Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Paidoo (ไปดู) Property
•
ติดตาม
9 ส.ค. 2020 เวลา 13:13 • อสังหาริมทรัพย์
นายหน้ากับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างกันอย่างไร
นายหน้าหรือนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการอสังหาแต่มีความแตกต่างกันหลายอย่าง มีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ
1. นายหน้าไม่มีโอกาสขาดทุน นักลงทุนอสังหามีโอกาสขาดทุน : ข้อนี้ทุกคนต้องถาม-ตอบกับตัวเองให้ดีถ้าใครพบว่าตัวเราเองกลัวการขาดทุนมากๆ หรือถ้าขาดทุนขึ้นมากจะมีอาการเครียดแบบสุดๆ ชีวิตพังทลาย แนะนำว่าเลือกเป็นนายหน้าอสังหาดีกว่าเป็นนักกลงทุนอสังหาเพราะ การลงทุนอสังหาถ้าพลาดขึ้นมา อยู่กับอสังหาชิ้นนั้นไปอีกหลายปีเลยครับ จิตตกแน่นอน ส่วนนายหน้าเต็มที่คือ เสียเวลา เสียพลังงาน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง
2. นายหน้าได้ค่าคอมมิชชั่น 3% นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ กำไรไม่มีลิมิต : โดยปกตินายหน้าจะคิดค่าคอมมิชชั่น อยู่ที่ 3% ส่วนนักลงทุนอสังหา ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับทรัพย์ที่หาได้ อาจมากกว่าค่าคอมมิชชั่น แต่บางครั้งก็อาจขาดทุนได้เหมือนกัน
3. นายหน้าต้องหาข้อดีของอสังหามาอธิบาย ส่วนนักลงทุนต้องดูทั้งข้อดี ข้อเสียของอสังหาชิ้นนั้น : ทั้งสองข้อยากคนละแบบ บางคนสามารถมองของดีของ อสังหาแต่ละชิ้นออกได้และอธิบายได้ชัดเจนทำให้ปิดการขายได้ ขณะที่บางคนสามารถมองข้อดีและของเสียของอสังหาได้อย่างแม่นยำมองออกว่าอสังหาชิ้นไหนควรลงทุนชิ้นไหนไม่ควรลงทุน
4. นายหน้าต้องมีใจบริการสูง นักลงทุนอสังหาต้องไม่เบื่อในการไปดูอสังหา : นายหน้าเองต้องใช้พลังงานในการเปิดห้อง หรือพาลูกค้าไปดูที่ดินสูงมาก บางครั้งลูกค้าที่มาดูใช่ว่าทุกคนจะตัดสินใจซื้อเลย ดังนั้นนายหน้าต้องมีใจบริการที่สูงมากๆ
ขณะที่นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีใครบังคับให้ต้องไปดูทรัพย์เยอะๆ ดังนั้นนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต้องชนะตัวเอง!!! เพราะถ้าไปดูอสังหาริมทรัพย์น้อยเกินไป มีโอกาสเลือกพลาดขาดทุนได้
นี่คือข้อแตกต่างระหว่างนายหน้ากับนักลงทุนบางส่วนนะครับ แต่สิ่งที่ควรเหมือนกันคือใจรักในสิ่งที่ทำ เพราะถ้าเราทำอะไรด้วยใจรัก ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าแน่นอน
ฝากติดตาม Paidoo Property ด้วยนะครับ
7 บันทึก
26
4
15
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ลงทุนอสังหาริมทรัพย์
7
26
4
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย