14 ส.ค. 2020 เวลา 06:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หากคุณคือผู้โชคดีที่เก็บชิ้นส่วนอุกกาบาต (Meteorites) ที่มาจากนอกโลกได้ คำถามคือคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าชิ้นส่วนที่เราเก็บได้เป็นอุกกาบาตจริง ๆ
อุกกาบาตที่ตกในประเทศไทย ในวันที่ 27 มิถุนายน 2559
เนื้อหาต่อไปนี้ขอเสนอวิธีการตรวจสอบความเป็นอุกกาบาตของวัตถุต้องสงสัย ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พิจารณาจากรูปพรรณสัณฐานของวัตถุต้องสงสัย และทดสอบด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือที่หาได้ง่ายๆ
อุกกาบาตส่วนใหญ่จะมีรูปทรงไม่สมมาตร เนื่องจากขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศเกิดความร้อนขึ้นภายในระบบสูง ส่งผลให้รูปร่างของอุกกาบาตเปลี่ยนไป จากรูปทรงกลมหรือเกือบกลม กลายเป็นรูปทรงไม่สมมาตร
ภาพจาก https://www.wikihow.com/Tell-if-the-Rock-You-Found-Might-Be-a-Meteorite#_note-3
ผิวของอุกกาบาตที่เพิ่งตกลงบนพื้นโลกและถูกค้นพบในช่วงเวลาไม่นานจะเป็นสีดำ แต่ในทางกลับกัน หากอุกกาบาตอยู่บนพื้นผิวโลกนาน ๆ สีจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยจากสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นสีที่เกิดขึ้นจากสนิม
ภาพจาก https://www.wikihow.com/Tell-if-the-Rock-You-Found-Might-Be-a-Meteorite#/Image:Tell-if-the-Rock-You-Found-Might-Be-a-Meteorite-Step-1-Version-2.jpg
ตรวจสอบด้วยแม่เหล็ก โดยทั่วไปอุกกาบาตเกือบทุกประเภทจะดูดติดกับแม่เหล็กได้ หากวัตถุนั้นไม่ดูดติดกับแม่เหล็กก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าไม่ใช่อุกกาบาต แต่ถึงแม้วัตถุสามารถดูดติดแม่เหล็กได้ก็ไม่ได้หมายความว่ามันคืออุกกาบาต 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่าอาจจะเป็นอุกกาบาต
อุกกาบาตมีผิวที่เป็นเอกลักษณะ โดยเฉพาะอุกกาบาตหินจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากหินทั่วไป คือมี “เปลือกหลอม” (fusion crust) ลักษณะคล้ายเปลือกบาง ๆ สีดำประกาย เปลือกหลอมนั้นเกิดจากการเผาไหม้ขณะอยู่ในชั้นบรรยากาศ อุกกาบาตประเภทหินที่ตกลงมาได้ไม่นานเปลือกหลอมจะดูคล้ายกับถ่านหินอัดแน่น และมักปรากฏเป็นสีเข้มกว่าหินโดยทั่วไป ส่วนอุกกาบาตเหล็กก็ยังคงแสดงผิวออกเป็นสีดำคล้ำและมีร่องรอยปรากฏเป็นร่องหลุมลึก (regmaglypt) คล้ายๆ กับรอยนิ้วโป้งที่เรากดลงบนก้อนดินน้ำมัน
เปลือกหลอมจะเป็นชั้นบางๆด้านนอกของอุกกาบาตความหนาประมาณ 1 มม. เนื้อด้านในจะมีสีที่ต่างจากเปลือกด้านนอกอย่างชัดเจน บางก้อนมีโลหะชิ้นเล็กๆฝังอยู่ในเนื้ออุกกาบาตด้วย
เล็กมากริป(Regmaglypt) ลักษณะเฉพาะอีกหนึ่งอย่างของอุกกาบาตโดยเฉพาะอุกกาบาตเหล็กที่เห็นได้จัดเจนมาก ภาพโดย https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/79/Murnpeowie_meteorite.jpg
ผิวอุกกาบาตรไม่ค่อยมีรูพรุน หรือฟองอากาศอยู่ด้านใน เนื่องจากอุกกาบาตทุกประเภทก่อตัวขึ้นในอวกาศ ซึ่งในสภาพแวดล้อมนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่อุกกาบาตจะก่อตัวแล้วมีรูพรุน หากพบก้อนวัตถุที่มีลักษณะรูพรุนอาจจะเป็นตะกรันโลหะจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม หรืออาจจะเป็นหินบางประเภทที่พบบนพื้นโลก เช่น หินสคอเรีย (Scoria) เป็นหินภูเขาไฟ มีน้ำหนักเบาสามารถลอยน้ำได้
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Scoria
เมื่อเอาตัวอย่างมาขูดกับแผ่นกระเบื้องที่ไม่ผ่านการเคลือบ หรือแก้วกาแฟเซรามิก หากเป็นอุกกาบาตจริงจะเกิดเพียงรอยขูดสีเทาจาง ๆ เท่านั้น แต่ถ้าสีผงที่ติดกระเบื้องเป็นน้ำตาลแดงเข้ม สีสนิม หรือสีผงเป็นสีเทาเข้ม ตัวอย่างนั้นอาจจะไม่ใช่อุกกาบาต แต่อาจเป็นฮีมาไทต์ (Hematite) หรือแมกนีไทต์ (Magnetite)
ภาพจาก https://www.clemson.edu/public/geomuseum/meteorites.html
ฝนด้วยตะไบฝนเหล็ก วิธีการนี้เรียกว่า window test คือการเปิดผิวส่วนหนึ่งของก้อนตัวอย่างให้เห็นผิวด้านใน ปัดให้เรียบที่สุด หากสังเกตเห็นโลหะประกายแวววาวกระจายภายในก้อนวัตถุ แสดงว่าวัตถุก้อนนั้นอาจจะเป็นอุกกาบาต ส่วนตัวผู้เขียนจะเลือกทดสอบวิธีนี้เป็นวิธีหลัง ๆ แม้การฝนด้วยตะไบจะช่วยให้เห็นโครงสร้างภายในของวัตถุ แต่จะส่งผลให้ชิ้นส่วนเกิดความเสียหายได้ หากมีความจำเป็นต้องฝนด้วยตะไบจริง ๆ ควรเลือกฝนบริเวณมุมของก้อนวัตถุตัวอย่าง
ภาพโดย https://www.wikihow.com/Tell-if-the-Rock-You-Found-Might-Be-a-Meteorite
โลหะมันวาวที่ฝังอยู่ในเนื้อหินของอุกกาบาตจะสังเกตได้ง่ายเมื่อใช้ตะใบขูดเปิดผิวแล้ว
เรียบเรียงโดย นายธีรยุทธ ลอยลิป
อ้างอิง
2. "Field Guide to Meteors and Meteorites.", Authors: Norton, O. Richard,
Chitwood, Lawrence
3. "How to Tell if the Rock You Found Might Be a Meteorite"
4. "Suspect Meteorite Tests", http://meteorite-identification.com/
streak.html
โฆษณา