13 ส.ค. 2020 เวลา 10:16 • ประวัติศาสตร์
• การก่อกำเริบ 8888 (8888 Uprising)
การชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า
ชาวพม่านับแสนคนชุมนุมประท้วง บริเวณเจดีย์ซู่เล เมืองย่างกุ้ง ในเหตุการณ์ 8888
ย้อนกลับไปในวันที่ 4 มกราคม 1948 เป็นวันที่พม่าได้รับเอกราชจากการตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยรัฐบาลที่ขึ้นมาปกครองพม่าหลังจากได้รับเอกราชนั้น ก็คือรัฐบาลของกลุ่ม AFPFL (Anti Fascist People's Freedom League) ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองของนายพลอองซาน (Aung San) ผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของพม่า
นายพลอองซาน ผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชของพม่า แต่อองซานกลับถูกศัตรูทางการเมืองลอบสังหาร ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราช
รัฐบาลของกลุ่ม AFPFL ปกครองพม่าจนถึงปี 1962 ก่อนที่จะถูกรัฐประหารโดยนายพลเนวิน (Ne Win) ซึ่งนี้ก็คือจุดเริ่มต้นของยุคเผด็จการทหาร ที่จะปกครองพม่ายาวนานเกือบ 50 ปี
นายพลเนวิน ผู้นำเผด็จการของพม่า ปกครองพม่าในช่วงปี 1966 - 1988
เมื่อนายพลเนวินขึ้นสู่อำนาจแล้ว นายพลเนวินก็ได้ประกาศให้พม่าเป็นประเทศที่ปกครองแบบลัทธิสังคมนิยม โดยรัฐบาลของนายพลเนวิน ประกาศแบนพรรคการเมืองทุกพรรคของพม่า โดยให้เหลือเพียงแค่พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Programme Party) ซึ่งเป็นพรรคของรัฐบาลพรรคเดียวเท่านั้น ทำให้พม่าตกอยู่ในกำมือของนายพลเนวินอย่างเบ็ดเสร็จ
1
ท่ามกลางการปกครองของรัฐบาลเผด็จการของนายพลเนวิน ส่งผลให้มีประชาชนชาวพม่าพากันประท้วงรัฐบาล เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตลอดมา ก่อนที่การประท้วงรัฐบาลจะลุกลามบานปลายอย่างมากในปี ค.ศ.1988 จนกลายเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า "การก่อกำเริบ 8888" (8888 Uprising)
การชุมนุมประท้วงซึ่งประกอบไปด้วยชาวพม่า รวมไปถึงพระภิกษุ
โดยในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ.1988 (เป็นที่มาของเลข 8888) ประชาชนพม่านับแสนคน ได้ออกมาชุมนุมประท้วงทั่วประเทศเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการ ที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน และเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า
โดยหนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในช่วงการชุมนุมประท้วงนี้ ก็คือ นางอองซานซูจี (Aung San Suu kyi) บุตรสาวของนายพลอองซาน วีรบุรุษคนสำคัญของชาวพม่านั้นเอง
นางอองซานซูจี ให้กำลังใจกับกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ในเวลาต่อมา เธอก็ถูกรัฐบาลของนายพลซอหม่อง สั่งกักขังที่บ้านพักของเธอ
แต่ทว่าท่ามกลางการชุมนุมครั้งใหญ่ทั่วพม่านั้น ปรากฏว่าได้เกิดเหตุความรุนแรงขึ้น เมื่อรัฐบาลได้สั่งการให้ทหารทำการสลายการชุมนุม ส่งผลให้มีชาวพม่าบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
การสลายการชุมนุมของทหารพม่า
ก่อนที่ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1988 ได้มีกลุ่มทหารได้ก่อรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้ง โดยผู้นำในการรัฐประหารครั้งนี้ คือ นายพลซอหม่อง (Saw Muang) ส่งผลให้พม่าตกอยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารอีกครั้ง
ก่อนที่ในท้ายที่สุด พม่าจะได้รับประชาธิปไตยที่แท้จริง ในช่วงปี 2011 ที่ผ่านมานั่นเอง
พิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 8888
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา