Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Big Girl Noxx
•
ติดตาม
14 ส.ค. 2020 เวลา 00:07 • สัตว์เลี้ยง
อยากมีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเอง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างนะ ?
เลี้ยงสัตว์ด้วยความรับผิดชอบ ไม่ปล่อยให้เป็นภาระคนอื่น และต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนนะ
สัตว์เลี้ยง สิ่งที่ใครหลายๆ คนอยากได้มาเติมเต็มให้กับชีวิตตัวเอง เพราะชีวิตคงจะมีความสุขมาก ถ้ามีสมาชิกในบ้านเป็นสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเราเอง สามารถเลี้ยงเล่นกับเขาได้เต็มที่ แต่การเลี้ยงสัตว์ไม่ใช่แค่การอยู่เล่นกับเขาเท่านั้น ต้องมีการดูและเอาใจใส่ในเรื่องต่างๆ ด้วย ก่อนที่จะรับสัตว์มาเลี้ยงจึงต้องสำรวจด้วยว่า ตัวเองมีความพร้อมดังต่อไปนี้แล้วหรือยัง?
7. ความพร้อมเรื่องสถานที่
ก่อนอื่นเลยสำหรับการเลี้ยงสัตว์เหล่านั้น เราควรจะต้องมีสถานที่รองรับเป็นอันดับแรก อย่างเช่น ถ้าหากว่าจะเลี้ยงสุนัขตัวใหญ่ แต่ไม่มีพื้นที่ให้เดินให้เล่นสักเท่าไหร่อาจจะมีผลต่อสุขภาพกายและจิตใจของเขานะ การเลี้ยงสัตว์ที่มีขนาดเล็กลงมาสักหน่อย อาจจะเหมาะสมกับสถานที่มากกว่า รวมถึงข้าวของในบ้านจะเสียหายไหมถ้ามีสัตว์เลี้ยงมาอยู่ด้วย จะได้ไม่เกิดปัญหาจากความซุกซนของสัตว์เลี้ยงเอาได้ในภายหลังค่ะ
6. ที่ๆ อยู่ให้เลี้ยงสัตว์ไหม
ห้องเช่า คอนโด อาคารสถานที่บางแห่ง ไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ ก็ควรต้องเช็คให้ดีก่อนด้วย หากมารู้ในภายหลังจะเกิดปัญหาเอาได้ การแอบเลี้ยงก็ไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะต้องอยู่กับแบบหลบๆ ซ่อนๆ ต้องหวาดระแวงจะมีความสุขได้ยังไง ควรมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมด้วย อาจจะมีบางคนที่แพ้ขนสัตว์ หรือสัตว์บางตัวอาจเป็นพาหะนำโรคมาให้ รวมถึงการขับถ่าย พฤติกรรมของสัตว์ที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ที่อยู่อาศัยร่วมกันได้ อย่ารักสัตว์จนมองข้ามความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเลยนะคะ
5. ความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย
เขาว่าค่าใช้จ่ายของสัตว์เลี้ยงที่คุณควรจะมีสำรองเอาไว้ใช้นั้น ให้คูณกับค่าตัวไป 5 เท่าได้เลย สัตว์เลี้ยงคือสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่แค่ซื้อมาเลี้ยงแล้วก็จบ แต่ยังมีภาระต่อเนื่องทั้งค่าวัคซีน ค่าทำหมัน ค่ารักษายามเจ็บไข้ได้ป่วย ค่าอาหาร ค่าดูแลเรื่องการทำความสะอาดและตัดขน ถ้าเลี้ยงทั้งทีแล้วคิดว่ามันเป็นค่าใช้จ่ายที่ตัวเองรับผิดชอบไม่ไหวก็ไม่ควรเลี้ยง เพราะเราจะพาเขามาลำบาก และตัวเองก็จะเดือดร้อนในภายหลังเอาได้ด้วยค่ะ
4. รู้จักลักษณะเฉพาะตัวของสัตว์ที่จะเลี้ยง
สัตว์เลี้ยงแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะในเรื่องของนิสัยใจคอ บางพันธุ์ก็มีความเป็นมิตรมาก บางพันธุ์มีพลังงานเยอะต้องมีที่กว้างๆ ไว้วิ่งเล่น บางพันธุ์ดุร้ายต้องให้ความระวังและใส่ใจเป็นพิเศษไม่เช่นนั้นอาจจะไปทำร้ายคนอื่นได้เป็นต้น ร่วมถึงโรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่พบได้ในสัตว์เหล่านี้ ที่ต้องรู้และพร้อมรับมือเอาไว้ก่อนด้วย
3. ต้องมีเวลาให้กับเขา
สัตว์เลี้ยงบางชนิดนั้นติดคนมาก ต้องอยู่ใกล้ชิดคนตลอด หากว่าคุณต้องรีบไปทำงานแต่เช้า กลับบ้านก็มืดค่ำ สัตว์เลี้ยงที่เฝ้ารอคอยอยู่กับคุณทั้งวันก็น่าสงสารแย่ เพราะต้องอยู่เหงาๆ ตัวเดียว รวมถึงสัตว์บางชนิดต้องมีเวลาพาเขาไปเดินไปวิ่งเล่น ใส่ใจเรื่องดูแลทำความสะอาดหวีขน ดูแลเรื่องตาและใบหู สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องมีเวลาให้ทั้งนั้น อย่าได้รับเขามาเลี้ยงแบบทอดทิ้งเลยหากคุณยังไม่พร้อมนะคะ
2. เรื่องคุมกำเนิด
ควรวางแผนเอาไว้ตั้งแต่ก่อนที่จะเลี้ยงเลยดีที่สุด ว่าต้องการจะให้เขามีลูกไหม ไม่ว่าสัตว์เลี้ยงจะมีเพศไหนก็ตาม เพราะปัจจุบันสัตวแพทย์จะแนะนำให้ทำหมันสัตว์เลี้ยงเลย เพราะจะเป็นผลดีกับสุขภาพของสัตว์เลี้ยงมากกว่าทิ้งเอาไว้โดยไม่ได้ทำหมัน ถ้าตั้งใจจะเลี้ยงแค่ตัวเดียวไม่ต้องการมากกว่านั้น ก็สามารถทำหมันได้เลย เพื่อตัวสัตว์เลี้ยงของคุณเองค่ะ
1. อายุขัย
สัตว์เลี้ยงก็เหมือนคนที่ย่อมมีวันแก่ชรา แต่ละชนิดและสายพันธุ์มีอายุขัยที่มากหรือน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่พันธุกรรมและการเลี้ยงดู รวมถึงในวัยที่เขาแก่ตัวลงไม่น่ารักเหมือนตอนเด็กๆ แล้ว คุณยังจะเลี้ยงและรับผิดชอบชีวิตเขาอยู่ไหม ในอนาคตมีเหตุปัจจัยที่อาจจะทำให้เลี้ยงต่อไม่ได้หรือเปล่า ก็เป็นอีกสิ่งที่ควรคิดให้รอบคอบเหมือนกันค่ะ
สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องควรฉุกคิดเสมอ ก่อนที่จะทำการเลี้ยงสัตว์นะคะ เพราะสัตว์เลี้ยงเองก็มีชีวิตจิตใจไม่ได้ต่างจากคนเหมือนกัน เหมือนกับเลี้ยงเด็กคนหนึ่ง ที่เราต้องใส่ใจดูแลเขาด้วย เพราะเขาไม่สามารถพูดและบอกกับเราได้ ดังนั้นการที่จะรับชีวิตหนึ่งมาดูแลก็ควรที่จะต้องมีความพร้อมจริงๆ มีจิตสำนึกที่จะไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนเพราะสัตว์เลี้ยงของเราด้วยค่ะ
ตอนนี้คุณมีสัตว์เลี้ยงไหม?
✪ บทความ โดย : Akine_noxx
✿ เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บ Spice/Pepper
❀ ฝากติดตาม กดไลค์ กดแชร์ คอมเม้นท์เป็นกำลังใจกันด้วยนะคะ
บันทึก
2
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ทริค และเคล็ดลับ
2
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย