8 ส.ค. 2020 เวลา 13:50 • การ์ตูน
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด
ตอนที่ปรากฏ :: ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ภาค3 ตอนที่ 120-121 :: คดีฆาตกรรมนักดำน้ำ
• ใช้เชือกรัดเหนือบาดแผล ระหว่างแผลกับหัวใจเพื่อชะลอไม่ให้พิษงูเข้าสู่หัวใจ การรัดไม่ควรรัดแบบขันชะเนาะ เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณใต้ที่รัดไว้ไม่ได้ อาจทำให้เกิดเนื้อตาย และเน่าได้ภายหลัง ถ้าหากว่าต้องใช้เวลานาน กว่าจะพบแพทย์ ก็ควรจะเปลี่ยนบริเวณที่รัดเชือกโดยรัดอีกเปราะหนึ่งเหนือที่รัดครั้งแรกแล้วจึงคลายเปราะเดิมออก ทำเช่นนี้เรื่อยๆ อาจทำทุก 10 นาทีจนกว่าจะพบแพทย์
• พยายามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ที่จะทำให้พิษเข้าสู่หัวใจได้เร็วขึ้น
• ไม่ควรใช้ไฟจี้แผล ใช้มีดกรีดแผล หรือดูดแผล (***ย้ำว่า ไม่ควรดูดแผลนะ!!! เพราะจะทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น )
• ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้ยากระตุ้นหัวใจ มอร์ฟีน และยาระงับประสาท ยาแก้แพ้ต่างๆ เพราะจะทำให้อาการสับสนจากอาการจากงูพิษทางระบบประสาท
• อย่าเสียเวลาลองยากลางบ้าน หรือวิธีรักษาแบบอื่นๆ
• ควรรีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลที่มีเซรุ่มโดยเร็วที่สุด
ที่มา : สพ.ญ.พรทิพา โรจนแสง สถานเสาวภา
สำหรับในตอน คดีฆาตกรรมนักดำน้ำ เป็นพิษของงูทะเล ซึ่งมีพิษต่อกล้ามเนื้อ
พิษของงูจะไปทำลายเซลล์กล้ามเนื้อ เกิดภาวะ rhabdomyolysis มีการแตกสลายของเซลล์ ปล่อย มัยโอโกลบิน และโปแตสเสียมออกมาในกระแสเลือด มัยโอโกลบินจะขับออกทางปัสสาวะเป็นภาวะปัสสาวะมี มัยโอโกลบิน (myoglobinuria) ซึ่งจะตกตะกอนในท่อใด ทำให้มีการอุดตันเกิดเป็นภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน
นอกจากนี้สารแทนนินที่พบในน้ำชาใช้ล้างปากแผลระงับพิษงู เป็นวิธีปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูทะเลกัดได้ดีที่สุด ดังนั้นผู้ที่ใช้ปากดูดพิษงูออก ก็ต้องใช้น้ำชากลั้วปากเพื่อเอาพิษงูออกจากปากด้วยเช่นกัน
แหล่งอ้างอิง : http://www.dld.go.th/vrd_np/sara_snake16-10-49.htm
1
ตอนที่ปรากฏ :: ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ภาค3 ตอนที่ 120-121 :: คดีฆาตกรรมนักดำน้ำ
โฆษณา