6 ส.ค. 2020 เวลา 12:59 • ปรัชญา
ทุกข์โทษที่ความโกรธจัดให้
โ ก ร ธ เป็นคำในภาษาสันสกฤต มาจากรากศัพท์ กฺรุธ ภาษาบาลีใช้ โกธ มาจากรากศัพท์ กุธ ทั้งสองคำแปลว่า โกรธเคืองหรือประทุษร้าย พุทธศาสนาจัดความโกรธเป็นอารมณ์ฝ่ายชั่ว (อกุศล) มนุษย์ทุกคนมีอารมณ์ชนิดนี้อยู่กับตัว บางคนมีน้อย บางคนมีมาก โทษจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความโกรธ พิษภัยของความโกรธสร้างความเสียหายให้คนเรามามาก ไม่ควรให้เกิดมีแก่ตนเอง และครอบครัว เพราะเป็นสาเหตุของภัยพิบัติอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะตามมาในภายหลังหรือจัดว่าเป็นโทษมหันต์ก็ว่าได้
ดังพุทธภาษิตรับรองว่า. . .
อนติถชนโน โกโธ
อะนะติถะชะนะ โกโธ แปลว่า ความโกรธก่อให้เกิดความพินาศ
ซึ่งเราก็ประจักษ์ด้วยตัวเองได้ แม้ว่าในปัจจุบันความพินาศที่เราพบเจอมานั้นส่วนมากมาจากความโกรธทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ความโกรธยังบั่นทอนกำลังสติปัญญาให้อ่อนแอ ทำจิตให้ฟุ้งซ่าน
ดังพุทธภาษิตที่ว่า. . .
โกโธ จิตฺตปฺปโกธโน
โกโธ จิตตัปปะโกธะโน แปลว่า ความโกรธทำจิตให้กำเริบ และความโกรธทำให้ประสบทุกข์นานับประการ ญาติมิตร และสหายย่อมทอดทิ้งคนโกรธ
ดังพุทธภาษิตที่ว่า. . .
ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ
ญาติมิตตา สุหัชชา จะ ปะริวัชเชนติ โกธะนัง แปลว่า ญาติมิตรและสหาย ย่อมหนีไกลคนมักโกรธ เป็นต้น
สรุปได้ว่าความโกรธนั้นเป็นสาเหตุให้ประสบกับโทษ และความวิบัติหายนะต่าง ๆ และประสบกับทุกข์มากมาย
.. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ที่มา : หนังสือ "หยุดโกรธก่อนโกรธ" | ปัญญาวัฒน์
โฆษณา