Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระกฎหมาย by LawyerTon
•
ติดตาม
11 ส.ค. 2020 เวลา 05:25 • การศึกษา
เข้าไป "ทวงหนี้" ในบ้านของลูกหนี้ ไม่ผิดบุกรุก จริงหรือไม่ ?
รูปภาพจาก pixabay
เรามาหาคำตอบในเรื่องนี้กันครับ
คำเตือน !! : เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะครับ
พฤติการณ์ข้อเท็จจริงในแต่ละเหตุการณ์ อาจจะมี
รายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ก็อาจทำให้
ผลของคดีมีความเปลี่ยนแปลงไปตามข้อเท็จจริงนั้นๆ
เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือไม่จ่ายหนี้ (เบี้ยวหนี้)
เจ้าหนี้แชทถามก็ไม่ตอบ โทรไปก็ไม่รับสาย
หายเข้ากลีบเมฆ เป็นบุคคลสูญหายยย !!
(แต่อัพ เฟส , IG ตลอด)
เจ้าหนี้ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เอาไงดีหนี้ก็ไม่จ่าย
คิดอยู่นาน...เลยตัดสินใจไปหาลูกหนี้ถึงที่บ้าน !!!
เพื่อไปทวงหนี้กับลูกหนี้โดยตรง
ว่าแล้วเจ้าหนี้ก็เดินทางไปหาลูกหนี้ที่บ้าน
เห็นรั้วบ้านเปิดเลย เดินเข้าไปเคาะประตูเรียกหาลูกหนี้เลย
ปังๆๆ เสียงเคาะประตู
ลูกหนี้ ก็เอะ! ใครมาเคาะประตูบ้านหว่า??
เดินออกมาดู..
ลูกหนี้ตกใจ เจ้าหนี้นี่หว่าาาาา
ลูกหนี้ก็ใช่ย่อยรีบรวบรวมสติ ฮึ้บ!
ใช้วิชาที่เรียนรู้มา แล้วก็บอกเจ้าหนี้เลยว่า..
ฮั่นแน่!! ชอบเร่งเครื่องเหรอ (เย้ยผิดข่าว 555)
เข้ามาในบ้านฉันเรอะ แบบนี้ฉันจะฟ้องเธอ
ฐาน "บุกรุก" บ้านฉัน เตรียมตัวไว้ซะดีๆ
เจ้าหนี้ก็ตกอกตกใจ ในใจคิดว่า หนี้ ก็ยังไม่ได้
แล้วทีนี้ เราจะต้องติดคุกมั้ยเนี้ย
เจ้าหนี้เริ่มใจเสีย ??....
เจ้าหนี้ ใจเย็นๆครับ เด๋วจะอธิบายให้ฟัง..
ในกรณีเช่นนี้นะครับ
อ้างอิงจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364
"ผู้ใดโดย "ไม่มีเหตุอันสมควร" เข้าไป
หรือ ซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคารเก็บรักษา
หรือ สำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น
หรือ ไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น
เมื่อผู้มีสิทธิ์ที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก"
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ซึ่งหากเราตีความจากบทบัญญัตินี้นะครับ
การที่เราเข้าไปในเคหะสถาน(บ้าน) ของผู้อื่นนั้น
ต้องมี "เหตุอันสมควร"
หาก มีเหตุผลอันสมควร ก็ยังไม่ผิดฐานบุกรุก!!! นะครับ
จนกว่า "ผู้มีสิทธิ์ที่จะห้ามมิให้เข้าไป ได้ไล่ให้ออก"
เราลองมาหาฎีกาเทียบเคียงเพื่อความอุ่นใจกันครับ
ฎีกาที่ว่านี้คือ ฎีกาที่ 2549/2532 มีถ้อยคำบางตอนว่า..
"...จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อทวงค่าแรง
ที่ผู้เสียหายค้างบุตรชายของจำเลย
เป็นการเข้าไปโดย มีเหตุผลสมควรโดยสุจริต
จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุก"
และฎีกา 704/2538 ก็กล่าวในทำนองเดียวกัน
ซึ่งหากเราสังเกตุถ้อยคำ ในมาตรา 364 ให้ดีนะครับ
แม้เราจะเข้าไปโดย "มีเหตุผลอันสมควร"
แต่ถ้อยคำยังมีอีกต่อไปว่า
"..ไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น
เมื่อผู้มีสิทธิ์ที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.."
ฉนั้นแม้เราจะ "มีเหตุอันสมควร" ที่จะเข้าไปในเคหะสถาน
แต่หากเจ้าของบ้านไล่ออก(ลูกหนี้หนี้ไล่!!) 555
แล้วเรา "ไม่ยอมออกจากบ้าน"
อย่างนี้ก็จะ "ผิดบุกรุก" ในมาตรา 364 นี้นะครับ
เทียบเคียงฎีกาที่ 2616/2553
กล่าวโดยสรุปนะครับ
หาก เจ้าหนี้ จะไปที่บ้าน ลูกหนี้ เพื่อไปทวงเงิน
"ไม่ผิดบุกรุก" ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามที่ได้กล่าวมา
แต่หาก "ผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก"
(เช่นเจ้าของบ้าน)ได้ไล่ออกมา..
เจ้าหนี้ ก็ต้องออกมานะครับ จะทู่ซี้ อยู่ต่อไม่ยอมออก
ไม่ได้นะครับ
เพราะจะ "ผิดบุกรุก" ได้ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น
หมายเหตุ !!!
หากมีพฤติการณ์ ที่นอกเหนือจากการทวงถาม เช่นถือปืน อาวุธ
หรือพาพรรคพวกไปหลายๆคน หรือการกระทำอื่นๆ
ก็จะทำให้พฤติการณ์เปลี่ยนไปนะครับ
อาจจะมีความผิดอื่นๆแทนได้นะครับ
และต้องเป็นหนี้ที่ "ชอบด้วยกฎหมาย" ด้วยนะ
หากเป็นประโยชน์ กดLike หรือ กดแชร์ หรือ กดติดตาม
ตามแต่ท่านผู้อ่านจะพิจารณา
เพื่อเป็นกำลังใจด้วยด้วยจ้าาา
1 บันทึก
2
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายทั่วๆไป
1
2
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย