10 ส.ค. 2020 เวลา 01:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เสาไฟฟ้า..มาหานะเธอ
ตอนที่ 2 : เสาไฟฟ้า (ริมถนน) นก และ งู
Cr : pixabay
เสาไฟฟ้าริมถนนของประเทศไทยเรา..มีหลายแบบครับ
1. เสาคอนกรีตขนาดความสูง 8 และ 9 เมตร : ไฟฟ้าแรงต่ำ
2. เสาคอนกรีตขนาด 12-22 เมตร : ไฟฟ้าแรงสูง
สำหรับ..เสาโครงสร้างเหล็ก มักไม่ค่อยเห็นริมถนน (จะเห็นบ้างใน กทม)
ไฟฟ้าแรงต่ำ แรงสูง..ดูยังงัย
1. ตำแหน่งบนเสาต้นเดียวกัน : แรงต่ำ อยู่ต่ำกว่า แรงสูง
2. แรงต่ำ เป็นสายหุ้มฉนวน แรงสูงไม่มี (พอสังเกตได้มั้ยครับ?)
นก งู มาทำอะไร..กับเสาไฟฟ้า?
Cr : pixabay
🔅นก..มาเกาะสายไฟฟ้า ครับ
มีความสงสัยอยู่เหมือนกันว่า..ทำไมนกจึงมาเกาะสายไฟ?
แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ..นก ไม่ถูกไฟดูด??
🚩 นั่นเป็นเพราะ..นกเกาะอยู่ที่สายไฟเพียงเส้นเดียวครับ
🚩 นั่นเป็นเพราะ..เพียงสายไฟเส้นเดียว กระแสไฟฟ้าไหลไม่ครบวงจร
Cr : www.dailymail.co.uk
🔅มาดู..งู..บ้างครับ
งูเลื้อยขึ้นมาบนเสาไฟฟ้า..ทำไม?
(เรามักพบ..งูเขียว ขึ้นบนเสาไฟฟ้า)
🚩 อาจเป็นเพราะ..บนเสาไฟอาจมีอาหาร..
ซึ่งเป็นอาหารของ..งูเขียว(แมลง นก)
🚩 อาจเป็นเพราะ..ข้างบนมีความอุ่นจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟ
(อาจเป็นเหตุผลเดียวกับนก?)
1
🚩 จากรูป..เราจะเห็นว่า”งู” พยามเลื้อยเข้าไปหา “นก”
🚩 จากรูป..นก คงบอกกับงูว่า “Catch me if you can”
🔅เรามักพบว่า งู มัก”พลีชีพ”บ่อยครั้งกว่า นก ?!
🚩 นั่นเป็นเพราะ..งู มีลำตัวที่ยาว และมีโอกาสที่ไฟฟ้าจะไหลครบวงจร
จากการที่ลำตัวงู แตะสายไฟ 2 เส้น
หรือแตะกับเสาไฟฟ้า (สายไฟ - เสาไฟฟ้า)
🔅เราพบ “นกพลีชีพ” บ้างมั้ย?
🚩 พบครับ..ในประเทศไทย พบว่า “นกเอี้ยง” พลีชีพบ่อยครับ
เพราะธรรมชาติของ “นกเอี้ยง”อยู่กันเป็นฝูง..
ช่วงจังหวะ”กระพือปีก” มีโอกาสที่ปีกอีกข้าง..
แตะสายไฟ หรือ ผิวเสาไฟ..จนทำให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร..
หลายเหตุการณ์..ที่ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณวงกว้าง..
เกิดจาก “นก” และ “งู” ที่พลีชีพ..คาเสาไฟฟ้า
ด้วยเหตุนี้ ทางการไฟฟ้าฯ จึงมีอุปกรณ์ที่ป้องกันงู และนก ครับ
Cr : https://m.facebook.com/pg/aom16102529/posts/
นอกจาก...
🚩นก
🚩งู
เรายังพบ “สัตว์อื่นๆ” ที่ขึ้นเสาไฟเหมือนกันครับ
Cr : PEA
ผู้อ่านช่วยลองทายดูว่า..
สิ่งนี้ในรูป มีไว้เพื่อป้องกันสัตว์ใด ในการขึ้นเสาไฟฟ้า?
-
-
-
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
ลอง...ตอบคำถาม..ไปด้วยกัน😊

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา