6 ส.ค. 2020 เวลา 23:00 • การศึกษา
7. ☘️Support Breastfeeding for a Healthier Planet”☘️
7 สิงหาคม วันที่ 7 ของสัปดาห์นมแม่โลก
🌺 7 ประการ ของ Global Breastfeeding Collective 🌺
ภาพของแม่ ที่ล้อมรอบด้วยครอบครัวและสังคมที่เข้าใจ สนับสนุน ให้แม่เริ่มต้นให้นมแม่ได้ใน 1 ชั่วโมงแรก ให้นมแม่อย่างเดียวต่อถึง 6 เดือน และ กินนมแม่คู่อาหารตามวัยถึง อายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น
“นมแม่ 1-6-2”
ภาพนั้นจะเป็นเพียงฝัน หรือจะเป็นจริงได้ ขึ้นกับ นโยบายของรัฐ การเมือง และกฎหมาย ว่าจะช่วยผลักดันให้ การให้นมแม่เพิ่มขึ้น ได้หรือไม่
ผลประโยชน์โดยรวมจะเกิดขึ้น ต่อแม่ เด็กๆ และสังคม
UNICEF และ WHO จึงได้ตั้งเป้าหมาย เขียนคำแนะนำ
Global Breastfeeding Collective ขึ้นเมื่อปี 2017(1)
สำหรับ รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และสังคมโลก ให้ดำเนินการตาม 7 ประการคือ
ช่วยกันสร้างสังคม “นมแม่”
1.🎈เพิ่มการลงทุน 🎈ตั้งงบประมาณให้เพียงพอ การลงทุนให้เด็กกินนมแม่มากขึ้น เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด
จากการคำนวนพบว่า
 
การลงทุนเพียง 1 ดอลล่าร์ เพื่อส่งเสริมการให้นมแม่ จะให้ผลตอบแทน ถึง 35 ดอลล่าร์
2.🎈บังคับใช้กฎหมาย “นมผง” 🎈อย่างแข็งขัน (กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารทดแทนนมแม่) เพื่อปกป้องการให้นมแม่
3.🎈สิทธิ์การลาคลอด 🎈โดยแม่ได้รับค่าตอบแทน
4.นำโครงการ 🎈โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ ลูก🎈 Baby Friendly Hospital Initiative BFHI มาใช้โดย ปฏิบัติตาม “บันได 10 ขั้น เพื่อความสำเร็จในการให้นมแม่”
ภาพวาดโดย Pablo Picasso ที่นำมาเป็นสัญลักษณ์ของ Baby Friendly Hospital
5.จัดให้แม่ได้เข้าถึง “🎈ที่ปรึกษาการให้นมแม่” 🎈เช่น พยาบาลนมแม่ คลีนิคนมแม่
6.🎈นมแม่ในชุมชน🎈โครงการเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่าง สถานพยาบาลกับ ชุมชน เพื่อสนับสนุนการให้นมแม่
เชื่อมโยงเครือข่าย โรงพยาบาล-แม่-ชุมชน
7.🎈มีระบบติดตาม ประเมิน 🎈เพื่อดูความก้าวหน้าของ นโยบาย โครงการต่างๆ และ งบประมาณ เพื่อให้การให้นมแม่ถึงเป้าหมาย
จากการประเมินของ WBTi (World Breastfeeding Trend initiative)โดยดูตัวชี้วัดทั้ง 7ข้อข้างต้น ประเทศไทยได้คะแนน 60.5 จาก 100 (2)
เป้าหมายของ WHO ตั้งไว้ว่า ในปี 2025 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 50
ปัจจุบันนี้ (ปี 2016)อัตรานี้ของประเทศไทย เท่ากับ 23.1% ซึ่งยังต่ำกว่า ประเทศอื่นๆอีกมาก
ปัญหา และอุปสรรคสำคัญ 4 อย่าง ที่รายงานในหนังสือการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 5-7สิงหาคม 2563 (3)คือ
1.ความกังวลเรื่อง น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ
2.ความกังวลเรื่อง ประโยชน์ของน้ำนมแม่ สารอาหารในน้ำนมแม่
3.อุปสรรค เมื่อแม่กลับไปทำงาน
4.การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ของบริษัทนมผสม
เราต้องช่วยกัน ให้สังคมรอบตัวเข้าใจ การให้นมแม่มากขึ้น ทุกวิถีทาง ค่ะ
ภาพจาก . https://www.who.int/nutrition/topics/global-breastfeeding-collective/
เส้นทางสู่สังคมที่ให้ความสำคัญกับ แม่ให้นม และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยังอยู่อีกยาวไกลค่ะ
เรามาช่วยกันเรียกร้องให้
🌸รัฐช่วยสนับสนุนงบประมาณ เพื่อ ผลิตและอบรมบุคลากร ที่ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมแม่ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
🌸บังคับใช้กฎหมาย บังคับใช้ กม “ นมผง”ให้เข้มแข็งมากขึ้น ไม่ให้โฆษณา หรือทำการตลาดที่เข้าถึงแม่ให้นมโดยตรง
🌸ส่งเสริมให้แม่ลาคลอดตามสิทธิ์ที่ได้ และ ผลักดันให้ลาคลอดได้เพิ่มขึ้นเป็น 6 เดือนโดยได้รับค่าจ้าง (ในช่วงปีนี้อาจจะค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี)
❤️ถึงแม้จะยากลำบาก เราก็ต้องจับมือกันก้าวเดินไป❤️
“ทางไปสู่เกียรติศักดิ์
จักประดับประดาดอกไม้หอม
ยวนชวนจิตไซร้ไป่มี”
พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
(จดจากการบรรยาย ของ ดร นพ วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร)
บทความโดย
พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
เอกสารอ้างอิง
2. จากการบรรยายในหัวข้อ “Breastfeeding :Thailand Status and ways forward for a healthier nation โดย ดร นพ วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และ พญ ชมพูนุช โตโพธิ์ไทย การประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 7
3. Scale up and Learning More พญ ศิริพร กัญชนะ ในหนังสือประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 7 หน้า 20

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา