Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สรุปให้
•
ติดตาม
3 ส.ค. 2020 เวลา 11:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ Super Productive
หนังสือที่ทำให้คุณ ทำน้อย แต่ได้มาก
Credit รวิศ หาญอุตสาหะ
2009 สามทุ่มครึ่งของวันศุกร์
ผมเอาหัวกับไหล่หนีบโทรศัพท์ไว้
เพื่อรับสายจากเพื่อนที่โทรมา
“มึงอยู่ไหน” เพื่อนผมถาม
“ทำงานอยู่หวะ แล้วนี้พวกมึงอยู่ไหนกัน”
ผมคุยไปพลางถ่ายเอกสารไป
“ถึง เขาใหญ่แล้วกำลังเริ่มปาร์ตี้”
“เออ เที่ยวให้สนุกหละ กินเผื่อกูด้วย”
ห้าทุ่มครึ่งวันนั้นผมนั่งรถประจำตำแหน่ง
ที่ใครก็ตามหากทำงานถึง ห้าทุ่ม
บริษัทจะใจดี เตรียมรถยนต์
ไว้พาไปส่งถึงหน้าบ้าน
1
แม้จะดีใจที่ทำงานใหญ่สำเร็จลุล่วง
แต่อีกใจก็นั่งคิดว่าจะเป็นยังไงถ้าเรา
ได้ไปใช้ชีวิตเที่ยวกับเพื่อนๆบ้าง
ถึงในตอนนั้น ผมจะ
พ้นจุด “ทำมากได้น้อย”
เข้าสู่ “ทำมากได้มาก” แล้วก็ตาม
แต่ถ้า “ทำน้อยได้มาก”
ถ้างานเสร็จและไปเที่ยวได้ด้วย
ชีวิตจะเป็นแบบไหนนะ?
ทำน้อยได้มาก
เป็นไปได้จริงหรือ
หนังสือเล่มนี้มีคำตอบครับ
Credit : Super Productive
โดย : รวิศ หาญอุตสาหะ
สำนักพิมพ์ : KOOB
( 1 ) รวิศ หาญอุตสาหะ และ หนังสือ
ถ้านึกใครสักคนที่เราอยากจะเรียนรู้กับเขา
เพราะเขามักจะมีเรื่องดีๆ สนุกๆ สดใหม่
มาแบ่งปันได้ทุกๆวัน
สำหรับคนรักการเรียนรู้
น่าจะมีชื่อของ คุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
กันหลายคนเลย (ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น)
คุณ รวิศ เป็น
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีจันทร์
นักเขียน Best Seller อย่าง
คิดจะไปดวงจันทร์อย่าหยุดอยู่ที่ปากซอย
เจ้าของเพจ Mission to the moon
ที่มียอดไลค์กว่า 240,000 คน
Podcaster ช่องบุคคลอันดับ 1 ซึ่งมียอดฟัง
รวมทุกช่องทางแล้วกว่า 10 ล้าน Play
เป็น Super Influencer ของวงการพัฒนาตัวเองอย่างแท้จริง
หนังสือ Super Productive
อาจจะมีจุดเริ่มต้นจากคำถามว่า ทำไม ผู้ชายคนนี้
ถึงสามารถทำอะไรได้มากมายในแต่ละวัน
ออกกำลังกายตั้งแต่ตีสี่ตีห้า
ทำงาน อัดพอดแคส 3-4 รายการ
บรรยาย เขียนหนังสือ 2 เล่มต่อปี
โดยไม่ละเลยหน้าที่ความเป็นพ่อที่ดี
หนังสือเล่มนี้รวบรวมเรื่องราว
ที่คุณ รวิศนำมาเล่าไว้ใน Podcast
ที่ทำร่วมกับ The Standard
ที่ชื่อ Super Productive
นำมาขยายต่อยอดให้พวกเราได้อ่านกัน
เป็นหนังสือ เล่มที่ 7 จากผู้ชายที่
อ่านหนังสือมาหลายพันเล่มตลอดชีวิต
ตีพิมพ์ 3 ครั้งในเดือนเดียว
ผมไม่ได้ค่าคอมมิสชั่นใดๆจาก คุณ รวิศ
แต่ผมคิดว่ามันคงจะดีถ้าประเทศเรา
มีคน Super Productive กันเยอะๆ
ไปเรียนรู้กันนะฮะว่าหนังสือเล่มนี้มีอะไรมาบอกคุณ
อ่านจบแล้วอย่าลืมไปอุดหนุนหนังสือกันด้วยนะครับ
( 2 ) ภาพใหญ่ของหนังสือ
หนังสือเล่มนี้แบ่งปัน 3 หมวด
2-1 การจัดการตัวเอง
2-2 การจัดการทีม
2-3 การจัดการธุรกิจ
ผมอ่านและพิจารณาแล้วว่า
การจัดการตัวเองเป็นเรื่องที่มีประโยชน์
และใช้ได้กับทุกคน
สรุปหนังสือรอบนี้จะเน้นไปที่
การเปลี่ยนสิ่งที่คุณ รวิศ เล่า
มาย่อยและทำให้เป็นสิ่งที่นำไปใช้ได้จริงๆกัน
ซึ่งมีทั้งหมด 6 ข้อ
A-1 : วิธีเรียนรู้ตลอดชีวิต
A-2 : 4 วิธีเรียนรู้ด้วยตัวเอง
A-3 : วิธีเลิกผัดวันประกันพรุ่ง
A-4 : วิธีรู้จักตัวเอง
A-5 : 3 กระบวนท่าการตัดสินใจ
A-6 : การตั้งคำถามที่ใช่
ไปกันทีละข้อครับ
( A-1 ) วิธีเรียนรู้ตลอดชีวิต
งานวิจัยของ World Economic Forum
ระบุไว้ว่า ในปี 2022 คนทำงานจะใช้เวลากว่า
101 วันในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
(รวมเรียนรู้ไปทำงานไปด้วย)
ถ้าปีหนึ่งเราทำงานราวๆ 220 วัน
เท่ากับกว่า 45% ของวันทำงานนั้น
เราจะถูกใช้ไปกับการเรียนรู้สิ่งใหม่
สะท้อนว่าเราหยุดเรียนกันไม่ได้หรอก
และในมุมมองของผมที่นอกเหนือจาก
ที่คุณรวิศเขียนไว้มี 2 ประเด็น
ถ้าไม่นับการพัฒนาตัวเองเป็นผลลัพธ์
เวลาที่เราใช้สร้างผลลัพธ์จริงๆก็มีเพียง 55%
เท่านั้น
2. คนที่เรียนรู้ตลอดเวลา
ใช้เวลาวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ ไปพัฒนาตัวเอง
และทุ่มเทเวลาทำงานไปกับการสร้างผลลัพธ์ให้มากขึ้น
เมื่อทำได้ดีก็โปรโมทไว
เมื่อโปรโมทไวก็มีรายได้มากขึ้น
นำรายได้นั้นไปพัฒนาตัวเองเพิ่ม
ทำงานได้ดีขึ้น โปรโมทไวขึ้น พัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้น
เป็นวงจรที่ภาษาญี่ปุ่นชอบเรียกว่า Spiral Up
หนังสือพูดถึง วิธีคิดของคนที่ไม่ยอมเรียนรู้เพิ่ม (Fixed Mindset)
กับคนที่เรียนรู้ตลอดชีวิต (Growth Mindset)
คนที่เรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น
เขาจะมองความ ล้มเหลว เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
เขาไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ เมื่อไม่ยอม ก็ไม่แพ้ ถ้ายังไม่แพ้ วันหนึ่งก็ชนะเอง
เขาน้อมรับคำวิจารณ์ ปรับปรุงตัว
และที่สำคัญคือ เรียนรู้จากคนสำเร็จ
1
คุณสมบัติเหล่านี้ พวกเรามีกันครบหรือยังฮะ
ถ้าครบแล้วยินดีด้วยครับ
แต่ถ้ายังก็นับเป็นเรื่องดีครับ
เพราะตอนนี้เราก็รู้แล้วว่า
เรายังดีกว่านี้ได้อีก ^^
( A-2 ) 4 วิธีเรียนรู้ด้วยตัวเอง
และเพื่อให้เราเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หนังสือ เล่มนี้ได้แนะนำ 4 วิธีที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง
2
กฎ 5 ชั่วโมงของ Benjamin Frankin
เรียนรู้เรื่องใหม่ที่สนใจ 1 ชั่วโมงสัปดาห์ละ 5-6 ครั้ง
ทำให้สม่ำเสมอ
2
2. Active Learning : Bill Gates Style
Bill Gate ผู้รักการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ
เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยวิธีการ จดบันทึก
ในช่องว่างของหนังสือ (Marginalia-Note-Taking)
1
วิธีนี้เป็นวิธีการเปลี่ยน Input ให้เป็น Output
อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพมากๆ
1
เสริมให้นิดว่า หนังสือญี่ปุ่นขายดีอย่าง
The power of output ของคุณ Kabazawa Shion
ที่ผมเคยรีวิวไว้ก็กล่าวไว้เช่นกันว่าถ้าจะเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพนั้น
ควรใช้สัดส่วน Input : Output เป็น 3:7
3
3. จัดลำดับความสำคัญด้วยกฎ 80:20
Pareto Principle หรือที่เรารู้จักกันในกฎ 80:20
จะช่วยคัดครองสิ่งที่เราเรียนรู้ได้มีประสิทธาภาพมากยิ่งขึ้น
2
หนังสือเล่มหนึ่งที่ผมรีวิวไว้ “ความลับของคนที่ไม่เคยเอางานกลับไปทำที่บ้าน”
ของคุณ Daigo ก็พูดถึงการใช้หลักการนี้ในการพัฒนาตัวเองให้สามารถ
อ่านหนังสือได้ 10-20 เล่มต่อวัน
1
เคล็ดลับคือไม่อ่านทั้งเล่มแต่จะเลือกสิ่งที่ต้องการและอ่านเฉพาะส่วน
ที่คิดว่าสำคัญ
2
4. ค้นหาแรงบันดาลใจ
ถ้าเศรษฐีวัย 60 อย่าง Mark Cuban กำลังสนุกกับการเรียน
เขียนโค้ดภาษาสมัยใหม่อย่าง Python เพราะเขาเชื่อว่า
ยุคสมัยใหม่นั้นคนที่เอาตัวรอดได้ต้องควบคุม AI ได้
1
เราที่อายุน้อยกว่าหรือใกล้เคียงคงไม่สามารถมีข้ออ้างได้
หาแรงบันดาลใจ
หาสิว่าอะไรคือ 80:20
หาวิธีเรียนรู้แบบ Active Learning
และสำคัญที่สุด
2
หาเวลาเรียนรู้ให้ได้ 1 ชั่วโมง 5-6 วันต่อสัปดาห์
เพียงเท่านี้เราก็เป็นคนที่เรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตลอดชีวิตแล้วครับ
3
( A-3 ) วิธีเลิกผัดวันประกันพรุ่ง
เล่มเกมอีกสักด่าน เดี๋ยวค่อยอ่านหนังสือ
ดูอีกสักตอนเดี๋ยวค่อยทำงานต่อ
1
แล้วสุดท้ายก็ยาวไป ไม่ได้อ่านหนังสือและทำงาน
เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้กันไหมฮะ
เราเรียกอาการนี้ว่า ผัดวันประกันพรุ่ง
Tim Urban เจ้าของหนังสือ Wait but Why
เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องว่า
1
ทำไมคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งถึงมีนิสัยเช่นนั้น
(Why procrastinator procrastinate?)
เขาเล่าถึงตัวละครสองตัว
กัปตันเรือ แทนสมองที่ตัดสินใจด้วยเหตุผล
ลิง แทนสมองที่ต้องการสิ่งฉาบฉวย
และสถานที่อีก 2 อย่าง
เป้าหมายที่จะไป
สนามเด็กเล่น(ยามมืด)
คนที่ผัดวันประกันพรุ่งคือคนที่ปล่อยให้
ลิงพากัปตันไปเล่นที่สนามเด็กเล่นตอนมืด
สนุกแต่ก็ได้ไม่เต็มที่เพราะมันมืด 555
เสมือนเรารู้แก่ใจว่า ที่ทำไปมันไม่ดีนั่นแหละ
แล้วจะทำยังไงให้กัปตันสามารถเอาชนะลิง
ผู้เอาแต่ใจได้หละ
คำตอบคือ Plan Do + Deadline
เจ้าลิงมีสัตว์ประหลาดที่มันกลัวที่สุดคือ
Deadline ถ้าสามารถวางแผนลงมือทำ
กดดันตัวเองให้ผ่าน Deadline ได้
ถ้ากัปตันฝืนลากลิงกลับมาเข้าฝั่งได้
ผลสำเร็จของงานจะทำให้ลิงกลายเป็นพวก
ได้ในที่สุด
สรุปง่ายๆคือ คนที่จะเปลี่ยนตัวเองให้มีวินัยได้
นั้น ควรมี
1. เป้าหมายเพื่อความสำเร็จระยะยาวที่ชัดเจน
2. วางแผนลงมือทำ
3. ใช้ประโยชน์จากเส้นตาย
4. ฝึกฝืนตัวเองบ่อยๆ
1
( A-4 ) 3 กระบวนท่าการตัดสินใจ
งานวิจัยของ Cornell University
โดยคุณ Wansink and Sobal ในปี 2007
ระบุไว้ว่า ในหนึ่งวัน เรามีเรื่องที่ต้องตัดสินใจอยู่ราวๆ
226 ครั้ง
จากหนังสือ “ความลับของคนที่ไม่เคยเอางานกลับไปทำที่บ้าน”
ของ Mentalist Daigo ระบุว่า วันหนึ่งๆเรามีเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจ
ถึง 70 เรื่องนี้
คิดแบบผมก็จะตีความได้ว่า
ถ้าใน 70 ครั้งนั้นมีการตัดสินใจที่
“แย่” มากกว่า “ดี”
ก็เป็นไปได้ว่า
ชีวิตของเราจะ“แย่ลง”ก็เป็นได้
หนังสือ Super Productive
ให้เครื่องมือที่คุณ รวิศ เอง ใช้เสมอๆ
ในการตัดสินใจครั้ง สำคัญๆ
Reactive Decision-Making
หรือการตัดสินใจเชิงโต้ตอบ วิธีการนี้คือ
ตั้งรับรอให้สิ่งต่างๆเข้ามาแล้วค่อยตัดสินใจ
เหมาะกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
1
แต่ไม่แนะนำให้ทำอย่างนี้ไปตลอด
เพราะเราจะไม่สามารถชนะในเกมได้
เสมือนนั่งไล่ดับไฟที่ลุกลามไม่จบสิ้น
2. Proactive Decision-Making
หรือการตัดสินใจเชิงรุก วิธีการนี้คือการพยายามมองเกม
ให้ใกล้มากขึ้น ไม่ต้องดับเพลิงเอง อาจจะเปรียบเสมือน
การมองจากบนฟ้าว่าไฟกำลังจะลามไปทางไหน
จากนั้นก็แต่คิดและให้ทีมงานช่วยกัน
3
แน่นอนว่ายังคงอยู่กับปัญหาแต่เราจะมองเห็นกองไฟ
และรับมือกับมันได้ดียิ่งขึ้น
1
3. Strategic Decision-Making
หรือการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
1
ถ้ายังคงอยู่กับการเปรียบเทียบว่าการแก้ปัญหา
คือการดับไฟ
1
การคิดเชิงกลยุทธ์น่าจะเป็นการมองให้ลึก
และมีมิติที่แตกต่างออกไป เช่น
1
ทำไมต้องดับไฟกองนี้
มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ไหม
สาเหตุที่เพลิงเกิดคืออะไร
1
การคิดวิเคราะห์ในระยะยาวมากขึ้น
น่าจะช่วยให้เรามีทางออกและรับมือ
กับปัญหาได้ดีที่สุด และยั่งยืน
1
คน Super Productive จะตัดสินใจได้ทั้ง 3 กระบวนท่า
แต่พวกเขาจะใช้เวลาอยู่กับการคิดเชิง กลยุทธ์มากที่สุด
1
พวกเราล่ะครับ
ตอนนี้คิดและตัดสินใจด้วยกระบวนท่าอะไรกันอยู่
( A-5 ) วิธีรู้จักตัวเอง
ถ้าถูกถามว่า “รู้จักตัวเองไหม”
จะตอบว่าอย่างไรครับ
Tasa Urich ผู้เขียนหนังสือ Insight
เล่าถึงงานวิจัยที่พบว่า
เมื่อเราไปถามว่า รู้จักตัวเองไหม
95% จะตอบว่า รู้จัก
แต่เมื่อนำคน 95% นี้
มาทำแบบสอบถาม เรากลับพบว่า
มีคนที่รู้จักตัวเองในกลุ่มนี้เพียง
10-15%
ถ้าคำนวณใหม่แล้วจะได้ตัวเลข
แบบนี้ครับ
5% ไม่รู้จักตัวเอง
85% ไม่รู้จักตัวเอง (ทั้งที่บอกว่ารู้จัก)
10% รู้จักตัวเอง
โดย 10% ที่รู้จักตัวเองนี้ก็แบ่งได้ 2 กลุ่มตามทฤษฏี
กลุ่มที่เข้าใจตัวเองจากข้างใน
กลุ่มที่เข้าใจตัวเองจากคนรอบข้าง
1
การเปิดใจรับฟัง ฟีดแบ็ก ที่ดี
และการตัดคำวิจารณ์หรือคำด่าที่ไม่เป็นประโยชน์
ได้นั้น จะสามารถทำให้เราเข้าใจตัวเองได้เช่นกัน
1
คุณรวิศ จึงบอกว่ามันสำคัญมากที่จะต้องหา
คนที่รักเราจริงมาค่อยให้ฟีดแบ็ก
สำหรับผมหนังสือเล่มนี้พยายามบอกว่า
คนที่รู้จักตัวเองนั่นแหละ
ที่จะเป็นคนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ
1
เพราะเขารู้ว่า ถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร
ทำอะไรได้ดี วิธีพักผ่อน ออกกำลังกาย
ทานอาหารแบบไหนที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด
1
วิถีชีวิตแบบไหนที่จะทำให้ ทำงานและใช้ชีวิต
ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
1
ขอถามอีกทีนะฮะ
“คุณรู้จักตัวเองไหม”
( A-6 ) การตั้งคำถามที่ใช่
เคยเห็นขนม Peanut ช็อกโกแลตที่ชื่อ Reese’s ไหมครับ
ทราบไหมว่าพวกเขาเป็น แบรนด์ขนมช็อกโกแลตที่มียอดขาย
ติด Top 5 ของอเมริกา
พวกเขาทำโปรเจกต์หาวิธีสร้างยอดขายขึ้นมา
ลงทุนไปสัมภาษณ์ลูกค้าจนได้ความว่า
ลูกค้าชอบรสชาติ แต่ติดปัญหาตรงที่ชิ้นของขนม
มันใหญ่ กินยากเวลาขับรถ หรือดูทีวี
ทำยังไงดี คือคำถามที่พวกเขาตั้งกัน
และได้คำตอบว่า ก็ทำให้มัน Size
เล็กลงมาอีกสักหน่อยโดยหุ้มด้วย
เปลือกฟอยล์สีเงินและแพคแยกไว
หลังจากแก้ปัญหาเรื่องขนาดได้แล้ว
ก็ได้รับ ฟีดแบ็กจากลูกค้าเพิ่มว่าดีนะ
แต่กินเยอะไม่ได้เพราะ แกะกินเยอะๆเมื่อไหร
ฟอยล์ก็จะเหลือเยอะ เห็นกองฟอยล์แล้ว
รู้สึกผิด (งั้นไม่กินดีกว่าไหม 555)
ทำยังไงดี ยังคงเป็นคำถามที่ใช้งานได้
พวกเขาคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้
สินค้าใหม่ที่ดีกว่าเดิม
ยกเลิก ฟอยล์ (ลดต้นทุน ไม่ต้องแกะ ไม่รู้สึกผิด)
ใส่รวมๆไว้ในถุงทึบที่ตั้งได้
อร่อย ขนาดพอดีคำ กินง่าย
ไม่ต้องแกะ หยิบง่าย กินได้เยอะ
ไม่แปลกใจที่สินค้าตัวใหม่จะ
ทำยอดขายได้ถึง 235 ล้านเหรียญใน 2 ปี
อ่านเรื่องที่คุณรวิศเล่า ผมก็อยากแบ่งปันบ้าง
(แต่เป็นฝั่งญี่ปุ่นนะ)
มีขนมยี่ห้อหนึ่ง ตั้งใจแตกไลน์สินค้า
พวกเขานำแท่งขนมปังกรอบๆมาเคลือบช็อกโกแลตทั้งแท่ง
ผลตอบรับจากลูกค้าดีประมาณหนึ่ง
แต่สิ่งที่มีค่ามากกว่าคือ ฟีดแบ็กที่ว่า
ไม่ชอบความรู้สึกเหนอะหนะเวลาที่จับ
ด้ามที่มีช็อกโกแลต แล้วมันละลายติดมือ
ตอนแรกบริษัทตั้งใจจะ ผลิตปลอกหุ้มด้ามช็อกโกแลต
ซื่งน่าจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นสูงมากทั้งค่าวัสดุและ
ค่าการผลิต (ใส่ปลอกให้ขนมที่ละแท่ง แม่เจ้า)
แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจ เว้นปลายด้านหนึ่งไว้เป็นที่ให้จับ
ประหยัดต้นทุน (กว่าจุ่มทั้งแท่ง) แถมกินง่ายไม่ต้องมีเปลือกเหลือเหมือนกัน
2016 บริษัทนี้มียอดขายทั่วโลกกว่า
กว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ(ประมาณ 1 แสนล้านบาท)
บริษัทนี้ ชื่อ Glico และขนมที่ว่าคือ Pocky ครับ ^^
เรื่องเล่า Reese’s และ Pocky
น่าจะสอนพวกเราได้ว่า
คำถามที่ใช่ สำคัญไม่แพ้คำตอบที่ดีเลย
เผลอๆสำคัญกว่าด้วยเนอะ
1
เพราะคำตอบที่ดี
มันมาจากคำถามที่ใช่
1
เห็นด้วยไหมครับ
ในคำนำของหนังสือเล่มนี้ มีอะไรดีซ่อนอยู่ฮะ
มันเล่าให้ฟังว่าจริงๆแล้ว
การจะเป็นคน Super Productive ได้เนี่ยมันไม่ง่ายหรอก
ต้องต่อสู้กับตัวเองเยอะมากๆ
คุณรวิศ เล่าให้ฟังบ่อยๆว่าชีวิตเปลี่ยนเพราะการวิ่ง
ที่ต้องออกมาวิ่งเพราะรู้สึกชีวิตตัวเองแย่
1
ที่รู้สึกว่าตัวเองแย่ เพราะความสัมพันธ์กับคนรอบตัวไม่ดี
ทำงานไม่มีความสุข เครียด สุขภาพก็ไม่ดี
1
พูดง่ายๆว่าจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของเขา
ไม่ใช่จุดที่ดี
อาจจะใช้คำว่า ย่ำแย่ ก็คงได้
แต่ก็นั่นและฮะ
ผมเพิ่ง Revisit กับหนังสือเล่มโปรดของผมไป
ของ พี่บอย วิสูตร แสงอรุณเลิศ
พี่บอย เขียนได้คมมากๆว่า
แม้เราจะ เริ่มจากจุดที่ “ย่ำแย่”
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เรา
1
จะต้อง “ย่ำ” ในจุดที่ “แย่” ตลอดไป
ผมเชื่อว่า ลึกๆ คุณรวิศ คงอยากบอกคนไทยว่า
“ไปต่อกันนะ” ครับ
ทิ้งท้ายด้วยคำคมที่ผมชอบที่สุดในหนังสือเล่มนี้
และเป็นจุดเริ่มต้นให้กับพวกเราทุกคน
“จุดเริ่มต้นของการจะไปที่ไหนสักแห่ง
คือการตัดสินใจจะไม่อยู่ในที่เดิมที่คุณอยู่”
-JP Morgan-
1
พร้อมจะเริ่มต้น เปลี่ยนตัวเอง
ให้เป็นคน Super Productive กันหรือยังครับ
สามารถ Download สรุปเนื้อหาง่ายๆในรูปแบบ One Page Summary ได้ที่ลิ้งค์
1
http://tiny.cc/superproductive
#สรุปให้
#SenseiPae
304 บันทึก
208
31
333
304
208
31
333
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย