำขนมปังหล่น มันมักจะเอาหน้าที่ทาเนยหล่นเสมอ
▪️แล้ว...ถ้าอะไรมันจะเกิด มันก็ต้องเกิด...อย่างนั้นเหรอ
เรื่องนี้ถูกปฏิเสธแบบมีการทดลองที่ชัดเจนจนได้รางวัลในปี 1996,
Robert A.J. Matthew นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการพิสูจน์ในกรณีของเวลาที่ขนมปังหล่น มันจะเอาหน้าที่ทาเนยคว่ำใส่พื้นเสมอว่าไม่ใช่เรื่องของดวงชะตา อะไร เป็นเรื่องที่คำนวนได้ทางฟิสิกส์ล้วนๆ
▪️วิธีกำราบกฏเมอร์ฟี่
เมื่อที่มาของกฏของเมอร์ฟี่ มาจากอุตสาหกรรม วิธีกำราบมันก็มาจากแหล่งเดียวกันเช่นกัน อุตสาหกรรมการบินและ ยานยนต์ ต่างก็มีวิธีการกำจัดความเสี่ยงของความผิดพลาดต่างๆ เรียกว่า "FMEA" (Failure Mode Effect Analysis) ซึ่งก็คือการวิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดทั้งหมด และรวมไปถึงแนวทางการแก้ไขป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้
1
▪️โดยสรุป
กฏของเมอร์ฟี่ เป็นเพียง "ภาษิต" ที่ถูกใช้เวลาเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปอย่างที่คิด แม้ว่าจะคิดว่ามีวิธีป้องกันเอาไว้อย่างดีแล้วก็ตาม
อย่างไรก็ตามมันเป็นเพียงคำภาษิต และไม่ได้หมายความว่าอะไรที่มันจะเกิด มันต้องเกิดเสมอไป หากมนุษย์อย่างเรารู้ล่วงหน้า และตระหนัก การเตรียมพร้อมเอาไว้คือการป้องกันการเกิดนั้นๆอย่างดีที่สุด
▪️แถมท้าย
ค่า g ที่คุณ Murphy ต้องการหา ท้ายที่สุดแล้ว เราได้มาไม่กี่สิบปีก่อน และผมไปหามาแปะดังตารางข้างล่างนะครับ
วิธีการดูก็คือ
- ดูว่าเป็นความเร่งแนวไหน เช่น แนวดิ่งขึ้นไปบนฟ้าก็แกนสัน้ำเงิน
- แกน Y เป็นค่า g ส่วนแกน x เป็นค่าเวลาที่เราทนความเร่งนั้นได้
- ยกตัวอย่างเช่น คนทั่วๆไปสามารถทนแรง g ที่ประมาณ 9g ได้สัก 3 วินาทีครับ
ขอบคุณที่อ่านครับและขอให้สนุกกับวิทยาศาสตร์
โฆษณา