18 ส.ค. 2020 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
สลัมยิวยุคนาซี! ชีวิตสุดรันทดของชุมชนชาวยิวใน 'วอร์ซอเกตโต' ที่สภาพไม่ต่างจากนรกค่ายกักกัน
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
วอร์ซอเกตโตหรือสลัมชาวยิวในวอร์ซอ เป็นที่อยู่ของชาวยิวที่ถูกจัดตั้งโดยนาซีเยอรมนีเพื่อกักขังชาวยิว วอร์ซอเกตโตตั้งอยู่ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ประชากรชาวยิวจำนวนมากต้องอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นและลำบาก นี่คือเรื่องราวอันน่าสะเทือนใจที่เกิดขึ้นยังวอร์ซอเกตโต
1. ชะตากรรมของชาวยิวในวอร์ซอถูกปิดผนึกเมื่อลุดวิก ฟิชเชอร์ ผู้ว่าราชการเขตวอร์ซอ เซ็นคำสั่งให้สร้างเขตที่อยู่อาศัยของชาวยิวที่เรียกว่า วอร์ซอเกตโต(Warsaw Ghetto) เมื่อ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1940 ทำให้ชาวยิวทุกคนในเมืองนี้ต้องถูกย้ายเข้าไปอยู่ในเกตโตภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940
ภายในระยะเวลา 6 เดือน มีชาวยิวกว่า 360,000 ในวอร์ซอถูกย้ายเข้ามาอยู่ในวอร์ซอเกตโตนี้และมีชาวยิวจากเมืองใกล้เคียงถูกย้ายเข้ามาอีก 53,000 คน และมีชาวเยอรมนีเชื้อสายยิวถูกส่งมาที่นี่อีกราว 4,000 คน ในปี ค.ศ. 1941
WIKIPEDIA PD
2. ในวอร์ซอเกตโตมีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกต่ำกว่ามาตรฐานประกอบกับจำนวนประชากรชาวยิวที่หนาแน่นทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ โดยเฉลี่ยแล้วห้องพักหนึ่งห้องจะมีประชากรอยู่อาศัยมากถึง 7.2 คน พวกเขาได้รับอนุญาตให้นำผ้าปูเตียงและของใช้ส่วนตัวเพียงเล็กน้อยติดตัวมาด้วยเท่านั้น
3. งานที่มีให้ทำในวอร์ซอเกตโตมีไม่เพียงพอต่อชาวยิวที่อยู่อาศัยทุกคน ทำให้เกิดปัญหาความยากจนตามมาและทำให้หลายคนได้รับประทานอาหารไม่เพียงพอแถมทางเยอรมนีเองก็จงใจที่จะส่งอาหารมาให้ในปริมาณที่จำกัด มีรายงานว่าโดยเฉลี่ยแล้วชาวยิวได้รับประทานอาหารเพียง 800 กิโลแคลอรี่ต่อวันและมีเด็กหลายคนต้องขาดอาหารจนตาย เด็กหลายคนต้องทำหน้าที่ลักลอบขนอาหารในฝั่งอารยันเพราะพวกเขามีขนาดตัวที่เล็ก ทำให้ลอดรูกำแพงของเกตโตได้
และเนื่องจากการขาดแคลนอาหารและการสาธารณสุขที่ย่ำแย่ทำให้โรคไข้รากสาดใหญ่ระบาด ในระหว่างปี ค.ศ. 1940-1942 คาดการณ์ว่ามีชาวยิวในวอร์ซอเกตโตเสียชีวิตราว 83,000 คนอันเนื่องมาจากโรคระบาดและการขาดอาหาร
WIKIPEDIA PD
4. ชาวยิวที่อยู่ในเกตโตจะได้รับแป้งขนมปังเพียง 180 กรัม แยม 1 กิโลกรัม น้ำผึ้งครึ่งกิโลกรัมและน้ำตาล 220 กรัมต่อเดือน การลักลอบนำเข้าอาหารจึงเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้มีชีวิตรอดได้ และเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าอาหารโดยชาวยิว ทางการเยอรมนีจึงได้สร้างกำแพงรอบๆ เกตโตแถมยังมีรั้วลวดหนามและเศษกระจกด้านบนอีกชั้น แต่กำแพงที่สร้างขึ้นในตอนแรกก็ไม่สามารถหยุดยั้งชาวยิวผู้หิวโหยได้จึงมีการสร้างกำแพงขึ้นใหม่ที่สูงและแข็งแรงกว่าเดิม ถ้าหากว่าพบเห็นการลักลอบนำเข้าอาหารจะมีโทษคือการยิงจนถึงแก่ชีวิต
5. เมื่อมีผู้เสียชีวิตในวอร์ซอเกตโต ทางครอบครัวจะนำร่างของพวกเขาใส่ไว้ในรถเข็นที่ไว้สำหรับรับศพก่อนจะไปฝังในสุสานรวมซึ่งก็จะต้องรอให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากพอถึงจะทำการฝังได้ และบางครอบครัวก็จำใจต้องถอดเสื้อผ้าของผู้เป็นที่รักออกเพื่อนำไปขายและซื้ออาหารมาประทังชีวิตต่อไป
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
6. เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์(Heinrich Himmler) ไรชส์ฟือเรอร์ของหน่วยเอสเอส ได้มีคำสั่งให้ย้ายชาวยิวในเกตโตไปยังค่ายมรณะเพื่อฆ่าทิ้งแต่หลอกชาวยิวว่าจะย้ายให้ยังค่ายเพื่อทำงาน แต่ชาวยิวก็รู้ภายในเวลาไม่นานว่ามันคือการเดินทางสู่ความตาย
หลังจากประกาศของฮิมม์เลอร์เพียง 2 เดือน ชาวยิวกว่า 265,000 คนได้ถูกส่งจากวอร์ซอร์เกตโตไปยังค่ายมรณะแตรบลิงกา (Treblinka) และมีอีก 20,000 คนถูกส่งไปยังค่ายแรงงานหรือถูกฆ่าระหว่างการเดินทาง
WIKIPEDIA PD
7. ท่ามกลางกระบวนการขนย้ายชาวยิวไปยังค่ายมรณะ ยังมีชาวยิวเหลืออยู่ในวอร์ซอร์เกตโตประมาณ 55,000-65,000 คน กลุ่มคนเล็กๆ ที่เหลืออยู่ในนั้น เลือกที่จะจัดตั้งกลุ่มใต้ดินของชาวยิวเพื่อป้องกันตัวเองที่เรียกกันว่า ZOB มีการลักลอบขนอาวุธจากคนที่ต่อต้านนาซี
เมื่อทหารนาซีเข้ามาในเกตโตเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1943 เพื่อเตรียมตัวจะขนส่งชาวยิวอีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่ม ZOB ได้ทำการซุ่มโจมตีทหารนาซี การต่อสู้ระหว่างทหารนาซีและ ZOB นั้นยืดเยื้อหลายวันจนกระทั่งเยอรมนีได้ถอนกำลัง และการขนส่งคนยิวได้หยุดลงไปเป็นเวลาหลายเดือน
WIKIPEDIA PD
8. ฮิมม์เลอร์ตัดสินใจส่งหน่วยเอสเอสและทหารหน่วยอื่นๆ มายังวอร์ซอร์เมื่อ 19 เมษายน ค.ศ. 1943 เพื่อทำการกวาดล้างเกตโตโดยใช้รถถังและอาวุธหนัก การต่อสู้กับชาวยิวในวอร์ซอเกตโตกับทหารนาซีครั้งนี้กินเวลานานนับเดือน
สุดท้ายแล้วฝ่ายทหารนาซีก็สามารถทำลายบังเกอร์ในเกตโตได้ทีละอัน ไล่ทำลายบล็อกต่อบล็อก ฆ่าชาวยิวนับพันคนและกลับมาควบคุมวอร์ซอร์เกตโตได้สมบูรณ์และได้ทำลายโบสถ์ของชาวยิวเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความพ่ายแพ้ คาดการณ์กันว่ามีชาวยิวประมาณ 7,000 คนเสียชีวิตในการลุกขึ้นต่อสู้ครั้งนี้และคนที่มีชีวิตเหลือรอดถูกส่งไปยังค่ายมรณะหรือค่ายแรงงาน
WIKIPEDIA PD
9. อิเรนา แซนด์เลอร์โรวา (Irena Sendlerowa) คนทำงานเพื่อสังคมชาวโปแลนด์ได้ช่วยชีวิตเด็กและทารกชาวยิวกว่า 2,500 คน เธอเป็นสมาชิกของ Zegota ซึ่งเป็นองค์กรลับที่จัดตั้งโดยรัฐบาลโปแลนด์ เธอและพวกร่วมกันลักลอบส่งเด็กๆ ในวอร์ซอเกตโตไปยังที่ปลอดภัยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942-1943 เธอได้เปลี่ยนตัวตนของเด็กและนำไปฝากกับครอบครัวทั่วโปแลนด์
อิเรนาทำงานในหน่วยงานสุขภาพแห่งวอร์ซอ เธอและทีมงานได้รับอนุญาตให้เข้ายังเกตโตได้ โดยทำการซ่อนเด็กๆ ไว้ในรถพยาบาลและส่งพวกเขาไปยังทางเดินใต้ดินที่ปลอดภัย และเดินต่อยังท่อน้ำใต้ดินหรือซ่อนพวกเขาไว้ในกระเป๋าและเอาขึ้นยังรถลาก
WIKIPEDIA PD
เพื่อให้เด็กๆ ได้กลับมาพบครอบครัวอีกครั้งเมื่อสงครามจบเธอจึงเขียนรายชื่อของเด็กๆ ทุกคนไว้ที่กระดาษห่อบุหรี่ และเขียนซ้ำไว้อีกที่เพื่อความปลอดภัยจากนั้นนำไปบรรจุในขวดแก้วแล้วปิดผนึกและฝังที่สวนของเพื่อนร่วมงาน ขวดนี้ได้ถูกขุดขึ้นมาอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สองจบเพื่อที่จะจัดการให้ครอบครัวได้พบหน้ากัน แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ผู้ใหญ่หลายคนได้เสียชีวิตไปแล้ว อิเรนาได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 2007 และ 2008 จากการสนับสนุนของบุคคลที่มีชื่อเสียงและองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคม
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา