Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ยิปซี สำนักพิมพ์
•
ติดตาม
18 ส.ค. 2020 เวลา 00:00 • ประวัติศาสตร์
10 เรื่องน่าทึ่งของ 'คุกอัลคาทราซ'
+ อัลคาทราซ (Alcatraz) เป็นหนึ่งในเรือนจำที่นักโทษต้องพรั่นพรึงเมื่อได้ยิน มีชื่อเสียงเลื่องลือของความโหดและ
กฎระเบียบอันเข้มงวดของเรือนจำบนเกาะกลางอ่าวซานฟรานซิสโก
+ เรือนจำแห่งนี้เคยรองรับอาชญากรในตำนานอเมริกันอย่าง 'อัล คาโปน' (Al Capone) เจ้าพ่อมาเฟียชิคาโก ,
'วิคเตอร์ ลุสติก' (Victor Lustig) นักต้มตุ๋นจอมเจ้าเล่ห์ และ 'จอร์จ "ไอ้ปืนกล" เคลลี' (George “Machine Gun” Kelly) จอมโจรระดับแถวหน้าแห่งยุค
+ พรุ่งนี้ 11 สิงหาคม เป็นวันครบครบรอบ 86 ปี ของการเปิดประตู 'คุกอัลคาทราซ' (Alcatraz) เรือนจำที่ได้ชื่อว่ามีการเข้มงวดสูงสุดและไม่มีใครเคยหนีออกไปได้ เกาะแห่งนี้เป็น
ขึ้นชื่อลือชาว่าเคยคุมขังจอมอาชญากรชื่อกระฉ่อนมาหลายต่อหลายคน
+ ต่อไปนี้คือ 10 เรื่องที่คุณจะต้องทึ่งเกี่ยวกับคุกอัลคาทราซ
1.จากป้อมปราการสู่เรือนจำบนเกาะ
ชื่อ 'อัลคาทราซ' (Alcatraz) มาจากภาษาสเปน Isla de los Alcatraces แปลว่า เกาะนกกระทุง เนื่องจากชาวสเปนพบว่าบนเกาะเต็มไปด้วยนกกระทุง เดิมทีเป็นป้อมปราการที่คอยเฝ้าระวังอ่าวซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอเนียร์ ครั้นสมัยสงครามกลางเมืองอเมริกาก็ถูกใช้เป็นที่ขังเชลยศึกฝ่ายใต้และเชลยศึกจากสงครามอื่น ๆ กระทั่งปี 1933 เกาะแห่งนี้ถูกโอนความรับผิดชอบจากกองทัพสหรัฐฯมาเป็น
กระทรวงยุติธรรม ก่อนเปลี่ยนเป็นเรือนจำอย่างเต็มรูปแบบ
2.นักโทษในอัลคาทราซไม่รับเฉพาะแต่อาชญากรตัวเอ้
นักโทษที่ถูกส่งมายังคุกอัลคาทราซไม่ได้เป็นอาชญากรจอมโหดหรือวายร้ายตัวเอ้เท่านั้น แต่เป็นนักโทษจากเรือนจำอื่นที่ถูกส่งมาดัดสันดานอีกที นักโทษคนใดที่ผู้คุมมองว่าหัวแข็ง ชอบก่อปัญหา แหกกฎบ่อยครั้ง หรือติดสินบนเจ้าหน้าที่ จะถูกส่งมาปรับทัศนคติที่อัลคาทราซ จากนั้นจะส่งกลับไปเรือนจำเดิมเมื่อประพฤติตัวดีขึ้น
3.'อัล คาโปน' เคยเป็นนักดนตรีประจำวงของเรือนจำ
อัล คาโปน มาเฟียชื่อดังแห่งเมืองชิคาโก เป็นหนึ่งในนักโทษคนแรกๆที่ถูกส่งตัวมาคุกอัลคาทราซในปี 1934 หลังเขาพยายามติดสินบนผู้คุมในเรือนจำแอตแลนตา
เมื่อมาถึงคาโปนได้รับหมายเลขประจำตัวคือ 85 และพบว่าไม่สามารถติดสินบนใครได้อีก เขาจึงประพฤติตัวดีขึ้นจนได้รับอนุญาตให้เล่นแบนโจในวงดนตรีนักโทษชื่อ
'The Rock Islanders' ทำหน้าที่คอยเล่นดนตรีทุกวันอาทิตย์ให้เพื่อนนักโทษฟัง
4.ไม่มีใครเคยแหกคุกอัลคาทราซได้สำเร็จ
ตลอดระยะเวลา 29 ปีที่อัลคาทราซถูกเปลี่ยนเป็นเรือนจำ
มีนักโทษที่พยายามหลบหนีทั้งหมด 36 ราย ในจำนวนนี้มี
23 รายถูกจับตัวได้ก่อน 6 รายถูกยิงเสียชีวิตขณะหลบหนี อีก 2 รายจมน้ำเสียชีวิต ส่วนอีก 5 รายสาบสูญ และคาดว่าจมลงไปใต้กระแสน้ำอันเชี่ยวกราก ขณะพยายามว่ายหนีออกจากเกาะ
5.ไม่มีผู้หญิงแม้แต่คนเดียวในเรือนจำ
เรือนจำอัลคาทราซถูกออกกฎเหล็กจัดสรรไว้สำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ ทั้งนักโทษและผู้คุมล้วนเป็นชาย ไม่มีนักโทษหญิง ผู้คุมหญิง หรือว่าจ้างผู้หญิงให้มาทำงานในเรือนจำเลยแม้แต่คนเดียว
6.ผู้คุมได้รับอนุญาตให้อาศัยกับครอบครัวบนเกาะ
