9 ส.ค. 2020 เวลา 15:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ
TIKTOK เหยื่อของ สงครามเย็นระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน
ถึงแม้ว่า สถานการณ์โควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปยังทั่วโลก แต่สงครามเย็นระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับ จีน ยังคงดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้า ที่ส่งผลให้ บริษัทชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน ลามไปถึงสงครามเทคโลยีระหว่างสองประเทศ เมื่อบริษัทมือถือยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Huawei เป็นเหยื่อรายแรกที่โดนแบนจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ Huawei ยังถูกยกเลิกในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเครือข่าย 5G ในสหราชอาณาจักร และ อินเดีย และล่าสุดแอปชื่อดังสัญชาติจีนอย่าง TIKTOK อาจจะโดนแบนในสหรัฐฯเช่นกัน
ความนิยมของ TIKTOK
TIKTOK ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทเอกชนสตาร์ทอัพสัญชาติจีน ที่มีชื่อว่า ByteDance
TIKTOK เปิดตัวครั้งแรกในจีน เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2016 โดยใช้ชื่อว่า Douyin จุดขายของ TIKTOK คือ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้คิดไอเดียสร้างสรรค์ สร้างวีดีโอคลิปสนุกสั้นๆ ความยาวประมาณ 15 วินาที เมื่อ Douyin ได้รับความนิยมอย่างมากในจีน ปีต่อมาบริษัท ByteDance ได้ขยายฐานผู้ใช้ไปยัง 150 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า TIKTOK และจากจุดเด่นของ TIKTOK ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร ทำให้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ในปี ค.ศ. 2019 TIKTOK มียอดดาวน์โหลดถึง 738 ล้านครั้ง 57 % ของผู้ใช้เป็นคนจีน ส่วนในตลาดต่างประเทศ ประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อันดับ 1 คือ อินเดีย ตามด้วย สหรัฐอเมริกา ตุรกี และ รัสเซีย เฉพาะปี 2019 บริษัท ByteDance มีรายได้ถึง 176.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
จำนวนยอดดาวน์โหลด TikTok ในตลาดต่างประเทศ เมื่อปี 2019
ปัจจุบัน TIKTOK มีจำนวนผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 1.5 พันล้านคน สูงสุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก นอกจากนี้บริษัท ByteDance ยังเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มูลค่าสูงสุดในโลก โดยมีมูลค่าถึง 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ปัจจุบัน TikTok มีจำนวนยอดดาวน์โหลดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก
รายได้ของบริษัท ByteDance ผู้คิดค้นและพัฒนาแอป TikToK
TIKTOK ผิดเพราะเป็นแอปจากจีน
สหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาแบน TIKTOK โดยให้เหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศ ถ้าสหรัฐอเมิรกาแบน TITOK จะเป็นประเทศรายที่สองต่อจากอินเดีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่แบน TIKTOK หลังจากอินเดียและจีนมีปัญหาข้อพิพาทด้านดินแดนหิมาลัย ซึ่งผลของการขัดแย้งดังกล่าวทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารของทั้งสองประเทศ ส่งผลให้ทหารอินเดียเสียชีวิตกว่า 20 นาย ขณะที่การแบน TIKTOK ของสหรัฐฯ เป็นการโต้ตอบจีน ซึ่งก่อนหน้านี้ จีนได้แบนแอปจาก สหรัฐฯ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google, Instagram และ Twitter
โฆษณา