Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เจ๊ะเหหวานเจี๊ยบ (ตูน ตาปีนิ)
•
ติดตาม
30 ก.ค. 2020 เวลา 03:42 • การศึกษา
เส้นแบ่งเขตภาษา คือคำว่า "อร่อย"!!!
เส้นแบ่งเขตแดนหรือพื้นที่ต่างๆ อาจจะเป็นแม่น้ำ หรือภูเขา แต่เส้นแบ่งเขตภาษาระหว่างล้านนากับสุโขทัย คือความอร่อย นะจ๊ะ
ภาษาเจ๊ะเหนั้นเป็นสับเซ็ตของภาษาสุโขทัย เพราะมีวิวัฒนาการมาจากสำเนียงสุโขทัยโดยตรง จึงทำให้ภาษาเจ๊ะเหกลายเป็นภาษาถิ่นสำเนียงเดียวในภาคใต้ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทยถิ่นกลาง พูดง่ายๆ คือ ภาษาเจ๊ะเหก็คือภาษาสุโขทัย แต่มีสำเนียงแบบเจ๊ะเหค่ะ
เพื่อนๆ ทราบไหมคะว่า ภาษาถิ่นสุโขทัยนั้น ถือเป็นตัวชี้วัดความเป็นมรดกโลกอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะสำเนียงสุโขทัย กับสำเนียงล้านนานั้น มีความคล้ายคลึงกันมากๆ เพราะฉะนั้นเส้นแบ่งเขตภาษาระหว่างสำเนียงสุโขทัยกับสำเนียงล้านนา จึงแบ่งกันในพิ้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ค่ะ
ซึ่งใน 3 จังหวัดนี้ แต่ละพื้นที่ก็มีการใช้สำเนียงภาษาถิ่นแตกต่างกันออกไป ทั้งสำเนียงสุโขทัย และสำเนียงล้านนา
ทางสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย บอกว่าให้ใช้คำว่า “อร่อย” เป็นตัวตรวจสอบค่ะ
คำว่าอร่อยในสำเนียงสุโขทัยจะพูดว่า "อร๋อย"
ภาษาสุโขทัยพูดว่า "อร๋อย"
ส่วนคำว่าอร่อยในสำเนียงล้านนาจะพูดว่า "ลำ" ลำแต๊แต๊เจ๊า อร่อยมากกกกกก
เพราะฉะนั้นถ้าหมู่บ้านไหนก็ตาม ในจังหวัดตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ พูดว่า "ลำ" ก็หมายความว่าชุมชนนั้นเป็นชุมชนภาษาถิ่นล้านนา
แต่ถ้าหมู่บ้านไหนพูดว่า อร๋อย ก็หมายความว่าชุมชนนั้นเป็นชุมชนของอาณาจักรสุโขทัยดั้งเดิมค่ะ หมู่บ้านเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.สุโขทัย แต่ยังคงดำรงสำเนียงภาษาสุโขทัยมาได้จนถึงปัจจุบัน
ใครที่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัด นี้ ลองเช็คดูนะคะว่า หมู่บ้านตัวเองใช้คำว่า ลำ หรือว่า อร๋อย
ส่วนภาษาอีสานเค้าชัดเจนอยู่แล้ว คำว่าอร่อย ก็คือแซ่บแซ่บ นี่แหละ อร่อยมากๆ พูดว่า แซ่บอีหลี เพราะสำเนียงภาษาอีสานได้รับอิทธิพลมาจากภาษาถิ่นชาวลาวฝั่งอาณาจักรลาวล้านช้าง
คราวนี้หันกลับมามองภาษาเจ๊ะเหกันบ้าง ซึ่งชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาสุโขทัย เพราะฉะนั้นเราจึงใช้คำว่าอร่อย แต่ไม่ใช้คำว่า ลำ เพียงแต่สำเนียงและการผันวรรณยุกต์จะต่างจากภาษาสุโขทัยค่ะ
ภาษาสุโขทัย เสียงเอก จะผันเป็นเสียงจัตวา ส่วนเสียงจัตวา จะผันเป็นเสียงเอก
เช่น คำว่า เสือ สำเนียงสุโขทัยจะออกเสียงเป็น เสื่อ (เข้าป่าระวังเสื่อดุ๊)
ส่วนคำว่าเสื่อ จะออกเสียงเป็น เสือ (เลี้ยงดูปูเสือ)
อร่อย ก็เลยออกเสียงเป็น อร๋อย
ในขณะที่ภาษาเจ๊ะเหนั้น เสียงเอก จะผันเป็นเสียงตรี
เพราะฉะนั้นคำว่า อร่อย ในภาษาเจ๊ะเห จึงออกเสียงว่า แอร๊อย ซึ่งในสำเนียงเจ๊ะเหแต่ละพื้นที่ก็พูดไม่เหมือนกันนะคะ บางหมู่บ้านพูดว่าแอร๊อย ขณะที่บางหมู่บ้านพูดว่าอิร๊อย หรืออาจจะพูดสั้นๆ ว่าร๊อย เฉยๆ ก็มีค่ะ
ในขณะที่จังหวัดอื่นๆในภาคใต้จะออกเสียง หร้อยๆ หร้อยจังหู้
ยกตัวอย่างอีกหนึ่งคำให้เห็นกันชัดๆ คำว่าแกงไก่ใส่มะเขือพวง ภาษาสุโขทัยจะออกเสียงว่า แกงไก๋ใส๋มะเขื่อพวง แต่ในภาษาเจ๊ะเหจะออกเสียงว่า แก๋งก๊ายส๊ายโหลกเขือพวง
ภาษาสุโขทัย
ภาษาเจ๊ะเห
นี่คือความอร่อย เอ้ย!! ความน่ารักของภาษาถิ่น ที่เป็นเสน่ห์ของแต่ละพื้นที่ค่ะ ใครอยากชมคลิปเต็มๆ คลิกที่ลิงก์นี้ได้เลยนะคะ
https://www.youtube.com/watch?v=INPJ6U32l_g
ใครมีคำถามหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถพิมพ์ในช่องคอมเมนต์ใต้โพสต์นี้ได้เลยค่ะ วันนี้ตูนลาไปก่อน จนกว่าจะพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ
บันทึก
7
8
2
7
8
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย