9 ส.ค. 2020 เวลา 13:51 • ธุรกิจ
ต่าง Gen ต่างใจ... ทำงานไงไม่ให้ขัดกัน
ปัญหาโลกแตก... ก็คือ คนกับคน นี่แหละ...
ว่ากันว่า... อยู่ใกล้คนแล้วมันวุ่นวาย...
อยู่ใกล้ธรรมชาติต้นไม้... แล้วใจมันสงบ...
ยุคนี้ เขาจำแนกผู้คนออกเป็น 5 รุ่น (generation)...
Gen-1 ผู้ที่เกิดก่อนปี ค.ศ. 1945 อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป (นับถึงปี ค.ศ. 2020) เป็น
กลุ่มประเพณีนิยม ค่อนข้างอนุรักษ์ คุ้นชินกับระบบการทำงานสั่งการตามลำดับชั้นจากบนลงล่าง ตัวอย่างของคนรุ่นนี้เช่น อดีตนายก ลีกวนยู ของสิงคโปร์ บริษัทของคนรุ่นนี้เช่น ซัมซุง ฮุนได (เกาหลีใต้)
Gen-2 หรือ รุ่นเบบี้บูมเมอร์ (Baby boomer) เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1946-1964 อายุระหว่าง 56-74 ปี เป็นรุ่นที่มีลูกกันมากเพราะตายไปเยอะในช่วงสงครามและยังไม่ค่อยคุมกำเนิดกัน คุ้นเคยกับการบริหารงานในแนวราบที่สายการบังคับบัญชาไม่มากเท่ารุ่น Gen-1 มีประสบการณ์กับประชาธิปไตย ความเสมอภาค แต่ยังคงระมัดระวังและสงวนท่าที ตัวอย่างคนรุ่นนี้เช่น เบิร์ด ธงชัย
แม็คอินไตย บริษัทของคนรุ่นนี้เช่น วอล์ท ดีสนีย์
Gen-3 หรือ Gen-X เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1965-1976 อายุระหว่าง 44-55 ปี เป็นรุ่นที่คุ้นเคยกับการทำงานที่สนุกสนาน สิ่งแวดล้อมเป็นบวก มีประสิทธิภาพ ก้าวหน้าเร็ว ชิวๆ ยืดหยุ่น สามารถเข้าหาหัวหน้าหรือแหล่งข้อมูลโดยตรง มองเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสใหม่ๆ ตัวอย่างคนรุ่นนี้เช่น โน้ต อุดม แต้พานิช บริษัทของคนรุ่นนี้เช่น ไมโครซอฟท์
Gen-4 ที่เรียกว่า Gen Millennium หรือ Gen-Y เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1977-1997 อายุระหว่าง 23-43 ปี ทันเจอวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เป็นรุ่นที่เป็นที่มาของคำว่า 'ของมันต้องมี' คุ้นเคยกับการทำงานที่เป็นความร่วมมือประสานงาน (collaboration) เน้นการได้ผลลัพธ์ มองโลกแง่บวก มีความคิดสร้างสรรค์ สนุก ปรับเปลี่ยนได้เร็ว ชอบให้ข้อเสนอแนะ มองการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสใหม่ๆ ตัวอย่างคนวัยนี้เช่น ตูน บอดี้สแลม บริษัทของคนในวัยนี้เช่น กูเกิล
Gen-5 หรือ Gen-Z เกิดหลัง ค.ศ. 1997 อายุน้อยกว่า 23 ปี ชอบการทำงานที่แข่งขัน มีอิสระ ชอบทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน (multi-task) เกิดมากับโลกดิจิทัล มีลักษณะของผู้ประกอบการ แต่ก็ยังต้องการความมั่นคง ต้องการคนดูแล ชอบให้มาพูดเฉพาะตัว ไม่ใช่สั่งการมาทั้งกลุ่ม ตัวอย่างคนในกลุ่มนี้เช่น
บีเอ็นเค บริษัทของคนรุ่นนี้เช่น บริษัทรถยนต์เทสล่า (อีลอน มัสก)์
ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ นะครับว่า แต่ละเจนก็ประมาณนี้ แต่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอายุน้อยแต่อาจมีรสนิยมอนุรักษ์ก็ได้... 555
ข้อมูลข้างต้นนี้ช่วยให้เราได้ถอยหลังกลับมาตั้งหลักเวลาที่ประสบกับผู้ร่วมงานที่... เอ๊ะ... ทำไมคิดแบบนี้ ทำไมคิดต่าง... ก็อย่าเพิ่งของขึ้น
ถอยมาคิดซักนิดว่า เออ... เค้าเจนไหนน้า... ก็อาจจะถึงบางอ้อว่า... อ๋อ... ทำไมถึงคิดแบบนี้...
เวลาที่เราถอยมาตั้งหลักและพยายามทำความเข้าใจผู้คนนี่ จะทำให้เรามองอะไรรอบตัวเป็น ภววิสัย (objective)... (555 ไม่รู้เรื่องใช่ไหมครับ) ก็คือ มองตามความเป็นจริง ไม่เอาความรู้สึกชอบไม่ชอบของเราเข้ามาตัดสิน... (อันหลังนี้เรียกว่า อัตวิสัย หรือ subjective คือมุมมองต่อสิ่งต่างๆ โดยใช้ความรู้สึกความเชื่อของตน...)
การถอยหลังมามองว่า... เอ... เขาเป็นคนรุ่นไหน หรือ มีพื้นเพมายังไง ทำไมถึงคิดแบบนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจคน สนุกกับการได้เรียนรู้คน สามารถสื่อสารหรือทำงานกับเขาได้ดีขึ้น ราบรื่นขึ้น... เพราะถ้าเรามัวแต่คิดถึงตัวเอง เอาความคิดความรู้สึกตัวเองเป็นหลัก ก็จะหงุดหงิดรำคาญประมาณว่า ยัยนี่เยอะ พูดไม่รู้เรื่อง หมักเม่า... ยาวเลยทีนี้ ยิ่งคิดยิ่งมะโหและเซ็ง...
คนที่เข้าใจคนอื่นจะดูเป็นคนมีเมตตา มีเสน่ห์ อบอุ่น น่ารักน่าเอ็นดู คนอยากมาคบหาสมาคมอยากทำงานด้วย... คนที่แม่นเป๊ะ อะไรๆ ก็ไม่ได้ ผิดไปจากที่คิดก็หงุดหงิด ของขึ้น... อันนี้ สังคมรังเกียจนะครับ... อิอิ
กลับไปที่หนังสือ 7 Habits of Highly Effective People ของ Stephen R Covey นิสัยอันแรกๆ ก็คือ 'Seek first to understand, then to be understood' ก็คือ พยายามเข้าใจคนอื่นให้ได้ก่อน... อย่าทำเป็นคนนอยๆ ขี้งอแง ต้องให้คนอื่นเข้าใจเราก่อนอยู่ร่ำไปนะครับ ม่ายงั้นแปลว่า ไม่ยอมโตซะที... หัดคิดถึงใจคนอื่น
ก่อนบ่อยๆ แล้วจะไม่เป็นคนขี้น้อยใจแถมใครๆ ก็รักนะ (จะบอกให้...)
#ChillChatAtWork
อย่าลืมกด Like & กด Follow (และตั้งค่าเป็น see first) เพื่อจะไม่พลาดเรื่องราวดีๆที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
โฆษณา