ผู้คุมและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในเรือนจำอัลคาทราซได้รับอนุญาตให้พักอาศัยในบ้านพักที่เคยเป็นเรือนนอนทหารบนเกาะ มีลานกิจกรรม ลานโบว์ลิ่ง สระน้ำ ในวันหยุด พวกเขาสามารถเดินทางข้ามเรือไปซื้อของในเมืองได้ แต่มีกฎห้ามครอบครัวของผู้คุมติดต่อพบปะกับนักโทษโดยเด็ดขาด
7.เคยเกิดเหตุจลาจลครั้งใหญ่ที่เรียกว่า 'วันคุกแตก'
ศึกแห่งอัลคาทราซหรือ วันคุกแตก (Alcatraz Blasout) เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 พ.ค. ปี 1946 นักโทษ 6 คนขโมยอาวุธและกุญแจมาได้ แล้วเริ่มจับผู้คุมเป็นตัวประกัน ขณะที่กำลังจะหลบหนีออกจากคุกกลับพบว่าไม่มีกุญแจสำหรับออกไป
ลานพักผ่อนด้านนอก เมื่อผู้คุมที่เหลือตามมาพบเข้าจึงเกิดการต่อสู้กัน นักโทษ 3 คนเสียชีวิต อีก 2 คนถูกจับกุมและถูกตัดสินประหารชีวิตข้อหาฆาตกรรม คนสุดท้ายอายุเพียง 19 ปีถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ฝ่ายผู้คุมได้รับบาดเจ็บ 11 คน เสียชีวิต 2 คน
8.ปิดตัวลงเพราะค่าใช้จ่ายสูง
คุกอัลคาทราซแบกภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมาก สภาพที่เป็นเกาะทำให้นักโทษหลบหนีได้ยาก แต่น้ำเค็มก็คอยกัดเซาะฐานอาคารต่างๆเช่นกัน ค่าบำรุงรักษาตัวอาคารจึงพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าจ้างผู้คุมรายหัวของอัลคาทราซคือ 10.10 ดอลลาร์ต่อวัน สูงกว่าเรือนจำอื่นๆ ถึง 3 เท่า ยังไม่นับครอบครัวผู้คุมที่อาศัยอยู่บนเกาะอีก นอกจากนี้ยังต้องขนส่งน้ำจืด 1 ล้านแกลลอนต่อสัปดาห์เพื่อดูแลทุกชีวิตบนเกาะ สุดท้ายได้มีคำ
สั่งให้ปิดเรือนจำอัลคาทราซ ในปี 1963
9.เคยถูกชาวอินเดียนแดงประท้วงด้วยการยึดเกาะ
ปี 1969 นักเคลื่อนไหวชาวอเมริกันพื้นเมืองจำนวน 100 คน ได้บุกเข้ามายึดครองเกาะร้างเพื่อใช้เป็นพื้นที่อาศัย หวังประท้วงรัฐบาลสหรัฐฯเรื่องแย่งชิงที่ดินของชน
พื้นเมือง การยึดครองดำเนินไปนานกว่า 19 เดือน ชุมชนขยายตัวจนมีผู้อาศัยราว 400 คน สุดท้ายรัฐบาลสั่งให้อพยพ ก่อนปิดพื้นที่ลงในปี 1971 อย่างไรก็ตามการประท้วงครั้งนั้นถือว่าประสบผลสำเร็จ เพราะทำให้ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันสั่งยกเลิกนโยบายริบดินแดนของชนพื้นเมือง
10.คุกอัลคาทราซไม่ได้โหดเหมือนในหนัง
ภาพของคุกอัลคาทราซที่ผู้คนจำฝังหัวจากภาพยนตร์หลายเรื่องคือ เรือนจำที่เข้มงวด โหด ไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้ ทว่าในความเป็นจริงมีนักโทษจากคุกอื่นจำนวนมากยื่นเรื่องขอย้ายมายังอัลคาทราซ เพราะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่า ห้องขังนักโทษเดี่ยวของอัลคาทราซนั้นปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงโดนเพื่อนนักโทษเล่นงานเหมือนเรือนจำอื่น
เจมส์ เอ. จอห์นสตัน (James A. Johnston) พัศดีเรือนจำอัลคาทราซคนแรกเล็งเห็นว่า อาหารการกินที่คุณภาพแย่จะทำให้นักโทษก่อจลาจลและไม่ให้ความร่วมมือ จึงจัดสรรอาหารอย่างดีให้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนักโทษอย่างน่าอัศจรรย์ เวลาขอความร่วมมือในเรื่องต่างๆ นักโทษที่ประพฤติตัวดีจะได้รับชมภาพยนตร์ทุกเดือน สามารถเข้าห้องสมุดที่มีหนังสือราว 15,000 เล่มให้อ่าน
เรื่อง : อันโตนิโอ โฉมชา
ภาพประกอบ : เพ็ญนภา บุปผาเจริญสุข
4 บันทึก
13
2
8
4
13
2
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย