2 ส.ค. 2020 เวลา 15:49 • ปรัชญา
อยู่กับชีวิตที่บัดซบ ไร้แก่นสาร...
ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ของ อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus)
พูดถึงนักปรัชญาตะวันตกคนหนึ่ง (ชาวฝรั่งเศส) ชื่ออัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus) ผมขอพูดถึงหนังสือเล่มสำคัญเล่มหนึ่งของเขาที่ซื่อ "The Myth of Sisyphus And Other Essays" ความคิดหลักในหนังสือเล่มนี้มีว่า หากพิจารณาดูชีวิตของเราดีๆแล้วเราจะเห็นว่าชีวิตนี้ ไร้แก่นสารโดยสิ้นเชิง
4
อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus)
กามูส์ เขาคิดคล้ายๆพระพุทธเจ้าโดยที่เขาได้อ่านพุทธศาสนาหรือไม่ ไม่แน่ใจ...แต่อย่างไรเสียเขาต้องรู้จักพุทธศาสนาแน่นอน เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาสำคัญศาสนาหนึ่งของโลกและมีอิทธิพลต่อนักคิดตะวันตกบางส่วนมาไม่น้อย รวมทั้งนักคิดฝรั่งเศสด้วย
5
ดูอย่างไรว่าชีวิตไร้แก่นสาร
ก่อนที่จะออกบวช พระพุทธเจ้าในฐานะเจ้าชายที่ใช้ชีวิตเสวยสุขอยู่ในวังได้สะสมความคิดในทำนองเดียวกันนี้เอาไว้ในใจมาก ท่านถามตัวเองว่าคนราอาจมีชีวิตที่แตกต่างกัน บางคนเป็นเศรษฐี บางคนเป็นยาจก บางคนเป็นเจ้า บางคนเป็นไพร่ แต่ความต่างเหล่านี้ก็เป็นเพียงพัสตราภรณ์ที่ห่อหุ้มความเหมือนกันของชีวิตที่แน่นอนจำนวนหนึ่งเอาไว้ อะไรคือความเหมือนกันที่ว่านั้น หลักๆก็คือ เมื่อเกิดมาแล้ว เราต้องแก่ชรา ต้องเจ็บป่วย และต้องตายไม่เพียงแต่เราเท่านั้นที่ตกอยู่ภายใต้สามัญลักษณะที่ว่านี้ บุคคล สัตว์ พืช หรือสิ่งของที่เรารักและหวงแหนก็ตกอยู่ภายใต้ความเหมือนกันที่ว่านี้ เมื่อสิ่งรักแตกดับหรือลาจากไป เราจะเป็นทุกข์...
2
เครดิตภาพ: https://www.kaodet.com
แต่ธรรมชาติก็ไม่โหดร้ายเกินไป เนื่องจากไม่ได้สร้างแต่ทุกข์ให้เราเท่านั้น หากแต่ได้สร้างสุขให้เป็นของกำนัลด้วย เมื่อเราทำงานใหญ่ลุล่วง เราจะสุขใจ... เมื่อคนที่เรารักเช่นลูกประสบความสำเร็จ เราจะชื่นใจ...
1
แต่พระพุทธเจ้าและกามูส์ก็เข้าใจว่าความสุขไม่ใช่สภาพพื้นฐานของชีวิต สภาพพื้นฐานของอะไรก็ตามแต่คือธรรมชาติที่ยืนยาวของสิ่งนั้น ไม่ต้องดิ้นรนหา หากแต่มีอยู่เสมออย่างมั่นคง ความมืดคือสภาพพื้นฐานของจักรวาล แสงจากดวงดาวเป็นของที่ผ่านมาแล้วก็จะผ่านไป เมื่อเราอยากได้แสงสว่าง เราต้องดิ้นรนขวนขวายสร้าง แต่ความมืดถูกหยิบยื่นให้เราโดยที่เราไม่ต้องร้องขอ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็เหมือนความมืดส่วนความมีสุขอันเกิดจกการมีสุขภาพดี มีคนรัก มีชีวิตที่ประสบความสำเร็จเปรียบเสมือนแสงสว่าง ที่เราต้องดิ้นรนขวนขวายจึงจะได้มา และเมื่อได้มาแล้วก็ไม่ยั่งยืน ทุกข์อันเกิดจกความแก่ ความเจ็บ และความตาย ทั้งของเราเองและบุคคลที่เราผูกพัน เหมือนความมืดที่จ้องมองเราอยู่ตลอดเวลา
วันใดชั่วโมงใด นาทีใด ที่เชื้อเพลิงหมด ความมืดจะโจนทะยานเข้ามาหาเราทันทีความทุกข์ในทัศนะของพระพุทธเจ้าและกามูส์คอยจ้องมองเราอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ นี่คือเหตุผลว่า ทำไมกามูส์จึงกล่าวว่าชีวิตไม่มีแก่นสาร...
การกล่าวว่าชีวิตเป็นทุกข์ ของพระพุทธเจ้า หรือ ชีวิตไร้แก่นสาร ของ อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus) ไม่ได้จบสิ้นในตัวเอง และไม่ได้มีนัยชี้แนะในทางจริยธรรมใดๆทั้งสิ้น หากแต่เป็นการกล่าวถึงความจริงของชีวิต พระพุทธเจ้านั้นตรัสชัดมากหลังจากที่ตรัสว่าชีวิตเป็นทุกข์... ว่าความทุกข์ของชีวิตเป็นสภาพที่เราควร ไตร่ตรองเพื่อให้เข้าใจ แล้วจะได้คิดอ่านหาหนทางจัดการกับสภาพที่เป็นทุกข์นี้ กามูส์ก็เขียนเอาไว้ชัดมากในหนังสือเล่มข้างต้นของเขาว่า แม้ชีวิตจะไร้แก่นสาร แต่นี่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องสักแต่หายใจอยู่ในโลกเพื่อรอวันตาย เรายังทำอะไรได้มาก และสมควรทำ เพื่อให้ชีวิตที่ไรแก่นสารนี่แหละมีความหมาย...
6
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่า ชีวิตไร้แก่นสาร อะไรคือสิ่งที่เราพึงทำต่อไปกับชีวิตที่ไร้แก่นสารนี้ กามูส์จึงชวนให้ผู้อ่านทบทวนตำนานเรื่องชายที่ถูกเทพสาป...
ชายคนนี้ซื่อซีซิฟัส (Sisyphus)
1
เขาเป็นใคร ดูเหมือนจะเป็นราชาคนหนึ่งในหมู่มนุษย์ จำได้เพียงว่าเขาทำบางสิ่งที่ทำให้เทพเจ้ากรีก ซึ่งมีจำนวนมากเหมือนคนนี่แหละ แต่มีฤทธิ์ ทำหลายอย่างที่คนเราทำไม่ได้ เช่นสาปให้คนเป็นคางคกก็ได้ เป็นเดือดเป็นแค้น เขาถูกเทพเจ้าทั้งหลายนำไปพิพากษาลงโทษ เนื่องจากซีซิฟัส(Sisyphus) ทำให้เทพโกรธมาก ที่ประชุมจึงถามกันว่าจะลงโทษชายคนนี้อย่างไรจึงจะทุกข์ทรมานที่สุด การลงโทษคนสูงสุดคือการฆ่าให้ตาย แต่วิธีนี้เทพที่ประชุมกันอยู่คิดว่ไม่ทรมานพอ เพราะคนถูกฆ่า อาจจะเจ็บปวดก่อนตาย แต่ก็ไม่นาน ต่อให้ปลุกขึ้นมาใหม่ ฆ่าอีก ก็ยังไม่ทรมานพอ...
2
ที่สุดก็มีเทพบางองค์เสนอว่า ขอให้พวกเราสาปชายคนนี้ให้ทำงานหนักทั้งวัน ทั้งคืนไม่ได้พักผ่อน โดยที่งานนี้เป็นงานที่ไม่มีทางบรรลุผล คือทำอย่างไรก็ไม่จบไม่สิ้น!!
1
เครดิตภาพ: https://www.mosskingdom.net
หากเป็นเทวดาอย่างไทยก็คงสาปให้ชายคนนี้หาบน้ำมาเทลงตุ่มรั่วที่ไม่มีทางเต็ม
แต่เทพจ้ากรีกสาปให้เขาต้องแบกก้อนศิลาหนักหน่วงค่อยๆป่ายปีนไปตามแง่เขา ขึ้นไปบนยอด เมื่อเขาขึ้นถึงยอดเขา หินนั้นก็หลุดจากบ่าเขากลิ้งตกลมาข้างล่าง เขาต้องเดินลงมาแบกศิลาอันหนักอึ้งนั้นขึ้นไปใหม่.. วันแล้ววันเล่า.. ไม่มีจบสิ้น..
นี่คือการทรมานที่เทพเจ้าทั้งหลายเห็นว่าเป็นที่สุดของความทุกข์แล้ว
กามูส์เขียนว่า สิ่งที่เทพจ้าสาปชายคนนั้นได้จริงๆก็เป็นครึ่งเดียวของชีวิตเป็นอย่างมาก คือสาปชีวิตส่วนที่เป็นร่างกายได้เท่านั้นแหละ แต่จิตใจอันเสรีของมนุษย์ใครจะมาสาปได้ ใจเรา หรือความคิดเรา หรือทัศนคติของเรา มีที่ต่อโลกและชีวิตจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับเราผู้เดียวแท้ๆ
สมมติว่าวันหนึ่ง ซีซิฟัสหยั่งเห็นความจริงอันนี้ เขาก็เป็นอิสระจากการสาปของเทพ เพราะเทพ ต้องการให้เขาทรมานที่ใจ เพราะต้องทำงานที่ไม่มีวันบรรลุผล
สองสิ่งนี้คือ
(1.)การทำงานที่ไม่มีวันบรลุผลอยู่วันแล้ววันเล่า
(2.)ความคับแค้นในใจ...
ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกัน หรือพ่วงตามกันมา แต่โดยธรรมชาติ คนเราจะพ่วงสองสิ่งนี้ตามกันมาเสมอ ใครก็ตามที่แยกได้ เขาก็เป็นอิสระจากการถูกสาป ไม่ว่าจะสาปโดยเทพหรือโดยธรรมชาติ!
The Myth of Sisyphus And Other Essays
พระพุทธเจ้าทรงเข้าใจเรื่องนี้ในตอนท้ายๆของชีวิตการแสวงหาทางพ้นทุกข์ของพระองค์ และผมเชื่อว่าที่ทรงยุติการแสวงหาก็เพราะทรงมั่นใจว่าความจริงเรื่องใจคือหัวใจของโลกและชีวิตเป็นความจริงที่หนักแน่นมาก ดังที่ตรัสกับเทพบุตรว่า "เราพูดถึงเรื่องโลกและความดับของโลกภายในร่างกายที่ยาววา ประกอบด้วยความรับรู้และความคิดนี้เท่านั้นแหละ" การมีอยู่ของจักรวาลอยู่เกินอำนาจการต่อรองของมนุษย์เรา ดังนั้นจักรวาลจริงๆเป็นอย่างไร ใครสร้าง สร้างทำไม และไฉนสร้างแบบนี้ ไม่สร้างแบบอื่น เป็นต้นไม่สำคัญสำหรับพระพุทธจ้า สิ่งสำคัญคือ จักรวาลที่ถูกมอบให้เราแต่ละคน ผ่านทางจอหน้าส่วนตัวที่เปิดปิดตามการตื่นและนอนหลับของเรา
3
นี่ต่างหากที่เราควรสนใจ เนื้อหาของโลกที่ปรากฎในจอหนังเราเข้าไปยุ่งไม่ได้ บางวันเรา อาจเห็นหมาที่เรารักมากถูกรถชนตายต่อหน้าต่อตา แม้ตัวเราเองในบางวัน ขณะที่ขับรถอยู่นอกเมืองก็อาจหลับในแล้วจอหนังส่วนตัวของเรานั้นก็ดับไปชั่วนิรันดร
อะไรก็เป็นไปได้ คือเราควบคุมอะไรไม่ได้...
เหมือนที่ซีซิฟัส(Sisyphus)ควบคุมการที่ตนเองถูกสาปให้แบกก้อนศิลาขึ้นเขาอยู่ชั่วนาตาปีไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าทรงแนะให้เราสังเกตใจหรือความคิดของเราแต่ละคนว่า จริงๆมันสามารถเป็นอิสระจากข้อมูลที่ปรากฏในจอหนังส่วนตัวและมีความหมายยั่วยุไป ในทางดีหรือร้ายก็ได้เสมอ ใช่หรือไม่ คำตอบคือใช่ความรู้ที่นักปรัชญาในโลกชวนเราถามว่า แบบไหนนะจึงจะมีค่าที่สุด เป็นปริศนาปลายเปิดที่เราจะต้องขบคิดด้วยตนเอง
ดูเหมือนว่า ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่จะแยกการแสวงหาความรู้ออกจากจริยธรรม ผมเข้าใจ ก็ไม่ว่ากัน แต่หากเราแยกการแสวงหาความรู้ออกเป็นเอกเทศต่างหากจากจริยธรรม ผมรู้สึกว่า สิ่งที่เหลืออยู่ในนามความรู้นั้นช่างเล็กกระจ้อยหรือเกิน...
มีความหมายไม่มากเลยต่อชีวิตเรา และนี่คือเหตุผลที่ผมชวนตั้งคำถามว่าความรู้ควรสัมพันธ์กับจริยธรรมอย่างไร...
จริยธรรมคืออะไร.. สำหรับ พระพุทธเจ้า จริยธรรมไม่ใช่การค้นหาว่าอะไรดีอะไรชั่ว และที่ว่านั่นดีนี่ชั่ว วัดอย่างไร
จริยธรรมในความหมายนี้นักปรัชญาตะวันตกเขาตั้งกรอบกันขึ้นเพื่อเดินหน้าต่อสำหรับการค้นหา ก็มีประโยชน์ครับ ไม่ว่ากัน...
สำหรับพระพุทธเจ้าจริยธรรมคือการคิดว่า เมื่อชีวิตและโลกเป็นเช่นนี้ คือไม่มีอะไรสักอย่างที่เราอาจยึดมั่นว่าเป็นตัวเราและของเราได้ เราควรใช้ชีวิตที่เกิดมาแล้วนี้อย่างไร จริยธรรมตามการนิยามของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก แทบเรียกได้ว่าคือทั้งหมดของชีวิต กามูส์ก็เชื่ออย่างนั้น.
1
พุทธปรัชญานั้นมีทำทีที่น่ารักประการหนึ่งตามความเห็นของผมคือ ไม่ค่อยเสนอหลักการอะไรในทำนองกีดกันคนอื่นว่า ถ้าไม่รับที่เราเสนอ คุณก็ผิด!...
อันที่จริง การใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีปัญญา แบบพุทธนั้นสามารถทำไปได้พร้อมๆกับการทำมาหากินอยู่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็มีอาชีพในทางการคิด เรื่องทางวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และนักปรัชญา เป็นต้น
1
พระพุทธเจ้าไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวเลย ทรงเข้าใจด้วยซ้ำว่าเป็นงานที่ต้องทำในโลกอันได้แก่ปรากฏการณ์ที่เกิดๆดับๆในจอหนังส่วนตัวของเราแต่ละคน สิ่งที่พระพุทธเจ้าสนใจเอามาบอกหรือชี้แนะให้เราคิดคือระบบความคิดที่ใหญ่กว่านั้น เป็นสากลกว่านั้น ใช้งานได้มากกว่านั้น และเป็นประโยชนีในเชิงสาระแก่ชีวิตมากกว่านั้น
วิชาการบางอย่างอาจทำให้คนบางคนกลายเป็นเศรษฐี บางคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง บางคนเป็นศาสตราจารย์ วิชาความรู้เช่นนี้เป็นประโยชน์อย่างน้อยก็ในแที่ทำให้บุคคลที่สร้างหรือใช้มันมีชีวิตที่ดีขึ้นในทางวัตถุ แต่วิชาการเช่นนี้ ตามทัศนะของพระพุทธเจ้าและกามส์ ไม่มีผลเป็นการท้าทายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตจากทีไรสาระมาเป็นบางอย่างที่มีค่ากว่านั้น
1
มหาเศรษฐีที่รวยล้นโลกเพราะแปรความรู้บางอย่างมาให้เป็นเงินได้อย่างน่าอัศจรรย์ก็ยังมีชีวิตที่ไม่มีแก่นสารเหมือนเดิม นักวิทยาศาสตร์ที่สร้างทฤษฎี อธิบายเอกภพอย่างลือลั่นเช่นไอนสไตน์ (Albert Einstein)หรือ ฮอว์กิ้ง (Stephen William Hawking) คนหลังนี้ทราบว่าพอมหาวิทยาลัยที่เขาเคยเรียนอนุญาตให้คนข้างนอกโหลดวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเขามาอ่านได้ฟรี ระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นถึงกับล่มเพราะคนแห่เข้าไปโหลดเป็นล้านในเวลาไม่นาน ก็มีชื่อเสียงไปเพระความรู้ที่เขาสร้าง...
2
ซึ่งเราสมควรชื่นชมและขอบคุณเขาที่หาของวิเศษเช่นนั้นมาให้เรารู้จัก แต่เราก็ต้องรับว่า ทั้งเขาและเราที่เกี่ยวข้องกับความรู้อย่างนี้ก็ยังมีชีวิตที่เป็นทุกข์ต่อไป...
3
ผมขอปิดท้ายด้วยนิทานเซนเรื่องหนึ่ง
เซนนั้นเป็นสาขาหนึ่งของพุทธศาสนาที่สนใจเรื่องใหญ่ๆที่ว่าเราควรใช้ชีวิตในโลกที่ไร้แก่นสารนี้อย่างไร
เรื่องเล่าว่า ชายคนหนึ่ง เข้าไปเจอเสือ เสื่อไล่กัด เขาวิ่งหนีเสือที่ไล่ตามมาไปที่หน้าผา ที่หน้าผานั้นมีเถาวัลย์ขนาดที่รับน้ำหนักตัวคนได้ เสือประชิดมา เขาจึงไต่ตามเถาวัลย์ลงไปข้างล่าง โดยไม่ทันได้ดูว่าข้างล่างอะไร ลงมาได้พอพ้นเสือ จึงมองลงไป ก็พบว่าข้างล่างเป็นแม่น้ำ จระเข้เต็มไปหมด หลายตัวตะโกนบอกลงมาเลยพ่อมหาจำเริญ อิฉันหิวมาหลายเพลาแล้ว ข้างบนเสือบ้านั่นก็ไม่ไปไหน นอนหมอบรออยู่ ทำทางจะเย้ยว่า หากกลัวจระเข้ก็ขึ้นมาข้างบนเลยนะจ๊ะ
เครดิตภาพ: https://krunongpasathai.com
ชายคนนี้คือผู้ที่ตกอยู่ในสภาพที่กามส์เรียกว่า "the absurdity of life"โดยแท้ ระหว่างที่โหนต่องแต่งอยู่ที่เถาวัลย์ ชายคนนั้นเอามือตบกระเป๋าเสื้อในนั้นมีมีดโคนคมกริบ ช่วงหนึ่งของความคิด เขาปลงตกว่าจะขึ้นข้างบนก็ตาย จะลงข้างล่างก็ตาย ไหนๆชีวิตก็ "เฮงชวย" เสียปานฉะนี้แล้ว จะรออยู่ดูผลของความเฮงซวยของชีวิตไปทำไม ปาดคอตายไม่ดีรึ...
กามูส์นั้นในตอนท้ายๆของหนังสือเรื่องที่ผมยกมาเล่าข้างบนเขียนว่าต่อให้ชีวิตมันเฮงซวย (absurd) อย่างไร "ผมก็ไม่เลือกที่จะฆ่าตัวตาย"!...
เพราะมีช่องทางบางอย่างให้ผมเลือกที่จะอยู่กับชีวิตที่เฮงซวยนี้ เขาไม่ได้บอกว่าทางเลือกนั้นคืออะไร เพราะอยากให้เราแต่ละคนเลือกเอง...
แต่พุทธศาสนานิกายเชนมีคำตอบ ชัดกว่ากามูส์ เรื่องเล่าต่อว่า
ระหว่างที่โหนเถาวัลย์และไปไหนไม่ได้ สักพักชายคนนั้นก็รวบรวมสติให้มาอยู่กับตน เขาจัดการให้การโหนเถาวัลย์อยู่ในสภาพที่สบายที่สุด คือหาที่นั่งและนอนถาวรเลย ก็ได้เพราะเถาวัลย์เป็นตาขยหมาะที่จะนั่นอนถาวร จากนั้นเขาก็เริ่มคิด. เซนสอนว่าหากคิดอะไรไม่ออก ให้ถามว่า
"ตอนนี้ชีวิตเป็นอย่างไร"
ชายคนนั้นก็ถามตัวเองว่าตอนนี้เป็นไงบ้างเพื่อน มีเสียงตอบข้างในว่า...
"ยังไม่ตายว่ะ"!!..
มีเสียงถามว่า จะตายไหม มีเสียงตอบว่า ถ้าขึ้นบนหรือลงล่างก็ตาย
แต่นั่นมันยังไม่เกิด เป็นอนาคต ปัจจุบันคือยังไม่ตาย!
1
เมื่อยังไม่ตายก็เป็นหน้าที่เฉพาะหน้า ที่จะประคองชีวิตไม่ให้ตาย!...
พอคิดได้อย่งนี้เขาก็รู้สึกผิดที่ไปคิดเรื่องมีดโกนเมื่อสักครู่ คล้ายที่กามูส์บอกว่าผมไม่เลือกที่จะแก้ปัญหาความเฮงซวยของชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย
ระหว่างนั้น ชายคนนี้ก็เริ่มมีใจที่สงบ พอใจสงบเขาก็เริ่มเห็นว่าที่ที่เขาอยู่ก็ไม่เลวเลยนะ อากาศสุดยอด โอ๊ะนั่นอะไร!!
เขาเห็นที่ซอกหินมีดอกไม้สารพัดสี สวยงามมาก มีนกน้อยๆสีขาวบ้างเหลืองบ้างเขียวบ้างเกาะอยู่ที่กิ่งไม้ บางชนิดที่งอกอยู่ตามชอกหิน ดูไปดูมาเป็นผลไม้กินได้ นกจึงมาเกาะอยู่เต็ม พอห็นของกิน เขาก็รู้สึกหิว จึงโยนตัวไปที่ตันไม้พวกนั้น เก็บเอาผลไม้เหล่านั้นมากิน อร่อยมาก ตรงซอกหินใกล้ตัวก็มีน้ำฝนใสแจ๋วให้ดื่ม.
ชายคนนั้นสรุปว่า...
เครดิตภาพ: https://www.winnews.tv
กูจะอยู่ของกูตรงนี้แหละ ข้างบนข้างล่างมึงจะรอตะครุบกูก็รอไปเถอะ สักวันกูคงแก่ตาย ศพร่วงลงไปให้พวกมึงกิน แต่นั่นก็ช่วยไม่ได้ เหลือวิสัยของกูที่จะแก้แล้ว...
2
แต่ตอนนี้กูจะอยู่แม่งตรงนี้แหละ สนุกโว้ย ! สนุกฉิบหาย !
2
นี่คือความรู้สำหรับอยู่กับชีวิตที่เฮงชวยแบบพุทธ!
1
แหล่งอ้างอิง
1.The Myth of Sisyphusand Other Essays.
2.พุทธปรัชญากับญาณวิทยา.
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา