14 ส.ค. 2020 เวลา 13:20 • ไลฟ์สไตล์

💠 พระโพธิสัตว์หน้าบูด 💠

🔸เข้าไปอ่านเรื่อง “หนี้ศักดิ์สิทธิ์” ที่เขียนโดยอาจารย์ชยสาโรภิกขุ​ ที่หน้า​ facebook ของ​ "พี่นง" ทนงศักดิ์ ศุภการ อดีตนักแสดงดังเมื่อ 3-40 ปีก่อน ที่มาเอาดี​ทางจัด Event และการวิ่ง จนแกวิ่งไกล ถึงระดับมาราธอน ไปแล้วตอนนี้
🔺
🔸เนื้อหา “หนี้ศักดิ์สิทธิ์" เป็นเรื่องการเดินทาง ในยุคแสวงหาวัยหนึ่ง ที่ ฌอน ไมเคิล ชิเวอร์ตัน หรือ​ อาจารย์ชยสาโรภิกขุ ในวันนี้ พาตัวเองออกจากอังกฤษ ตั้งใจไปไกล ให้ทั่วโลก ด้วยวิธีการที่ลำบากลำบน
🔺
🔸รวมถึงเรื่องของ “แม่” ที่เขียนไว้ อย่างล้นความหมาย​ หลายบรรทัด โดยเฉพาะ​บันทัดที่ว่า​ ...“ในภาษาอังกฤษนั้น คำว่าบุญคุณ​ ต่อพ่อแม่​นั้นไม่มี ที่เมืองนอก ความรักความผูกพัน ระหว่างพ่อแม่กับลูก มีอยู่เหมือนกัน​ เป็นเรื่องธรรมดา”
▪️Abyaneh Village▪️
🔸แต่ที่สะดุดใจที่สุด กับบทความนี้คือ ในวันที่ ฌอน​ โบกรถมาเรื่อย​ ไกลมาจนค่อนโลก และมาจอดสนิท เพราะหมดทั้งเงิน หมดทั้งสภาพ เมื่อมาถึงที่เตหะราน ประเทศอิหร่าน
▪️
🔸อาจารย์ว่า​ สภาพตอนนั้น น่าสมเพศสิ้นดี ไม่มีแม้แต่จะกิน เสื้อผ้าหน้าผม ยับเยินยุ่งเหยิง จะกินอะไรก็ไม่รู้ เงินไม่มี ห่วงกังวลไปหมด แต่ก็ได้ชายชาวอิหร่าน ที่เห็นสภาพนั้นของ ฌอน ไมเคิล ที่กลัวว่าหนุ่มฌอน จะถูกตำรวจจับเข้าปิ้ง เลยพาไปแอบมุม กินขนมปังกับซุปร้อนๆ ก่อนจะพาฌอน มาพบกับ สตรีสูงวัยชาวอิหร่าน ที่เห็นฌอน ในสภาพบักโกรก เต็มทน
🔸สตรีวัยมารดาชาวอิหร่าน ที่ไม่มีรอยยิ้มบนใบหน้าเลย​ แต่กลับพาฝรั่งแปลกหน้า​ เข้ามาในบ้าน หุงหาอาหารให้กินเต็มที่ ก่อนจะไปหยิบเสื้อผ้า​ของลูกชาย ที่มีขนาดตัวไล่เลี่ย​ กันกับพระอาจารย์วัยนั้น มาให้ใส่เปลี่ยน
▪️
🔸และนอกจากสีหน้า​ ที่บูดบึ้งตึงตลอดเวลาแล้ว อาจารย์ฌอนว่า แกยังสั่ง ๆ ๆ สั่งให้ฌอนไปอาบน้ำ สั่งให้มากิน สั่งให้มาเปลี่ยนชุด สั่งให้มานั่ง แทบจะไม่ต่างกับ แม่ที่ดูแลลูกเล็กๆ​ ดูแลจนเห็นว่า ดีได้สภาพแล้ว ก็พากลับมาส่งที่เดิม และ “มารดาที่ประเทศอิหร่าน” ที่อาจารย์ชยสาโรฯ​ ยกย่องไว้ ก็เดินหายไป​ ท่ามกลางฝูงชน​ในกรุงเตหะราน
▪️
🔸เรื่องของพระอาจารย์ชยสาโรฯ​ ท่านเล่าไว้ ทำให้อดคิดถึง คราวที่ไปตะลอนอยู่ในอิหร่าน นาน 2 สัปดาห์ขึ้นมาด้วย​ เพราะตัวเอง ก็พบเข้ากับหลายสิ่ง ที่ไม่เคยว่าเจอะเจอที่ไหน ในประเทศตะวันตก ที่ว่ากันว่า สุดทันสมัยแสนศิวิไล ทั้งข้าวของและจิตใจคน
▪️Hafez Tomb▪️
🔸ณ​ สถานที่ฝังศพ มหากวีเปอร์เซีย Hafez ที่ Shiraz ที่มาขององุ่นสายพันธุ์ “ชีราซ” ที่กระจายไปปลูก ไปทำไวน์ดังอยู่ทั่วโลก 🔸ก็มีผู้หญิงอิหร่านหน้าตาสะสวย เดินเข้ามาหา พร้อมขอจับมือ ขอถ่ายรูปด้วย ก่อนเธอจะบอกสั้นๆ ง่ายๆมาว่า Welcome to Iran and thank you very much for coming. ก่อน ที่เธอจะเดินจากไปง่ายๆ แบบนั้น
▪️
🔸หรือขณะที่ยืนดู​ สารพัดโมเสกสวย บนผนังของอดีตโบศคริสต์ Holy Savior Cathedral" ในอิสฟาฮาน เด็กนักเรียนกว่า 50 ชีวิต​ ที่มาทัศนศึกษาตรงนั้น กลับไม่สนใจ สิ่งที่คุณครู กำลังอธิบาย​ กับโบราณสถานตรงหน้า ซักคน​
▪️
🔸เพราะทุกคน​ มัวแต่สนุกสนาน กับการถามไถ่ชื่อแซ่ ขอจับไม้จับมือ ยิงสารพัดคำถาม​ กับกลุ่มเรา อย่างสนุก พร้อมความพยายาม​ จะแนะนำตัวเองด้วยภาษาฟาซี จนคุณครูต้องเข้ามาดุ และขอโทษ​ขอโพย ที่เราถูกเด็กๆ​ รบกวน
▪️
🔸ไม่นับที่ขอจับมือ ขอถ่ายรูปด้วย หรือที่เดินเข้ามาทักทาย และบอกขอบคุณมาก ที่มาเที่ยวอิหร่าน รวมถึงประโยคฮิต "Do you like Iran?" ที่จะเจออยู่ทุกวัน​ ในทุกสถานที่ท่องเที่ยว และอีกเรื่องที่เกิดขึ้น​ ที่ตลาดเก่า Tajrish Bazaar ในเตหะราน ก็เป็นอีกเรื่อง​ ที่ผมแสนประทับใจ
▪️
🔸เด็กเข็นรถรับจ้าง ในตลาดกลางเตหะรานคนหนึ่ง เข็นรถออกมาจากตลาด และทางที่เด็กนั่นจะไป ก็มีพวกเรา 4-5 คน ยืนอยู่ตรงปากทางพอดี​ 🔸ผมเห็นมาแต่ไกลแล้ว ว่าเด็กนั่น เคี้ยวอะไรตุ้ยๆ​ อยู่ในปาก แถมสีหน้าที่เห็น มันเป็นสีหน้าของคน ที่ดูมีความสุข แถมเด็กหนุ่ม​ยังฮำเพลงเบาๆ เสมือนว่า​โลก​นี้ มันสุดแสนรื่นรมณ์
▪️
🔸และเมื่อเข็นรถ มาถึงตรงหน้า​ เด็ก​นั่นก็ยื่นกล่อง​ ที่เต็มไปด้วยอินทผาลัม ยื่นมาตรงหน้าของพวกเรา​ ... แต่ละเม็ดดูอวบอ้วน น่าอร่อยชมัด​ ก่อนจะพูดเป็นภาษาฟาร์ซี​ ออกมายาวเหยียด​ ซึ่งเราก็ฟังกันไม่รู้เรื่องกันซักคน แต่แม้จะไม่เข้าใจภาษาที่สื่อ แต่ก็รู้ได้ด้วยภาษากายว่า ให้เราหยิบกิน
▪️
🔸แม้พยายามจะเลี่ยง เพราะไม่รู้เหนือรู้ใต้ว่ามาไม้ไหน จะขายของ แล้วของจะดีมั๊ย สารพัดคิดอกุศลไป แต่เด็กนั่น ก็ยังคะยั้นคะยอ​ ให้เราหยิบกินให้ได้​ ไม่ยอมเลิก​
🔸 แม้จะแกล้ง​ เอามือลูบท้อง แสดงท่าว่าอิ่มแล้ว​ แต่เด็กนั่นก็ยังเอา​ มือมาจิ้มที่พุงเบาๆ เหมือนจะบอกว่า “อิ่มแล้วก็กินได้” พร้อมกับทำท่าทำทาง ก็แค่หยิบแล้วใส่ปาก เคี้ยวตุ้ยๆแค่นี้ เรื่องง่ายจะตายไป ไม่เห็นจะยากเย็นตรงไหน
▪️ผ้าฝ้าย บล๊อกจุ่มสี ปั้มลวดลายต่างๆ เป็นผ้าสัญลักษณ์สำคัญ ของผ้าเมือง isfahan▪️
🔸เมื่อหมดพลังยื้อ ผมก็หยิบอินทผาลัมนั้น ใส่เข้าปาก​ เคี้ยวตุ้ยๆตามประสงค์ พร้อมกับที่พวกเราทุกคน รับกันมา​ คนละเม็ดเม็ดสองเม็ด ใส่ปากเคี้ยวกันอร่อย และสิ่งที่เห็นตรงหน้าคือ สีหน้า แววตา​ ของเด็กเข็นรถในตลาดในเตหะราน​ ที่เดิมก็ดูสนุก ล้นความสุขอยู่แล้ว มันดูทวีคูณความสุข​ เข้าไปอีก เป็นมหาปิติสุข เสมือนว่าตัวเอง ได้ทำหน้าที่ บางอย่างสำเร็จ
▪️
▪️
🔸คือได้แบ่งของอร่อยที่สุด​ เท่าที่ตัวเองมี ให้กับคนต่างด้าว มนุษย์ต่างแดนกินแล้ว อย่างสมใจ ก่อนจะเข็นรถจากไป​ง่ายๆแบบนั้น ไม่มีห่วง​หน้า​ ไม่ต้องกังวลหลัง​ หายลับตาไป​ ในฝูงชนมากมาย ไม่ต่าง​ "มารดาแห่งอิหร่าน” ของหนุ่มฌอน​ วันนั้นเลย
▪️
🔸อิหร่านได้มอบมุมมอง และทัศนคติดีงาม​ อันบริสุทธิ์​ทกับผมเอาไว้ โดยเฉพาะในทิศทางหนึ่ง​ว่า ถ้าความศิวิไลซ์​ หมายถึงกระเป๋าหลุยส์วีตอง หรือ wifi 5-G - 6G หรือกระสวยของ Elon Musk หรือการ​ Trade Bitcoin ของแบบนี้พวกนี้​ อิหร่านไม่มี
▪️
🔸แต่อิหร่านมี​ นับร้อยนับพันหมื่นอย่าง ที่ประเทศร่ำรวย ด้วยศิลปะวัฒนธรรม พึงมี โดยมีผู้คน​ที่ศิวิไลย์​ ทั้งกายใจ อาศัยอยู่​ 🔸และถ้าหนนั้น​ ฌอนได้พบเข้ากับมารดา​แห่งอิหร่าน ผมเองก็ได้เจอ​ ไอ้น้องชายจิตใจดี​ ที่ตลาด​กลางกรุงเตหะราน​ ไม่ต่างกัน🔸คนอิหร่านถ้าคุณได้เจอ คุณจะชอบ ประเทศอิหร่าน ถ้าคุณได้ไป คุณจะรัก ... เชื่อผม​ !!!
▪️Kaju Bridge : Isfahan : Iran▪️
ภาพถ่ายต่างกรรมต่างวาระ
📸 All​ Photos by Tui Kajondej
▪️ยกเว้นที่มีเครื่องหมาย 🔺
⭕ อาลาดิน​กับพรมวิเศษ​ (พรเปอร์เซีย​)​
⭕ ลอมพอก
⭕ กูวติล- อิสฟาฮานและพระเจ้า Iran
🌸 เขียน​ทุกเรื่อง​ด้วยความสนุก เพื่อความสุข​ของผู้เขียน​ ไว้สะสมเรื่องเขียน​ ตรงนี้​ 🌸

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา