30 ก.ค. 2020 เวลา 09:34 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แนวรับและแนวต้าน ตอนที่ 7 - Gap กระโดดที่ว่างของราคา
1 ใน 8 สิ่งที่ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน
ก่อนอื่นเลย เรามาทบทวนกันก่อนว่า Gap คืออะไรและเราจะใช้ Gap มาเป็นแนวรับและแนวต้านได้อย่างไร
Gap คือ ที่ว่า หรือระดับราคาที่ไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น เนื่องจากราคาได้ทำการ “กระโดด” ขึ้นหรือลงทันทีจากราคาปิดก่อนหน้านี้ Gap สามารถเกิดได้ในทุกๆ Time Frame แต่เราจะสังเกตุเห็นได้บ่อยในกราฟรายวัน ซึ่งโดยมากจะเกิดจากการที่มีข่าวหรือเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดปิด และในวันถัดไปทำให้มีผลต่อการอยากซื้อขายที่รุนแรงเพราะนักลงทุนจำนวนมากส่งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าพร้อมกันก่อนตลาดเปิด ทำให้เกิด Gap ขึ้นมานั่นเอง
ช่องว่างเหล่านี้เกิดจากจิตวิทยาของนักลงทุนที่มีความต้องการจะซื้อหรือขายที่สูงกว่าปกติ เช่น อาจมีข่าวดีจากบริษัทที่งบการเงินออกมาดีเกินคาด ในกรณีนี้หุ้นของบริษัทอาจจะเปิด Gap ขี้นในวันถัดไปซึ่งระดับราคาของ Gap สามารถนำมาใช้เป็นแนวรับแนวต้านที่มีนัยได้ด้วย
Gaps สามารถแบ่งออกได้กว้างๆ เป็น 3 ประเภท
1. Breakaway gap
2. Continuation gap
3. Exhaustion gap
คราวนี้เราจะนำ Gap มาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งของแนวรับและแนวต้าน ซึ่งในทางจิตวิทยา ถ้าหากราคาเปิดกระโดดขึ้นจนเกิดที่ว่างหรือ Gap ด้านล่างของราคา แสดงว่ามีคนต้องการซื้อหุ้นตัวนี้มากๆ ซึ่งถ้ายังมีคนซื้อหุ้นตัวนี้อย่างต่อเนื่อง ราคาหุ้นก็ไม่ควรกลับลงมาบริเวณที่ว่างนี้จนกว่าจะเกิดการขายหุ้นนี้อย่างรุนแรง ทำให้เกิดเป็นแนวรับขึ้นมานั่นเอง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคากระโดดลงจนเกิดที่ว่างหรือ Gap ด้านบนของราคา แสดงว่ามีคนต้องการขายหุ้นตัวนี้มากๆ ซึ่งถ้ายังมีคนขายหุ้นตัวนี้อย่างต่อเนื่อง ราคาหุ้นก็ไม่ควรกลับขึ้นมาบริเวณที่ว่างนี้จนกว่าจะเกิดการซื้อหุ้นนี้อย่างรุนแรง ทำให้เกิดเป็นแนวต้านขึ้นมานั่นเอง
จากคำอธิบายด้านบน ทำให้แนวรับและแนวต้านโดยใช้ Gap เป็นดังตัวอย่างภาพกราฟด้านล่าง
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
ภาพที่ 3
ภาพที่ 4
สามารถอ่านบทความอื่นๆเกี่ยวกับกลยุทธ์ Run trend ได้ที่นี่ครับ
โฆษณา