9 ส.ค. 2020 เวลา 02:30 • ความคิดเห็น
ทำไมเราไม่เรียก "พลอวกาศโท"
#BFSS เขียนเกี่ยวกับกองทัพอวกาศ ของสหรัฐอเมริกาไว้หลายโพสต์ทีเดียว
โดยเฉพาะล่าสุดที่เรานำเกี่ยวกับการจัดองค์กรของกองทัพอวกาศ ที่เริ่มจะมีรูปแบบชัดเจนเป็นตัวของตัวเองมาให้ได้อ่านกันนั้น ได้มีผู้อ่านหลายๆท่าน ถามเหมือนกัน
ว่าทำไม เราเรียกชั้นยศของนายทหารในกองทัพอวกาศ ว่า"พลอวกาศโท"
"นาวาอากาศเอก"
รวมไปถึงอยากให้แนะนำเปรียบเทียบยศทหารให้ได้ทราบกัน
วันนี้เราเลยคิดว่าน่าจะมาบอกเล่าวิธีการที่ "BFSS" ใช้ในการแปลบทความต่างๆ
โดยทั่วไปและใช้การเทียบยศ ว่าเราเองมีวิธีอย่างไร หรือยึดหลักอย่างไรกันดีกว่าครับ
อย่างแรก ในการแปลและเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับ"ทหาร"ของต่างประเทศ รวมถึงบทความในเรื่องอื่นๆ ด้วย เราคำนึงถึงการ "Localization" คือปรับให้เข้ากับรูปแบบหรือวัฒนธรรมของเรา เพื่อความเข้าใจหรือเทียบเคียงเปรียบเทียบกันได้ง่าย
ประเภท ชื่อหน่วยงานหรือชื่อตำแหน่งต่างๆ เป็นต้น
ถ้าเราเจอหน่วยงานที่ระดับกองบัญชาการที่ดูแลการฝึกและศึกษา ให้กับกองทัพบกของประเทศนั้นๆ เราก็จะแปลให้เป็น กรมยุทธศึกษา..... นั่นเอง
หรือ ประธานคณะเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา ( Chief Of Staff of The Army) เราทราบดีว่า หน้าที่และอำนาจ ไม่เหมือนกับตำแหน่ง ผบ.ทบ.ของไทย แต่เพื่อความเข้าใจง่าย เทียบเคียงกันในระดับตำแหน่ง เราก็จะใช้คำว่า ผบ.ทบ.สหรัฐ ฯ นั่นเอง... ซึ่งกรณีนี้โดนทักท้วงค่อนข้างบ่อยครับ
เอาเข้าจริง มีกรณีคล้ายกันคือ การที่รัฐบาลจีน และสื่อทั่วโลก ใส่ตำแหน่งของสี จิ้น ผิง ว่าประธานาธิบดีจีน ทั้งๆที่ตำแหน่งของ ท่านสี ปัจจุบันมี 3 ตำแหน่งคือ ประมุขของประเทศ ที่เรียกว่า ประธานประเทศ ตำแหน่งที่สองคือ ประธานกรรมาธิการทหารกลาง และตำแหน่งที่สาม เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่เพื่อความเข้าใจง่ายและเทียบกับฝั่งตะวันตก แม้แต่ทางการจีนเองก็ยังใช้คำว่า President เวลาเผย
แพร่ข่าวในภาษาอังกฤษ
1
ทีนี้มาในเรื่องของยศ กันบ้างอย่างแรกเลย ยศของทหารไทยใช้ระบบอังกฤษ ทั้งในรูปแบบของภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มาถึงตรงนี้ทุกท่านอาจจะงง ว่า "เอ๊ะ" หมายความว่ายังไง ใช้ระบบอังกฤษทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ คือทั้งสามเหล่าทัพใช้คำเรียกยศ คนละแบบกันตามเหล่าทัพตัวเอง คือ กองทัพบก ก็เป็น สิบ... จ่าสิบ.. ร้อย.. พัน.. พล... กองทัพเรือเป็น จ่า... พันจ่า.. เรือ... นาวา... พลเรือ.... กองทัพอากาศ เป็น จ่าอากาศ... พันจ่าอากาศ... เรืออากาศ... นาวาอากาศ... และพลอากาศ....
