16 ส.ค. 2020 เวลา 23:30 • หนังสือ
สรุปความคิดประธานโตโยต้าทั้ง 11
เรียนรู้ความคิดของผู้นำองค์กรระดับโลกกันครับ
#สรุปให้
#SenseiPae
2019 Toyota Motor Corporation Japan
คือบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นที่มีมูลค่าสูงสุด
เป็น Top 10 Most regarded brand ของโลก
จากการจัดอันดับของ Forbes ในปี 2018
มียอดขายรถยนต์ติดอันดับต้นๆของโลกอย่างยาวนาน
ความรู้หลายๆอย่างของโตโยต้าได้รับการยอมรับว่า
มีประโยชน์และถูกนำไปเผยแพร่ ใช้งานกันทั้งโลก
อย่าง ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (TPS), One Page Summary
(A3 report), วิถีโตโยต้า (Toyota Way)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่พวกเขามาได้ไกลขนาดนี้
เพราะมีผู้นำที่ดี
อยากแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับประธานผู้นำเรือที่ชื่อโตโยต้า
ฝ่าสมรภูมิและวิกฤตครั้งแล้วครั้งเล่า
พวกเขามีวิธีคิดอย่างไรถึงทำให้บริษัทอันยิ่งใหญ่นี้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
สรุปให้ครับ
หมายเหตุ ผมแกะและตามรอยข้อมูลมาประติดประต่อกันเองรวมถึงใส่ความคิดเห็นของผมเองลงไปด้วยนะ
ครับผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ สำหรับคนที่อย่างเอาไปใช้งานต่อขอให้พิจารณาความถูกต้องของข้อูมล
อีกครั้งครับ
1937-1941: Risaburo Toyoda, founder's brother-in-law
เวลา Search Youtube หรือ Google ว่าใครคือผู้ก่อตั้ง โตโยต้า
ชื่อที่มักจะขึ้นมาคือ Kiichiro Toyoda
ถามว่าถูกไหมก็ถูก แต่ที่ไม่ถูกคือ Kiichiro Toyoda ไม่ใช่ประธานคนแรก
ของโตโยต้า คนๆนั้นชื่อ Risaburo Toyoda
ในหน้าประวัติศาสตร์ไม่มีค่อยใครจดจำคุณRisaburoในฐานะประธานคนแรก
อาจจะด้วยความที่การดำรงตำแหน่งของท่านนั้นเสมือนรอเวลาให้ประธานตัวจริงอย่างคุณKiichiro
รอเวลาสุกงอมก็เป็นได้
แต่เดิมคุณRisaburoไม่ได้นามสกุลToyoda แต่ท่านแต่งงานกับน้องสาวคุณKiichiroแล้วมาช่วยบริหารงาน
ให้กับToyoda Automatic Loom ที่ทำธุรกิจทอผ้าของตระกูลและมีศักดิ์เป็นพี่ชายทางกฎหมายของคุณ Kiicihro
ในช่วงที่เริ่มก่อตั้งนั้นคุณ Risaburo ดำรงตำแหน่งที่สูงกว่าในToyoda Boshoku และเป็นคนบอกให้คุณ
Kiichiro ค่อยๆเป็นค่อยๆไปในธุรกิจที่เพิ่งจะเริ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนารถยนต์ที่คุณ
Kiichiro เป็นหัวเรือนั้นแรกเริ่มเดิมทีก็เป็นหน่วยงานที่อยู่ในธุรกิจทอผ้านั้นเองครับด้วยเหตุผลทางการเงิน
และความมั่นคง
ต่อมาเมื่อบริษัทตัดสินใจแยกธุรกิจรถยนต์ออกมาเป็นบริษัทคุณ Risaburo ก็ยังคงช่วยประคองบริษัทให้
(ผมเข้าใจว่าคุณ Kiichiro มุ่งมั่นกับการสร้างรถมากกว่าบริหารธุรกิจในช่วงแรก)
1
แม้จะไม่มีบันทึกใดๆจากคุณ Risburo (ที่ผมหาเจอ 555) แต่ผมเชื่อว่าบทเรียนที่ได้จากการคิดของท่านคือ
อย่าเสี่ยงจนเกินไปในการเริ่มอะไรใหม่ๆ แม้สิ่งนั้นจะมีศักยภาพสูงแค่ไหนก็ตาม
2)1941-1950: Kiichiro Toyoda, founder
สาเหตุที่คุณ Kiichiro ไม่ได้ทำหน้าที่
ประธานเองนอกจากเรื่องประสบการณ์แล้วก็คงเป็นความต้องการที่จะเอาเวลา
ไปทุ่มให้กับการพัฒนาส่วนที่ผลิตได้อยากที่สุดในสมัยนั้น
เครื่องยนต์
ปัญหาที่พวกเขาเจอคือการหล่อชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่มักจะพบรอยร้าว
เสมอไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนวิธี ใช้ความรู้ที่มีเท่าไหร
ลำบากขนาดที่ว่าต้องกินนอนกันในโรงหล่อกันเลยทีเดียว
(อยากรู้รายละเอียดความยากลำบากแนะนำให้หาหน้งซีรีย์
Spirit หรือ Leaders มาชมครับ)
คุณKiichiroใช้เวลาอยู่กับเครื่องยนต์เป็นปีๆ หมดเงินไปเยอะทำเครื่องยนต์ต้นแบบ
เป็นร้อยๆเทแบบอยู่ก็เบ้าหลอมระเบิดเปลวไฟประทุถึงหลังคาก็บ่อย
ถ้าเป็นคนธรรมดาก็อาจจะถอดใจไปแล้ว
แต่ระดับประธานโตโยต้า มีหรือจะยอมแพ้ง่ายๆในที่สุดเครื่องยนต์ที่พร้อมจะใช้งานก็
ถูกสร้างจนสำเร็จ
บทเรียนที่คุณ Kiichiro สอนผมน่าจะเป็นเรื่องของ หัวใจที่ไม่ยอมแพ้ ครับ
การจะทำอะไรใหม่ๆบางครับที่สำคัญกว่าความรู้คือความอดทนครับ
3)1950-1961: Taizo Ishida
คุณ Taizo Ishida ก็เป็นอีกท่านที่เริ่มงานจากธุรกิจทอผ้าชีวิตของคุณ Ishida
ก็ดูเหมือนว่าจะไปได้สวยในด้านธุรกิจนั้น
แต่แล้วในช่วงปี1950ก็มีเหตุให้เขาต้องรับศึกหนักในบริษัทรถยนต์
เพราะจากภาวะสงครามโลกครั้งที่2 ญี่ปุ่นศึกแพ้สงครามถูกดำเนินมาตรการทางการเงิน
อย่างหนักรัฐบาลเรียกร้องภาษีจากบริษัทเพิ่มขึ้น มูลค่าวัตถุดิบถีบตัวสูงขึ้น
ส่งผลให้โรงงานเกิดสภาวะขาดทุนและจำเป็นต้องปิดตัวพร้อมๆกับที่ต้อง
เลิกจ้างพนักงาน
เหตุการณ์นี้ส่งผลให้พนักงานไม่พอใจประท้วงหยุดงานและบานปลายจนทำให้คุณ
Kiichiro ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกพร้อมๆกับเลิกจ้างพนักงานบางส่วน
และคนที่มารับตำแหน่งต่อคือคุณ Taizo Ishida นั่นเอง
ในภาวะที่สถานการณ์การเงินขวัญและกำลังใจของพนักงานย่ำแย่ คุณ Ishida ได้ใช้วิสัยทัศน์
ทำให้บริษัทรอดมาได้ เขาลงทุนในเครื่องจักรทำให้ประสิทธิภาพกว่าคู่แข่งอย่างนิสสันและเป็น
ที่มาของการว่าจ้างให้ผลิตรถยนต์เพื่อสงครามในเกาหลี
ในวิกฤตผู้คนจะค้นหาไอเดียดีๆอย่างละโมบได้มากที่สุด
นี่คือบทเรียนที่คุณ Ishida ได้ให้ไว้ครับ
4)1961-1967: Fukio Nakagawa
ในช่วงปี 1955-1970 หลังสงครามโลกนับเป็นยุคเฟืองฟูทางเศรษฐกิจอีกครั้งของ
ญี่ปุ่นอัตราการเติบโตที่สูงมากผลักดันให้ยอดขายสูงตาม
นับเป็นขาขึ้นของวงการรถยนต์ญี่ปุ่นอย่างแท้จริง
ในช่วงเวลานั้นมีการรวมตัวก่อตั้งสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นขึ้น
เพื่อสร้างมาตรฐานความแข็งแกร่งภายในประเทศให้พร้อมต่อกร
กับการจำหน่ายรถยนต์ไปยังต่างประเทศ
คู่แข่งในประเทศก็ได้กลายเป็นพันธมิตรยามออกนอกบ้าน
ในปี 1966 ก็ได้มีการตัดสินใจครั้งสำคัญโดยประธานในยุคนั้นคุณ Fukio Nakagawa
ท่านตัดสินใจลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับบริษัท Hino ยักษ์ใหญ่ทางด้าน
วงการรถยนต์ขนาดใหญ่
1
Hino มีดีด้านรถยนต์ใหญ่
Toyota เก่งในเรื่องการผลิตและรถยนต์เล็ก(สมัยนั้น)
Hino มีของดีแต่ไม่มีที่จำหน่าย
Toyota มีที่จำหน่ายและต้องการของขายเพิ่ม
Hino ได้ฐานลูกค้าจาก Toyota เพิ่ม
Toyota ก็ได้ฐานลูกค้าจาก Hino เพิ่มเช่นกัน
การร่วมมือกันครั้งนี้จึงทำให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
การหาพันธมิตรในเวลาที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้
ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด นี่คือบทเรียนที่คุณ Nakagawa ทิ้งไว้ให้
5) 1967-1982: Eiji Toyoda, founder's cousin (honorary adviser)
ภายหลังจากที่คุณ Fukio เสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยโรคหัวใจ
รองประธานในตอนนั้นคุณ Eiiji Todoya ก็ก้าวขึ้นมารับหน้าที่ต่อ
ชายผู้นี้ร่วมกับคุณ Taiichi Ohno เป็นผู้วางรากฐานระบบการผลิตแบบโตโยต้า
(Toyota Production System) และรากฐานปรัชญาหลายๆอย่างของคุณ Eiji
ก็ถูกนำมาต่อยอดเป็น Toyota wayในเวลาต่อมา
วลีเด็ดที่ผมชอบที่สุดจากท่านก็คือ “สร้างคนก่อนสร้างผลิตภัณฑ์”
เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับคนในองค์กรนี้และนำมาสู่
ส่วนหนึ่งของปรัญชา Respect and Teamwork ในวิถีโตโยต้าอันโด่งดังด้วย
มีอีกคำพูดหนึ่งในโตโยต้าเช่นกันครับที่ผมชอบมาก
トヨタにとって人材でなく人財だ!!!
ที่โตโยต้าคนไม่ใช่ทรัพยากร แต่เป็นสินทรัพย์
แปลเป็นไทยอีกที่คือคนไม่ใช่สิ่งที่จะเอามาใช้เพื่อสร้างผลกำไร
แต่คนเป็นสินทรัพย์อันมีค่าที่สามารถทำให้เกิดกำไรและ
ด้วยความที่คุณค่าของสินทรัพย์นั้นมากมายมหาศาลการรักษา
สินทรัพย์นั้นให้อยู่กับบริษัทได้นานที่สุดคือเรื่องสำคัญ
เท่ห์ไหมหละครับ
6) 1982-1992: Shoichiro Toyoda, founder's son (honorary chairman, board member)
ในยุคถัดมาของโตโยต้าก็ยังคงสืบทอดโดยคนตระกูลโตโยดะต่อไป
คราวนี้เป็นโอกาสของคุณ Shoichiro Toyoda
ในยุคสมัยนี้จะเรียกว่าตั้งไข่สำเร็จยืนแข็งพร้อมจะวิ่งก็ว่าได้
เพราะยอดสะสมการผลิตรถยนต์ในประเทศครบ 50 ล้านคัน ยอดส่งออกไปต่างประเทศครบ
20 ล้านคัน เรียกว่าในบ้านนิ่งแล้วพร้อมจะวางแผนเอารถไปขายต่างประเทศมากขึ้น
แต่ที่เป็นกระแสในสังคมยุคนั้นจริงๆคือการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งของ
โตโยต้า มอเตอร์ กับ โตโยต้า มอเตอร์เซล บริษัทพื่น้องที่ต้องแยกตัวออกจากกันเพราะ
ปัญหาสงคราม (ช่วงเดียวกับที่ประธาน Kiichiro ต้องลาออก)
การรวมครั้งนี้เองที่ทำให้คุณ Shoichiro ซึ่งตอนนั้นดำรงตำแหน่งประธานของบริษัท
โตโยต้ามอเตอร์เซล ได้กลายเป็นประธานในบริษัทใหม่ โตโยต้า มอเตอร์ คอปอเรชั่น
(ชื่อในปัจจุบัน)
หลังรวมร่างไม่นานนักคุณ Shoichiro ก็แสดง วิสัยทัศน์ออกมาผ่านการประกาศ 3 ข้อ
2 ใน 3 นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกค้าครับ
สร้างสโลแกน Customer first ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรกเสมอ
ผลประโยชน์ที่เกิดจากการรวมกัน(ต้นทุนการดำเนินงานที่ลดลงเป็นต้น) นั้นจะกลับคืนลูกค้า
ในรูปของรถยนต์ราคาย่อมเยาว์ที่มีคุณภาพ
นับเป็นอีกหนึ่งสโลแกนที่ยังคงฮิตติดปากคนในบริษัทครับ
7) 1992-1995: Tatsuro Toyoda, founder's son (senior adviser)
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประธานบริษัทเป็นคนจากตระกูลโตโยดะ
สามคนติดต่อกัน คุณ Tatsuro ผู้เป็นน้องชายของคุณ Shoichiro และลูกชายของ
คุณ Kiichiro ก็ได้ดำรงตำแหน่งต่อจากพี่ชายของเขา
น่าเสียดายที่ด้วยปัญหาสุขภาพคุณ Tatsuro ไม่สามารถที่จะดำรงตำแหน่งประธานได้
นานนักเพียง 3 ปีท่านก็ลงจากตำแหน่ง
โชคร้ายอีกอย่างคือในยุคสมัยของท่านนั้นญี่ปุ่นเริ่มเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ค่าเงินก็ไม่เป็นใจนักแต่สิ่งที่มีความโดดเด่นในยุคนี้คือมีการรวบรวมปรัชญาองค์ความรู้
ที่มีในองค์กรมาตกผลึกและนำมาประกาศเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้วยความ
ตระหนักที่อยากจะให้องค์กรนี้เติบโตอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความสำเร็จที่ตัวเอง
ค้นพบครับ
1
มันชื่อว่า Guiding Principles at Toyota1992 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของToyota way
ก็ว่าได้
8) 1995-1999: Hiroshi Okuda (senior adviser, board member)
1
ผู้ที่รับไม้ต่อจากคุณ Tatsuro นั้นก็คือท่านประธาน Okuda ผู้ซึ่งมีฉายาว่า”มนุษย์ตัวเลข”
(คุณพ่อของท่านทำงานในตลาดหุ้น)
ในยุคสมัยนี้โตโยต้าเผชิญกับความลำบากครั้งใหญ่เพราะเป็นครั้งแรกที่ส่วนแบ่งในประเทศต่ำกว่า
40% เดือดร้อนประธานอย่างคุณ Okuda ต้องทำการบ้านหนัก
ผลการสำรวจพบว่าผลิตภํณฑ์ของโตโยต้านั้นดูเหมือนจะตกเทรน(มือถือเริ่มมาแล้ว)
ทำให้คุณ Okuda ประกาศออกสื่อว่าจะทำการปฏิวัติรูปแบบการทำงานของโตโยต้า
