Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Kate MewMew
•
ติดตาม
31 ก.ค. 2020 เวลา 01:16 • ความคิดเห็น
กรณี นกแอร์ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง
สมาชิกถามมากันพอสมควรก็ขออธิบายทีเดียวเลยละกัน
ณ ปัจจุบัน นกแอร์ยังไม่ล้มละลายนะคะ !! และ
ยังคงเปิดดำเนินการโดยปกติ
"การฟื้นฟูกิจการ" ไม่ใช่ "การล้มละลาย" หรือการที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เป็นคนละเรื่องกัน ต้องแยกกันให้ดี
แต่...การฟื้นฟูกิจการ ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย ดังนั้นเวลาจะขอยื่นฟื้นฟูก็ต้องร้องขอต่อศาลล้มละลายกลางค่ะ ให้ศาลช่วยพิจารณา ไกล่เกลี่ย ฯลฯ
หลายคนเลยเข้าใจผิดกัน ว่าการยื่นขอฟื้นฟูกิจการคือการยื่นขอล้มละลาย ซึ่งมันไม่ใช่ค่ะ
แต่..โอเค สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยคือ นกแอร์ มีหนี้สินมหาศาลมากกก ราวๆ2หมื่นล้านได้ (ตัวเลขคร่าวๆ ไม่ชัวร์) ด้วยหนี้สินระดับนี้ กับไซด์ของกิจการ สถานะทางการเงิน ถ้าถูกฟ้องคดีมาก็ต้องเข้าสู่สถานะ ล้มละลาย แน่นอนค่ะ นกแอร์จึงต้องยื่นขอฟื้นฟูต่อศาลก่อนเหมือนที่การบินไทยทำนั่นแหละค่ะ เพื่อให้ยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้ (แต่ถ้าโดนฟ้องก็ยังยื่นขอฟื้นฟูได้เช่นกัน)
.
ทีนี้มาเข้าใจ การล้มละลาย กันค่ะ ว่ามันคืออะไร ?
"การล้มละลาย" คือ การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีหนี้สินมากเกินกว่าจะชำระได้
กรณี บุคคลธรรมดา คือ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
กรณี นิติบุคคลไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
ทีนี้ถ้าโดนฟ้องและถูกตัดสินล้มละลาย ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันที แล้วลูกหนี้จะไม่มีสิทธิ
กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนได้เลย ยกเว้นแต่ทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น เพราะมันจะไปสู่ขั้นตอนของการสืบทรัพย์และจัดสรรปันส่วนทรัพย์สินต่างๆคืนชำระให้แก่เจ้าหนี้
1
หลักการสำคัญของข้อกฏหมายนี้ก็มีไว้เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการจัดสรรแบ่งปันทรัพย์สินของลูกหนี้ และ ทำให้ลูกหนี้ที่สุจริตได้มูฟออนกันต่อไป รับโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ สร้างกิจการใหม่ได้
ล้มละลาย = ยุติกิจการ
.
ส่วน... "การฟื้นฟูกิจการ"
หลักการก็คือ เพื่อที่ยังคงทำมาหากินต่อไปได้ (going concern) ซึ่งมุมนี้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ก็สำคัญนะคะ เพราะมันมีผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภคและลูกจ้างบริการเช่นกัน (อีกทั้งลูกหนี้มีโอกาสได้เงินคืนเต็มจำนวนและเกิดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจต่อไป) แต่ก็ต้องดู ต้องพิจารณาศักยภาพของตัวกิจการด้วยว่า ไปต่อไหวไหม หรือควรพอแค่นี้ดีกว่า ก็ไม่ง่ายเลยค่ะในการตัดสินตรงนี้
หลักเกณฑ์ในการยื่น ขอฟื้นฟูกิจการ (มาตรา90/3และ90/5) มีดังนี้
- ลูกหนี้เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดบริษัทมหาชนหรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
- ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ จำนวนหนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
- ลูกหนี้มีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการและมีเหตุอันสมควร
- ลูกหนี้ต้องไม่ศาลถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
(ไม่โดนตัดสินล้มละลายนั่นแหละ)
- ลูกหนี้ยังไม่ถูกศาลหรือนายทะเบียนเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล
ทีนี้ถ้าศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้จะได้รับสภาวะพักการชำระหนี้ทันที (automatic stay)
จนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานตามแผน(ตรงนี้ไม่แน่ใจว่ามีกรอบระยะเวลา 5ปีรึไม่) หรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
อย่างที่เคทเคยย้ำเสมอว่า หัวใจหลักของการทำธุรกิจ คือ สภาพคล่อง( liquidity)
ดังนั้น "สภาวะการพักการชำระหนี้"
หลักการมันก็เป็นไปเพื่อให้ ยังคงมีสภาพคล่องในธุรกิจเกิดขึ้นอยู่ ไม่ตึงหรือบีบรัดจนเกินไป และไม่ต้องกังวลว่าธุรกิจหรือกิจการจะถูกเรียกให้ชำระหนี้หรือถูกฟ้องร้อง ในช่วงเวลานั้นๆ
แน่นอนว่าการเป็นบริษัทหรือองค์กร การยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ก่อนที่จะโดนฟ้องล้มละลาย ย่อมส่งผลดีต่อภาพลักษณ์มากกว่า อีกทั้งเป็นการแสดงความจริงใจในทางหนึ่งในการที่ต้องการจะชำระหนี้ด้วย
ประมาณนี้ค่ะ ใครมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมก็แชร์บอกกล่าวกันได้นะคะ หากผิดพลาดอะไรก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี่ด้วยค่ะ
มิ้วๆ
41 บันทึก
131
2
72
41
131
2
72
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย