16 ส.ค. 2020 เวลา 14:22 • นิยาย เรื่องสั้น
(Henry Howard Holmes) ‘เฮนรี โฮเวิร์ด โฮล์มส์’
ฆาตกรต่อเนื่องรายแรกของสหรัฐอเมริกา
“ผมเกิดมาคู่กับปีศาจ” – H.H.Holmes
ในปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ.1886) นายเฮอแมน เวบสเตอร์ มัดเจตต์ ทิ้งลูกทิ้งเมีย หลบหนีข้อหาฉ้อโกง,วางยาพิษและฆาตกรรมมาที่รัฐอิลลินอยส์ เมืองชิคาโกเพื่อมาลงหลักปักฐาน เริ่มต้นชีวิตใหม่ ภายใต้ชื่อใหม่ "เฮนรี่ โฮวาร์ด โฮลมส์" หรือชื่อสั้นๆว่า "H H Holmes"
1
แต่การเริ่มต้นชีวิตใหม่ของเขา ไม่ใช่การเริ่มต้นแบบใสสะอาด เพราะเป็นที่มาของการฆาตกรรมต่อเนื่องครั้งใหญ่ ที่มีเค้ามูลว่าฆ่าคนอย่างน้อย 200 รายภายในระยะเวลาไม่กี่ปี
นายโฮลมส์ เรียนจบด้านการแพทย์จากม.มิชิแกน ทำงานในห้องแล็ปกายวิภาค จนความแดงว่านายโฮลม์นำเศษซากศพจากห้องแล็ปมาจัดเรียงเป็นอุบัติเหตุต่างๆเพื่อเรียกเงินประกัน โดยทำแบบนี้ตั้งแต่สมัยยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
นายเฮอแมน เวบสเตอร์ มัดเจตต์ หรือ H H Holmes ภาพจาก Chicago Museum/Getty
เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ทำให้นายโฮลมส์ตัดสินใจย้ายหนีไปอยู่เมืองเล็กๆในรัฐนิวยอร์ค ที่มีคนเห็นเขาเดินกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่อยู่ๆก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
ในตอนนั้น นายโฮลมส์อ้างว่าเด็กชายเดินทางกลับไปอยู่กับครอบครัวที่อาศัยอยู่ต่างรัฐ และเป็นเหตุให้นายโฮลมส์ย้ายหนีอีกครั้งหนึ่งไปที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มาทำงานที่ร้านขายยา ทำได้ไม่กี่วันก็มีเหตุการณ์เด็กน้อยรายหนึ่ง มาซื้อยาที่โฮลมส์ขายแล้วก็ตายไม่กี่วันถัดมา ทำให้โฮลมส์ย้ายหนีอีกครั้งหนึ่ง มาสู่รัฐอิลลินอยส์จุดเริ่มต้นของการสร้าง "ปราสาทแห่งการฆาตกรรม" (Murder Castle)
โรงแรมแห่งการฆาตกรรมของโฮลมส์ ที่มีการบรรยายว่ามีห้องที่ไม่มีประตู มีประตูที่เปิดไปก็ไม่เจออะไรเลย เป็นดั่งเขาวงกต ภาพจาก Chicago Museum
โฮลมส์ย้ายมาเริ่มต้นชีวิตที่เมืองชิคาโก ทำงานอยู่ร้านขายยาของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ทำงานหนักจนสามารถซื้อร้านขายยาของสามีภรรยาคู่นี้ได้ (มีข่าวลือว่าโฮลมส์ฆ่าสามีภรรยาคู่นี้ แต่สุดท้ายมีการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง) ต่อมาไม่นานโฮลมส์ซื้อที่ดินเปล่าฝั่งตรงข้ามกับร้านขายยา และเริ่มก่อสร้างอาคารขนาดสองชั้น
โดยชั้นแรกเป็นร้านขายยาและพื้นที่ปล่อยเช่าร้านค้า ส่วนชั้นบนเป็นอพาร์ตเมนต์ จนตอนเกือบจะสร้างเสร็จโฮลมส์ตัดสินใจเพิ่มชั้นที่ 3 โดยบอกกลุ่มนักลงทุนว่า จะเป็นการขยายโรงแรมเพื่อรองรับงานแฟร์ระดับประเทศที่จะมีคนกว่า 27 ล้านคนจาก 46 ประเทศเดินทางมา
การก่อสร้างโรงแรมของโฮลมส์ มีการเปลี่ยนช่างและผู้รับเหมามากมาย เพื่อไม่ให้มีใครรับรู้ถึงรายละเอียดผังของอาคารของเขาทั้งหมด ในที่สุดก็สร้างเสร็จในปี 1892 (พ.ศ.2435) ในขณะที่งานแฟร์กำลังก่อสร้างอยู่ อาคารของโฮลม์ถูกเรียกว่า "ปราสาทแห่งการฆาตกรรม" เพราะข้างในมีห้องพักอาศัยเป็น 100 ห้อง มีบางห้องมีประตูถึง 5 บาน บางห้องไม่มีหน้าต่าง ประตูหลายบานเปิดไปเจอกำแพงอิฐ บันไดหลายๆตัวที่ขึ้นไปก็ไม่มีทางไปต่อ
ผังโรงแรมของโฮลมส์ที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ Chicago Tribune มีเตาเผาศพ มีบ่อน้ำกรดมีประตูห้องลับต่างในภาพ
ห้องหลายๆห้องมีการบุฉนวนกันเสียงอย่างดี มีประตูลับซ่อนอยู่มากมาย จนถึงห้องที่มีท่อแก๊ซที่สามารถกดปล่อยรมควันคนภายในห้องให้ขาดอากาศตายได้ หรือปล่องลับที่ปล่อยร่างของคนลงมาที่ชั้นใต้ดิน ที่ที่มีบ่อน้ำกรดหรือบ่อน้ำด่างเพื่อกำจัดศพ เตาเผาศพ โต๊ะผ่าชิ้นส่วนศพ และอุปกรณ์ทรมานอีกหลายชิ้น
มีข้อมูลว่าโฮลมส์นำโครงกระดูกของเหยื่อบางส่วนไปขายต่อในตลาดมืดให้กับสถานศึกษาที่ต้องการโครงกระดูกมาใช้ศึกษากายวิภาค ที่เป็นวิชาโปรดของเขา
ภาพวาดจำลองผังในโรงแรม มีทั้งเขาวงกต ห้องรมแก๊ส ห้องทรมานเหยื่อ ห้องกำจัดศพที่ทั้งหมดซ่อนอยู่ในโรงแรมที่ภายนอกดูเงียบสงบของโฮลมส์Holly Carden, Carden Illustration, http://hollycarden.com/store/
เหยื่อของโฮลมส์เน้นไปที่ผู้หญิงที่เดินทางมาทำงานที่ชิคาโกคนเดียว โดยบางส่วนมาจากการประกาศรับสมัครงานว่ามาทำงานที่โรงแรมหรือร้านขายยาของเขา เหยื่อหลายๆคนมาจากคารมในการจีบเกี้ยวพาราสี หลอกล่อมาเป็นคู่หมั้นก่อนที่จะหายตัวไปตลอดกาล
และแน่นอนที่สุดว่าปีถัดมาหลังจากโรงแรมสร้างเสร็จ งานแฟร์ระดับประเทศก็เริ่มต้นขึ้น แขกของโรงแรมหลายต่อหลายคนที่เดินทางมาเช็คอิน ก็ไม่ได้มีโอกาสเช็คเอาต์อีกเลย
หลังจากงานแฟร์จบลงในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน (ค.ศ.1893, พ.ศ.2436) โฮลมส์มีหนี้สินพะรุงพะรังมากมายจากการก่อสร้างโรงแรม เขาย้ายออกจากเมืองชิคาโกเพื่อหนีหนี้ไปพร้อมกับมือขวาของเขา นายเบนจามิน พิทซ์เซล เพื่อทำธุรกิจหลอกลวงผู้คนและหลอกเอาเงินประกันที่เขาถนัดตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ทำอยู่ 2 ปี ก่อนสุดท้ายหลอกภรรยานายเบนจามินว่าจะให้นายเบนจามินแกล้งตายเพื่อเอาเงินประกัน ที่โฮลมส์รับไว้ทั้งหมดเอง มีการขัดผลประโยชน์และตามมาด้วยการสังหารนายเบนจามินต่อมา
ภาพของโฮลมส์และเหยื่อเด็กชายรายนึงที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ยุคนั้น
สุดท้ายนายโฮลมส์ก็หนีไม่รอด ถูกจับในข้อหาโกงเงินประกัน และไต่สวนมาถึงคดีฆาตกรรมมากมาย ที่นายโฮลมส์กลับคำให้การวกไปวนมา รับสารภาพว่าสังหารไปทั้งสิ้น 27 ศพ แต่มีการวิเคราะห์ว่าจริงๆแล้วอาจจะฆ่าไปมากกว่า 200 ศพเลยทีเดียว คำกล่าวที่โด่งดังของนายโฮลมส์คือ
"I could not help the fact that I was a murderer, no more than the poet can help the inspiration to sing."
"หากเปรียบตัวผมเป็นฆาตกร ผมไม่สามารถหลีกเลี่ยงในสิ่งที่ผมเป็น เสมือนกับนักกวีไม่สามารถที่จะหยุดสร้างสรรค์ผลงานเพลงออกมาได้หรอก"
นายโฮลมส์ถูกตัดสินประหารชีวิต และถูกแขวนคอวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1896 (พ.ศ. 2439) ด้วยคำขอสุดท้ายคือขอให้ทางการฝังร่างของเขาด้วยการเทปูนซีเมนต์เกือบ 10 ตันทับโลงศพของเขา เพราะเขาไม่ต้องการให้ใครมาขโมยหรือยุ่งกับศพของเขาเอง
โฆษณา