3 ส.ค. 2020 เวลา 01:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทัศนะคติ "การเก็งกำไร"
โดยทั่วไปแล้ว นักเก็งกำไรส่วนใหญ่
จะมีความกลัวอยู่ 4 ชนิดใหญ่ๆ นั่นก็คือ
1. ความกลัวที่จะผิดพลาด
2. ความกลัวที่จะขาดทุน
3. ความกลัวที่จะพลาดโอกาสไป
4. คือความกลัวที่จะปล่อยให้กำไร หลุดลอยไป
ซึ่งผมพบว่า ความกลัวทั้ง 4 ชนิดนี้
เป็นตัวการหลักๆ ที่ทำให้เรา ทำในสิ่งที่ผิดพลาดในการเก็งกำไร ไปถึง 90 -95 % เลยทีเดียว
นักเก็งกำไร และนักลงทุนส่วนใหญ่
มักจะให้ความสำคัญ และความหมายกับการลงทุนแต่ละครั้งมากเกินไป
จึงเป็นการยากที่พวกเขาจะตัดขาดทุนออกมา
และยอมรับว่าพวกเขาผิดพลาดไป
ผลก็คือ พวกเขาพยายามหนีความจริงนั่นเอง
และการที่เราพยามหนีมันมากเท่าไหร่
นั่นยิ่งกลับทำให้ทุกอย่างแย่ขึ้นไปอีก
สิ่งที่เรากลัวนั้นไม่ใช่ตลาด
แต่สิ่งที่เรากลัวคือตัวของเรา
หรือพฤติกรรมของเราเอง
ซึ่งแม้ว่านักเก็งกำไรส่วนใหญ่ จะไม่ได้คิดถึงมัน
แต่การขาดความเชื่อมั่นนี้เอง คือตัวการปัญหา
ที่ทำให้พวกเขารู้สึกไม่มั่นใจในการลงทุน
โดยสิ่งที่ระบบการลงทุน หรือการเก็งกำไร
ที่อิงกับหลักการทาง Technical Analysis
คือการช่วยระบุพฤติกรรมต่างๆ ออกมา
ดังนั้น คุณจึงสามารถนำมันออกมาใช้
เพื่อหารูปแบบสถิติที่มีความน่าเชื่อถือนั่นเอง
คนแต่ละคนที่มีส่วนร่วมอยู่ในตลาดหุ้นนั้น
คือตัวแปรต่างๆ ของตลาด
ซึ่งแต่ละคนมีโอกาสที่จะทำให้ราคาเคลื่อนไหว
ไปในทางใดทางหนึ่ง
ซึ่งไม่มีทางเลยที่เราจะเข้าไปในจิตใจ
ของคนทุกคนที่มีส่วนร่วมในการซื้อ-ขาย
ในตลาดหุ้นได้
จริงๆ แล้วตลาดไม่สามารถ บังคับมุมมองของเรา
ในการแปลความหมายสิ่งที่เกิดขึ้น
แต่มันเกิดจากกลไกของจิตใจในตัวเรา
ซึ่งจะคอยควบคุมการรับรู้
และแปลผลสิ่งต่างๆ ของตัวเราเอง
สิ่งที่เราจะต้องทำเพื่อให้เกิดกำไรสม่ำเสมอ
ก็คือ การควบคุมการบวนการรับรู้
การแปลความหมายสิ่งที่เกิดขึ้น "โดยไร้ความกังวล"
ผู้คนส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจว่าความกลัวนั้น
นอกจากจะทำให้เราอ่อนแอลงไป
แต่มันทำให้มุมมองของเราแคบลงไป
ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ
ที่จะเข้ามาในทุกๆช่วงเวลานั่นเอง
สิ่งสำคัญก็คือ "การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน"
และดำเนินการซื้อ-ขาย อย่างเป็นระบบ
ไม่ใช่แค่ครั้ง หรือสองครั้ง
แต่คุณต้องทำแบบเดิมทุกครั้งจนเคยชิน
และเมื่อไหรก็ตามที่คุณสามารถ
ทำตามระบบได้โดยราบรื่น หรือไม่มีความลังเลใดๆ และไร้ซึ่งความกลัว เราก็จะสามารถลงทุนตามความคิดของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมองในส่วนความคิดสร้างสรรค์ของเรา ซึ่งเป็นส่วนที่จะสร้างลางสังหรณ์ หรือสัญชาติญาณของเราขึ้นมา ซึ่งมักจะขัดแย้ง กับส่วนของเหตุผลอยู่ประจำ เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ อยู่นอกกรอบของกระบวนการทางเหตุผลของเรา
ลางสังหรณ์ นั่นอาจจะถูกต้อง
แต่เนื่องจากมันไม่สามารถที่จะตัดสินใจได้ด้วยกระบวนการทางเหตุผล
แต่การที่เราจะเล่นหุ้นตามลางสังหรณ์ให้ได้กำไรสม่ำเสมอจึงเป็นไปได้ยาก
ดังนั้น เราจึงต้องนำส่วนของเหตุผล
มาใช้ร่วมกับความคิดสรรค์ของเรา
เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั่นเอง
หลายครั้งที่เราตัดสินใจผิดพลาด
เพียงเพราะใช้อารมณ์เพียงอย่างเดียว
"การฝึกฝนจนเคยชิน จึงเป็นหนทาง
ที่จะทำให้เราได้กำไร มากกว่าขาดทุน"
ขอให้เพื่อนๆ โชคดี และมีความสุขในการลงทุน
แล้วพบกันบทความถัดไป
ขอบคุณครับ😁😁😁
โฆษณา