13 ส.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
ทำความรู้จัก 'โอมาร์ อัล-บาเชียร์' ผู้นำเผด็จการซูดานที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจจากการก่อรัฐประหาร และนี่คือจุดจบทางการเมืองของเขา
1
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โอมาร์ อัล-บาเชียร์ อดีตประธานาธิบดีและผู้นำเผด็จการของซูดาน เขาเริ่มเข้ามามีอำนาจทางการเมืองครั้งแรกในปี ค.ศ.1989 ขณะยังเป็นนายทหารยศพันโท โดยเขาเป็นผู้นำกลุ่มนายทหารที่ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากนายซาคิก อัล-มาห์ดี นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในตอนที่เขายึดอำนาจเข้ามา ซูดานกำลังตกอยู่ภายใต้ไฟสงครามกลางเมืองที่กินระยะเวลานานกว่า 21 ปี ระหว่างซูดานเหนือและซูดานใต้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2004 รัฐบาลของนายอัล-บาเชียร์ ได้บรรลุข้อตกลงในการยุติสงครามกลางเมืองที่กินระยะเวลามาอย่างยาวนาน ซึ่งสงครามกลางเมืองซูดานถือได้ว่าเป็นสงครามที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและนองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในศริสตศตวรรษที่ 20 โดยให้อำนาจการปกครองบางส่วนในเขตเซาท์ซูดาน ที่เป็นพื้นที่เกิดสงคราม แม้ว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นแล้ว แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลเผด็จการของนายอัล-บาเชียร์ จะต้องพบกับการต่อต้านครั้งใหม่ กล่าวคือ รัฐบาลเผด็จการของนายอัล-บาเชียร์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในประเด็นเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ ซึ่งมีประเด็นจากความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ที่นำมาสู่การกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่ชาวอาหรับครั้งใหญ่ในประเทศซูดาน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 200,000 – 400,000 คน
WIKIPEDIA PD
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในซูดาน เกิดจากการที่กองกำลังติดอาวุธญันญะวีด ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ที่ได้ทำการต่อสู้กับกลุ่มกบฏฝ่ายต่าง ๆ เช่น กลุ่มกองทัพปลดแอกประชาชนซูดาน กองทัพปลดปล่อยซูดาน และขบวนการความยุติธรรมและความเสมอภาค โดยกลุ่มกบฏเหล่านี้ต่างต่อต้านฝ่ายรัฐบาลเผด็จการของนายอัล-บาเชียร์และพรรคพวกในรูปแบบสงครามกองโจรที่ดาร์ฟูร์ จนนำมาสู่การกวาดล้างและสังหารหมู่ครั้งใหญ่
1
ในปี ค.ศ.2008 ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court, ICC) ได้ทำการฟ้องร้องนายอัล-บาเชียร์ในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ รวมไปถึงอาชญากรรมในแคว้นดาร์ฟูร์ จนนำมาสู่การออกหมายจับนายอัล-บาเชียร์ในอีกหนึ่งปีต่อมา ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ส่งหมายจับมาที่ประเทศซูดาน เขาถูกออกหมายจับสองครั้งระหว่างปี ค.ศ.2009 - 2010 แต่นายอัล-บาเชียร์ ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แม้จะถูกประชาคมโลกกดดันมากเพียงใดก็ตาม
WIKIPEDIA PD
นายอัล-บาเชียร์ ยังคงดำรงตำแหน่งผู้นำของประเทศต่อไป เขาชนะการเลือกตั้งสองสมัยในปี ค.ศ.2010 และ ค.ศ.2015 แต่ผลการเลือกตั้งในรอบที่สอง ได้ถูกบอยคอตจากพรรคฝ่ายค้าน แม้จะมีประกาศหมายจับและห้ามเดินทางออกนอกประเทศ แต่นายอัล-บาเชียร์ ยังคงสามารถเดินทางไปยังประเทศอียิปต์, ซาอุดิอาระเบีย และแอฟริกาใต้
อย่างไร้ตาม ได้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศซูดาน จนเกิดการประท้วงขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงที่เขาได้ปกครองประเทศมายาวนานกว่า 30 ปี ที่เริ่มขึ้นในช่วงปลายปี ค.ศ.2018 ที่รัฐบาลซูดานประกาศปรับราคาเชื้อเพลิงและขนมปัง ซึ่งก่อนหน้านั้นเศรษฐกิจภายในประเทศซูดานก็ถือว่าย่ำแย่มาหลายปีแล้ว นับตั้งแต่ที่ซูดานใต้แยกตัวออกไป ส่วนแบ่งรายได้จากน้ำมันก็ลดลงไปมาก ชาวซูดานได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากพิษเศรษฐกิจ การอ่อนค่าลงของสกุลเงิน และราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น จนทำให้ประชาชนไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ซ้ำร้ายยังมีการทุจริตและคอรัปชั่นในทุกภาคส่วนของประเทศ จนนำมาสู่การประท้วงของชาวซูดานทั่วประเทศ
WIKIPEDIA PD
นายอัล-บาเชียร์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2019 และทำการปรับคณะรัฐมนตรี พร้อมกับส่งผู้นำเหล่าทัพเข้าไปดูแลในรัฐต่าง ๆ นายอัล-บาเชียร์ ปฏิเสธการลงจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลเพื่อการเปลี่ยนผ่าน และบอกว่าชาวซูดานต้องเลือกผู้นำคนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ.2020 ท่ามกลางกระแสความรุนแรงจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ทำการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศซูดานอีกครั้งในเดือนเมษายน ค.ศ.2019 เพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหญ่ โดยครั้งนี้เป็นการนำโดยนาย อาวัด อิบิน อุฟ รัฐมนตรีกลาโหมซูดาน ที่ได้ทำการก่อรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากนายอัล-บาเชียร์ พร้อมกับปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่ถูกควบคุมตัวทั่วประเทศ พร้อมประกาศรักษาความมั่นคงเพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ.2021
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา