Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE SNIKET-D
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2020 เวลา 11:45 • สุขภาพ
ปัจจุบัน ต้องบอกว่าเทรนด์รักสุขภาพกำลังมาแรงเลยทีเดียว คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทุกคนต่างสรรหาสิ่งดี ๆ ให้กับร่างกายตนเอง
นอกจากการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า และการปรึกษาผู้เชียวชาญด้านสุขภาพ
1
สิ่งหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก นั่นก็คือ การรับประทานวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั่นเองครับ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสองตัวที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ ก็คือ น้ำมันปลา กับ น้ำมันตับปลาครับ เนื่องด้วยความใกล้เคียงของชื่อของมัน ทำให้หลายคนสับสนและเข้าใจผิดกันเยอะ คิดว่าคือตัวเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะได้จากปลาเหมือนกัน แต่ส่วนประกอบและประโยชน์ของมันไม่เหมือนกันนะครับ
1
น้ำมันปลา หรือ Fish oil เป็นสารอาหารประเภทไขมันที่สกัดจากส่วนเนื้อ หัว หาง และหนังปลาทะเล เช่น ปลาแอนโชวี่ ปลาแซลมอน ปลาแมคคอเรล และปลาทูน่า
น้ำมันปลาเป็นแหล่งของ โอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายของมนุษย์สร้างเองไม่ได้
โดยโอเมก้า-3 ที่พบในน้ำมันปลา ได้แก่ อีพีเอ (EPA) และ ดีเอชเอ (DHA)
โครงสร้างทางเคมีของ Eicosapentaenoic acid (EPA) และ Docosahexanoic acid (DHA)
ไอโคซาเพนทาอีโนอิก แอซิด (Eicosapentanoic acid) หรือ อีพีเอ (EPA) เป็นโอเมก้า-3 ที่มีพันธะคู่ในโมเลกุล 5 ตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งพันธะคู่จะทำให้ไขมันไม่อิ่มตัว จึงเป็นไขมันที่ดี ยิ่งมีพันธะคู่เท่าไหร่ ยิ่งดีมากเท่านั้นนะครับ
1
อีพีเอ พบว่ามีส่วนช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยการป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดและป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดระดับไขมันในเลือด ได้แก่ ไขมันไตรกลีเซอไรด์และคอลเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL Cholesterol) นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ ของร่างกาย จึงมีส่วนช่วยลดอาการข้อเสื่อม ปวดข้อหรือข้ออักเสบได้
2
โคซาเฮกซาอีโนอิก แอซิด (Docosahexanoic acid) หรือ ดีเอชเอ (DHA) เป็นโอเมก้า-3 ที่มีพันธะคู่ในโมเลกุล 6 ตำแหน่ง ซึ่งมีพันธะคู่มากกว่า อีพีเอ จึงมีประสิทธิภาพมากกว่านะครับ
1
ดีเอชเอ เป็นส่วนประกอบของสมองและดวงตา ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมอง ความจำ และการมองเห็น โดยการเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ประสาทในสมอง ทำให้สมองมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม เพิ่มความจำ และเสริมสร้างการเรียนรู้
สำหรับปริมาณการรับประทานน้ำมันปลาที่เหมาะสม สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (American Heart Association; AHA) ได้แนะนำไว้ดังนี้ครับ
ผู้ทีมีสุขภาพดี แนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า-3 อย่างน้อย 500 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด แนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า-3 อย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง แนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า-3 อย่างน้อย 2,000-4,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ส่วนข้อจำกัดของน้ำมันปลา คือ ไม่แนะนำสำหรับผู้แพ้อาหารครับ เพราะอย่างที่บอกไว้แต่ต้น น้ำมันปลาได้จากปลาทะเลไงละครับ นอกจากนี้ผู้ที่เตรียมตัวผ่าตัดควรงดก่อนผ่าตัด 7 วันและหญิงใกล้คลอดควรงดก่อน 1 เดือนก่อนคลอด เนื่องจากอาจจะทำให้เลือดแข็งตัวช้านั่นเอง
ส่วนน้ำมันตับปลา หรือ Cod liver oil ตามชื่อเลยครับ เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลาคอด เป็นตับของปลาทะเลที่อุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินดี ส่วนอีพีเอและดีเอชเอในน้ำมันตับปลา มีอยู่น้อยมาก ๆ ครับ
1
วิตามินเอ จะมีบทบาทสำคัญคือเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ และช่วยในการมองเห็นในที่มืด ในผู้ที่ขาดวิตามินเอ จะมีอาการตาบอดกลางคืน (Night blindness)
2
ส่วนวิตามินดี มีหน้าที่ในช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส เสริมการสร้างกระดูกให้เป็นไปอย่างปกติ เด็กที่ขาดวิตามินดีจะมีภาวะ กระดูกอ่อน (Rickets) ส่วนในผู้ใหญ่ เรียกว่าภาวะ ออสทีโอมาลาเซีย (Osteomalacia)
สำหรับน้ำมันตับปลาควรรับประทานในขนาดที่เหมาะสมครับ เพราะหากรับประทานมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษจากวิตามินเอ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง ผิวแห้ง ปัสสาวะบ่อย ตับและระบบประสาทถูกทำลาย ส่วนการได้รับวิตามินดีมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลต่อระบบเลือดได้ครับ
น้ำมันตับปลาไม่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์นะครับ เนื่องจากมีปริมาณวิตามินเอในขนาดสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้
จะเห็นได้ว่าน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา แม้จะชื่อใกล้กันมาก แต่แหล่งที่มา ส่วนประกอบ ประโยชน์ ข้อจำกัดและข้อควรระวังของมันแตกต่างกัน
ดังนั้นการศึกษาข้อมูลก่อนจะรับประทานถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่เราจะได้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างถูกต้องและเหมาสมกับตนเอง และไม่เกิดผลเสียต่องร่างกายเราเองครับ
1
-THE SNIKET-
ขอบคุณข้อมูล
AHA Recommendations for Omega-3 FA Intake // Kris-Etherton PM et al.
คู่มืออาหารเสริม ฉบับสมบูรณ์ // ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์
ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา // รศ.ดร.พญ.นลินี จงวิริยะพันธุ์
น้ำมันปลา VS น้ำมันตับปลา ความแตกต่างที่คนทั่วไปคิดว่า... เหมือนกัน!! // MEGA We care
1
26 บันทึก
38
23
25
26
38
23
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย