31 ก.ค. 2020 เวลา 12:18 • ความคิดเห็น
หายไปนานสำหรับ บล็อคของผม ว่าจะมาย่อยแนวคิดมุมมองจากการอ่านหนังสือสักหน่อย ซุ่มอ่านไปตั้งนาน (หนังสือสามก๊ก) 1 ใน วรรณกรรมโปรดของผมเลย
ผู้อ่านที่เคยติดตามบางท่านอาจจะลืมผมไปแล้ว บางท่านอาจจะจำได้
อย่างไรก็ตามแต่ ถ้ามีคนจำได้ผมก็ดีใจมากครับ
บางท่านอาจสงสัยว่าหายไปไหน ?
ผู้เขียนไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ แต่ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของผู้เขียนต้องเลี้ยงลูกน้อย ( แน่นอน มีลูกแล้ว ตอนนี้ 3 เดือนกับอีก 20 วัน ) + กับตัวผู้เขียนติดอ่าน
หนังสือวรรณกรรม อย่างหนัก.....
ถ้าถามว่า วรรณกรรมเรื่องอะไรละก็ พึ่งอ่าน 3 ก๊กจบไปรอบที่ 2 มันทำให้ฉุกคิดถึง
สำนวนที่ว่า "ใครที่อ่านสามก๊กจบ 3 รอบครบไม่ได้" คำๆนี้ทำให้ผมรู้สึกว่า
1.จะจริงก็ต่อเมื่อคุณผู้อ่านนำความรู้ที่ได้จากเรื่องนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ทั้งนี้
หากใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนแล้วทำให้คนอื่นเดือดร้อน นั่นย่อมไม่ถูกต้อง ในมุมของจริยธรรม และ ศีลธรรม แต่หากจะมองอีกมุมหนึ่งในความคิดนี้แล้วละก็ ก็ไม่ได้ผิดอะไรที่จะใช้ประโยชน์เพื่อตนเอง หากแต่คนที่ถูกหลอกนั้นต่างหากที่ขาดความรู้จึงถูกหลอก (แนวคิดนี้ส่วนตัวผู้เขียนเองก็มองว่า ก็ถูกเช่นกัน เพราะเราไม่รู้จึงถูกหลอก
แต่เราสามารถเรียนรู้ได้ เพื่อที่จะป้องกัน " อวิชา" ความไม่รู้นั่นเอง) เปรียบได้กับตัวเหล่ากุนซือทั้งหลายที่ได้ร่ำเรียนวิชามามากมาย แต่หามีประโยชน์เท่ากุนซือความ
คิดที่ลึกซึ้งอย่าง ขงเบ้ง สุมาอี้ กุยแก โลซก ซุนฮก เกียงอุย จิวยี่ กาเซี่ยง บังทอง ลกซุน ตันก๋ง เป็นต้น กุนซือเหล่านี้ปรับความคิดพลิกแพลงตามสถานการณ์ได้อย่างไม่คาดคิด จนเอาชนะศัตรูได้
2. ตัวผู้เขียนมองว่า การที่เราอ่านสามก๊กจบนั้น มันทำให้เรามีมุมมองที่เปลี่ยนไปในการมองบุคคล และ สถานการณ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะเป็นประโยชน์มากแค่ไหน ขึ้นอยู่
กับการประยุกต์ใช้ของแต่ละบุคคลให้เข้ากับสถานการณ์ และ ตัวบุคคล
เหมือนกับคราวที่เล่าปี่ใกล้ตายแล้วสั่งเสีย กับ ขงเบ้งไว้ว่า "อันม้าเจ๊กคนนี้เป็นแต่
คนเก่งความรู้ตำรา ชอบคุยโว อันจะให้ทำการใหญ่นั้นย่อมเสียการอย่างแน่นอน"
(ภายหลังขงเบ้งให้ไปรักษาที่ตำบลเกเต๋งแล้วเสียทัพมา ทั้งนี้ม้าเจ๊กอาสาไปเอง
แล้วทำทันบนไว้ด้วยว่าจะยอมตายหากเสียทัพ สุดท้ายสมพรปากกับที่ตนได้อ้างไว้)
3. แต่ละคนย่อมมีเป้าหมายที่ตนแสวงหาเสมอ ทั้งนี้ อาจจะเปิดเผย และ ไม่เปิดเผย
เป้าหมาย คนที่เปิดเผยเป้าหมายย่อม ถูกคาดเดา และ ดักทางได้ง่ายกว่าคนที่ไม่เปิดเผยเป้าหมาย หรือ อำพรางเป้าหมายของตนเอาไว้ ดังเช่น
ที่เล่าปี่สู้อุสาห์ รักษาชื่อเสียงความดีของตนว่าเป็นผู้มีเมตตามาตลอด มองการใหญ่เสมอ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม แต่พอหลังจากการตายของกวนอู เล่าปี่เกิดความ
เศร้าโศกเสียใจอย่างยิ่ง ที่ปรึกษาทั้งหลายต่างทัดทาน มากมายสงบเพียงไม่กี่วัน
พอเตียวหุยรู้เรื่อง ขี่ม้ามาด้วยหนทางอันยาวไกล พอมาถึงวิ่งร้องไห้เข้าไปกอดเท้า
เล่าปี่ แล้วพูดว่า "พี่ใหญ่เป็นฉไนถึงได้ไม่แก้แค้นให้พี่รองเล่า ลืมความเป็นพี่น้องของพวกเราแล้วหรือ " เล่าปี่ได้ฟังดังนั้นจึงเกิดความแค้นชาวกังตั๋งขึ้นมาทันใด จึงสั่ง
ให้เตรียมจัดกองทัพจะไปโจมตีชาวเมืองกังตั๋ง ที่ปรึกษาทั้งหลายห้ามปรามไม่เป็น
ผล ขงเบ้งใช้อุบายจชักจูง ด้วยฤกษ์ดินฟ้าอากาศว่าไม่เหมาะก็แล้ว กล่าวถึงโจโฉว่าเป็นศัตรูข้อใหญ่ของแผ่นดินก็แล้ว เล่าปี่ก็ยังไม่ฟังดื้อดึงจนไปสู้กับชาวกังตั๋งจนแตกทัพมาที่ เมืองเป๊กเต้ แล้วเสียชีวิตลง....
4."ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูที่ยั่งยืน ทุกสิ่งล้วนตั้งอยู่ในเรื่องของผลประโยชน์ทั้งสิ้น"
บางคนอาจเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย
สำหรับคนที่เห็นด้วย ผมมองว่าประสบการณ์ในชีวิต และ สถานการณ์ที่คุณเจอมา
หลอมรวมให้คุณคิดแบบนั้นและหากคุณอ่านวรรณกรรม สามก๊กด้วยแล้วยิ่งเป็นการ
ตอกย้ำความคิดนี้ของคุณเช่นกัน จะเห็นได้จาก
4.1 ผลประโยชน์ ที่หากแคว้นวุ๊ยก๊ก กลืนแคว้นกังตั๋งได้ วุ๊ยก๊ก จะมีกำลังมากและ
สามารถกลืนแคว้น จ๊กก๊กได้อย่างง่าย
4.2 หากจ๊กก๊ก กลืนกังตั๋ง ได้ วุยก๊ก ก็จะตลบหลังกลืนจ๊กก๊ก ในขณะที่กำลังโจมตี
กังต๋งและกลืนกั๋งตั๋งไปในทีเดียว
4.3 หากจ๊กก๊กตีวุยก๊ก (ซึ่งกำลังตนน้อยอยู่แล้ว) ย่อมตีไม่แตก และอาจถูกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ไหวพริบไวกว่ากลืนก่อนก็เป็นได้
4.4หากกังตั๋งตีวุยก๊ก จ๊กก๊กย่อมรอให้ใครเพลี้ยงพล้ำก่อนก็ได้ค่อยรอ
รับผลประโยชน์ (นั่งบนภูดูเสือกัดกัน นายพรานรอเสือ1ตัวเพลี้ยงพล่ำจึงตลบหลัง
ทั้ง2 ตัวเลยทีเดียว )
ข้อคิดที่ได้ยังมีอีกมากมายที่ผู้เขียนคิดได้จากการอ่านเรื่องสามก๊ก แต่ ณ ตอนนี้ ผู้เขียนขอพักไว้ก่อน แล้ว จะมาย่อยให้อ่านใหม่นะครับ
หวังว่า แนวคิดของผมจะเป็นประโยชน์ให้ผู้อ่านได้นำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตน
นะครับ
ขอบคุณที่กดเข้ามาอ่าน กดติดตามเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
โฆษณา