โดยที่ไม่ทำให้องค์กรสะดุดด้วย
แต่จะปฏิวัติรูปแบบแต่ไม่ให้หยุดปรับปรุงด้วยได้ยังไงกัน
คุณ Okuda สร้างบริษัทเงาขึ้นมาบริษัทหนึ่งชื่อ Virtual Venture Company
ที่เน้นให้พนักงานในบริษัทนี่เป็นกลุ่มคนอายุ 20 ถึง 30 และให้คนกลุ่มนี้เสนอไอเดียรวมถึงมีการตัดสินใจ
ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากขึ้น (รูปทรง การใช้งาน เป็นต้น)
ผลที่ได้ก็น่าสนใจ รถยนต์ที่เกิดจากโครงการนี้ที่ยังดังๆมาจนวันนี้ก็ได้แก่ bB นั้นเองครับ
นอกจากนี้ Prius อันเลืองชื่อก็เกิดในยุคสมัยนี้เช่นกัน
บทเรียนในยุคสมัยประธาน Okuda ก็คงไม่พ้นการระมัดระวังไม่ให้ความสำเร็จนั้นอิ่มตัว
และย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง
1
แม้วันที่เป็นอันดับ 1 ก็จงถามตัวเองต่อไปว่าจะทำให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร
ไม่ต้องชนะใครชนะตัวเองก็พอเพราะ
การไม่หยุดพัฒนาคือหัวใจของธรุกิจที่ยั่งยืนครับ
9) 1999-2005: Fujio Cho (board chairman)
แล้วก็มาถึงท่านประธานอีกคนที่ผมชื่นชอบคุณ Fujio Cho ครับ
ท่านจัดว่าเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิของปรมาจารย์ Eiiji Toyoda และ Taiichi Ohno
ผู้ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างปรัชญาโตโยต้าขึ้นมาก็ว่าได้
ในวันที่คุณ Cho เป็นประธาน(คนแรก)ของโรงงานGeorgetownที่สหรัฐอเมริกา
สิ่งแรกๆที่เขาถ่ายทอดให้พนักงานคือ การจ้องมองปัญหาที่หน้างาน
ถามว่าทำไมหลายๆครั้ง เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา และให้ความเคารพต่อ
คนที่อยู่ที่พื้นที่ปฏิบัติงาน เพราะความเคารพซึ่งกันและกันจะนำมาสู่การแก้ไข
ปัญหาอย่างยั่งยืน
และก็เป็นคุณ Cho นี่เองที่นำ Guideline of Toyota principle มาขัดเกลา
ใหม่ให้เป็น Toyota way ที่มี 2 เสา 5 ข้อดั่งปัจจุบัน
ที่ผมชอบเพราะท่านมีรอยยิ้มที่เป็นมิตรมากครับ เคยมาที่บริษัทหนสองหน
เป็นกันเองกับผู้รายงานอย่างพวกผมมากๆครับ ผมเลยชอบ 555
10)2005-2009: Katsuaki Watanabe (president, to become vice chairman)
ยุคถัดมาเป็นยุคที่เรียกว่าสุดยอดอีกยุคหนึ่งก็ว่าได้ครับ
ยุคของคุณ Watanabe นั้นโตโยต้า สร้างผลกำไรได้มาเป็นประวัติการณ์
จนหัวหน้าผมเล่าให้ฟังว่าเห็นโบนัสตัวเองแล้วตกใจทำงานมายี่สิบกว่าปี
ไม่เคยได้มากขนาดนี้
ยุคนี้จุดเด่นๆคือมี Champion product เกิดขึ้นเยอะมากครับ
ขายดีในหลายๆทวีปไม่ว่าจะ IMV series ที่เรารู้จักกันในนาม วีโก้
ฟอร์จูนเนอร์ นั้นแหละฮะ หรือจะ โคโรล่าและคัมรี่ ซีรีย์ที่ขายดีทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ
นอกจากยอดขายจะดีแล้วด้วยวิสัยทัศน์ของแม่ทัพ Watanabe ที่ใช้ข้อได้เปรียบ
ทางด้านการผลิตให้หลากหลายรุ่นแต่ใช้ชิ้นส่วนหลายๆอย่างร่วมกัน(Common part)
ทำให้Toyota สร้างผลกำไรเป็นประวัติการณ์นั้นเองครับ
ส่วนบทเรียนที่ผมได้จากคุณ Watanabe จริงคือ Mindset ของการเรียนรู้ครับ
Quote ของท่านเกือบทุกอันแฝงความคิดเรื่อง การพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด การไม่หยุดเรียนรู้ครับ
นอกจากอันในภาพแล้วยังมีอีกอันที่สะท้อนความคิดของท่านครับ
There's no end to the process of learning about the Toyota Way. I don't think
I have a complete understanding even today, and I have worked for the company for 43 years.
ขนาดทำงานมา 40 กว่าปีดำรงตำแหน่งประธานยังคิดว่าตัวเองเรียนรู้ไม่หมดเลย
สุดยอดไหมหละฮะ
11) June 2009-: Akio Toyoda (executive vice president) Source: Toyota Motor
1
แล้วก็เดินทางมาถึงท่านประธานคนปัจจุบันผู้ซึ่งหลงใหลการขับรถ
เป็นชีวิตจิตใจ
แม้การเริ่มต้นการเป็นประธานของท่านจะยากลำบากมากเพราะ
พบกับสภาพเศรษฐกิจซบเซาจากวิกฤตซับไพร์มที่อเมริกากับ
ปํญหาเรื่องคุณภาพเยอะมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนมีผู้เสีย
ชีวิตจากการใช้งานรถยนต์เลกซัส และปัญหาคันเร่งและเบรค
ซึ่งทำให้ตกเป็นเป้าโจมตีจากผู้บริโภคที่นั่นคุณ Akio ถึงกับต้องไป
ขึ้นศาลที่อเมริกาเป็นข่าวดังทั้วญี่ปุ่นและทั่วโลก
(อันนี้ไว้มีโอกาสจะมาขยายความกันนะครับ)
หลังจากพ้นวิกฤตมาได้สิ่งที่คุณ Akio ตกผลึกเป็นวิสัยทัศน์คือ
จากนี้ไปบริษัทที่ชื่อโตโยต้าจะมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ(ให้ดียิ่งๆกว่าเดิม)
เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้รถที่ดี และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนของพวกเขา
และจะเลิกสนใจว่าบริษัทจะเป็นบริษัทที่ทำยอดขายและกำไรได้มากเท่าไหร
นับว่าตรงประเด็นกับยุคสมัยนี้ ยุคที่เป็น Outside in product อยากแท้จริง
มุ่งเน้นว่าลูกค้ามี Pain ตรงไหนแล้วบริษัทสามารถจะแก้ปัญหาอะไรให้กับ
ลูกค้าได้บ้าง (ไม่ใช่เราผลิตอะไรได้บ้าง ผลิตให้ดีที่สุดแล้วเอาออกมาขายอีกต่อไป)
ด้วยแนวคิดนี้เราจึงได้เห็นการกลับ ของรถสปอร์ตหลายๆรุ่นทั้ง 86, New supra
New MR2 รวมถึงรถที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอีกมากมายทั้ง
Mirai, I-road ปัจจุบัน Toyota ก็ขยาย Vision ของตัวเองจากการขายรถ
เป็นให้บริการการเคลื่อนที่แทน (ลองติดตามข่าวกันดูนะครับ)
คงยากจะเป็นการบอกว่าคุณ Akio จะดำรงตำแหน่งต่อไปอีกนานแค่ไหนแต่เชื่อว่า
แฟนพันธุ์แท้ของโตโยต้าน่าจะชื่นชอบวิสัยทัศน์ของท่านไม่มากก็น้อย
โฆษณา