1
เพราะฉะนั้นเวลาแปลบทความหรือข่าวต่างๆ ก็จะดูที่ตัวเหล่าทัพเป็นหลักและเทียบ
ยศกับเหล่าทัพของไทย แล้วใช้ตามนั้น จะร้อยเอก นาวาโท พลอากาศตรี อะไรก็ว่ากันไป
ทีนี้ ก็มาถึงว่า แล้วทำไม กองทัพอวกาศ เราไม่แปล เป็น พลอวกาศโท อะไรแบบนี้ไปเลยล่ะ เพราะเมืองไทยไม่มี? ก็ไม่ใช่ซะทีเดียวครับ
ต้องขอเท้าความแบบนี้ ยศทหารสหรัฐนั้นไม่เหมือนอังกฤษ ทหารบก ทหารอากาศ นาวิกโยธิน และรวมถึงกองทัพอวกาศด้วย ใช้คำเรียกชื่อยศเหมือนกันหมดคือใช้ตามทหารบก เช่น พลเอก General ไม่มีการใช้คำว่า Air Chief Marshall หรือ รูปแบบอื่นๆ แถมเครื่องหมายยศ ของทั้งสามเหล่าที่ว่ามานี้ ยังใช้เหมือนกันหมดอีกด้วยในระดับชั้นสัญญาบัตร เช่น ชั้นยศ พันเอก ก็ใช้ เครื่องหมายรูป นกอินทรีสีเงินทั้งหมด
มีเฉพาะกองทัพเรือสหรัฐและหน่วยยามฝั่งเท่านั้น เท่านั้นที่ใช้คำเรียกชื่อยศ แตกต่างจากเหล่าทัพอื่น พร้อมทั้งมีเครื่องหมายยศ แบบเต็มที่ไม่เหมือนใคร
(กระดานบ่า ขีดๆเหมือนทหารเรือของเรา)
ดังนั้นเวลาเราเขียนบทความ แม้ในบทความหรือเรื่อง ข่าว ต้นทางที่นำมาอ้างอิง จะเขียนว่า General ที่แปลว่าพลเอก แต่ถ้าบุคคลในข่าว เป็นทหารอากาศ เราก็จะใช้คำแปลว่า "พลอากาศเอก" เพื่อเป็นการปรับให้เข้ากับบ้านเรา
สำหรับกองทัพอวกาศ เนื่องจากเรามองว่า รากฐานเดิมของเค้าคือการปรับโอนจากกองทัพอากาศมาทั้งหมด เครื่องแบบก็ใช้เครื่องแบบเดียวกันกับกองทัพอากาศ ยกเว้นสัญลักษณ์ในเครื่องหมายยศชั้นประทวน และที่ตั้งหน่วยงานต่างๆ ยังมีความเป็น
เนื้อเดียวกันกับกองทัพอากาศอยู่มาก
7
รวมถึงการควบคุมจากฝ่ายพลเรือนที่อยู่ภายใต้ "ทบวงทหารอากาศ" เหมือนกัน ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ เราจึงเลือกที่จะใช้ ยศของทหารอากาศในการเขียนบทความถึงกองทัพอวกาศครับ
อาจจะดูย้อนแย้งไปสักนิด เมื่อเทียบกับกรณีของนาวิกโยธิน ซึ่งในกองทัพเรือของ
ไทยเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพเรือ เป็นทหารเรือ ใช้เครื่องแบบชั้นยศ ของกองทัพเรือ แต่เรามองว่า นาวิกโยธินของสหรัฐ แม้จะอยู่ภายใต้ "ทบวงทหารเรือ" แต่มีเครื่องแบบมีหลักนิยม และแยกออกจากกองทัพเรือมาแล้ว
จึงเหมาะที่จะแปลโดยใช้ชั้นยศแบบทหารบกตรงกับต้นฉบับบภาษาอังกฤษ
มากกว่า
เอวัง ด้วยประการละฉะนี
โฆษณา