31 ก.ค. 2020 เวลา 09:41 • การศึกษา
หัวข้อ กฎหมาย กับความรู้สึก ที่บังเอิญมาเจอกันได้ไง
บังเอิญได้อ่านข้อความจากเพจของคนหนึ่ง ประมาณว่า ไม่ใช้ความรู้สึกนำในการเรียนการสอนกฎหมาย ด้วยความเคารพนะครับ ผมว่ามันน่าจะคนละเรื่องกันนะครับ ความรู้สึก มาจากจิตใจ กฎหมาย คือ กติกาลายลักษณ์อักษร
และให้บังเอิญว่าเหตุการณ์ตอนนี้ ความรู้สึกของชาวบ้านและประชาชน ที่มีต่อดุลยพินิจในการใช้กฎหมายของผู้บังคับใช้กฎหมาย หากมีนักกฎหมายเขาออกมาแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วย จะบอกว่าเขาใช้ความรู้สึก หรือครับ งงจังเลย
โดยหลักการทางวิชาการ หากบทบัญญัติแห่งกฎหมายชัดเจน ไม่จำเป็นต้องตีความ ทุกอย่างก็ควรว่าตามกฎหมายครับ แต่หากเป็นกรณีที่กฎหมายเปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจ เช่น สั่งฟ้อง หรือไม่สั่งฟ้อง โดยการชั่งน้ำหนักพยาน หากเขาไม่เห็นด้วยกับการใช้ดุลยพินิจนั้น และเอาเรื่องคดีความดังกล่าวที่เป็นข่าวดังมาสอน จะไปตีตราว่าเขาใช้ความรู้สึกนำในการสอนกฎหมาย คงไม่น่าจะใช่ และน่าจะยิ่งไปกันใหญ่นะครับ ควรแยกประเด็นในการคิดให้ดี นะครับ การตีตราคนไม่เห็นด้วยกับความเห็นทางกฎหมาย แล้วไปบอกเขาว่าใช้ความรู้สึก ฉะนั้นควรสู้โดยใช้เหตุผล โต้แย้งกับเหตุผล น่าจะเป็นวิถีทางของนักกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามนักกฎหมาย ก็เป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ รัก โลภ โกรธ หลงได้ แต่กฎหมายคือตัวอักษรในกระดาษ เราแยกความรู้สึกออกจากคนเรียนกฎหมายได้หรือครับ อยู่ฝ่ายนายจ้าง ก็จะเข้าข้างนายจ้าง หาเหตุหาผลให้นายจ้าง เพราะเขาให้เงินเรา โดยไม่สนใจความรู้สึกตนเองที่รู้อยู่แล้วนายจ้างผิด หรือครับ
ส่งท้าย การเรียนการสอนกฎหมาย หากจะสอนแบบไม่ใช้ความรู้สึก อาจารย์จะสอนคุณธรรม จริยธรรม ความดี ความถูกต้อง โดยไม่ใช้ความรู้สึกแห่งผิดชอบ ชั่วดี ได้หรือครับ
โฆษณา