Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Wild Chronicles
•
ติดตาม
17 ส.ค. 2020 เวลา 08:07 • ประวัติศาสตร์
อเมริกาซื้อน้ำมันจากกลุ่มเคิร์ดซีเรีย
ช่วงนี้มีอีกข่าวที่น่าสนใจ คือนายมัสลุม โคบานีผู้นำเคิร์ดซีเรียได้บรรลุข้อตกลงมอบสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน 25 ปี ให้กับบริษัท Delta Crescent Energy ของอเมริกา โดยข้อตกลงนี้เป็นที่ “รับรู้และสนับสนุน” โดยทำเนียบขาว
การตกลงดังกล่าวถูกมองเป็นแผนการของพวกเคิร์ดในการดึงอเมริกาให้ถลำลึกลงมามีผลประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกในภูมิภาคนี้ จะต้องส่งเงินและอาวุธสนับสนุนเคิร์ดเพื่อรักษาผลประโยชน์ดังกล่าวมากขึ้นอีก
ถ้าท่านลองดูแผนที่ซีเรียจะพบว่าเคิร์ดถือครองดินแดนเล็กกว่ารัฐบาลมาก ...แต่กว่าครึ่งของบ่อน้ำมันนั้นอยู่ในเขตเคิร์ดนะครับ
...แน่นอนว่าข้อตกลงดังกล่าวถูกประท้วงจากทั้งรัฐบาลซีเรีย และตุรกี...
รัฐบาลซีเรียเชื่อว่าน้ำมันทั้งหมดในซีเรียย่อมเป็นของตน โดยเฉพาะเมื่อดินแดนที่เคิร์ดยึดครองนั้นหลายส่วนไม่ใช่ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวเคิร์ดด้วยซ้ำ แต่เป็นเมืองอาหรับที่เคิร์ดตีได้จาก ISIS แล้วยังยึดครองอยู่
แต่ยามสงครามกฎระเบียบต่างๆ ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ตอนนี้อเมริกากำลังทำสงครามตัวแทนกับรัฐบาลซีเรีย เมื่อรบด้วยสงครามอาวุธไม่ชนะ เขาก็หันมาใช้สงครามเศรษฐกิจ คือคว่ำบาตรให้เศรษฐกิจซีเรียพังพินาศ และยังซื้อน้ำมันจากกลุ่มเคิร์ดเพื่อเสริมอิทธิพลกับตัวแทนของตนในซีเรียอีก
สำหรับตุรกีนั้นมีความแค้นกับเคิร์ดซีเรียมานาน เพราะเชื่อว่าเป็นกลุ่มเดียวกับกบฏเคิร์ดตุรกีที่กำลังก่อการในประเทศตน อย่างไรไม่อาจปล่อยให้เคิร์ดซีเรียมีกำลังขึ้นได้
แต่แผนการ “เอาน้ำมันแลกอำนาจ” นี้ ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับพวกเคิร์ด เมื่อสิบปีก่อนเคิร์ดอิรักต้องการเป็นอิสระจากรัฐบาลอิรักจึงคิดขายน้ำมันแลกความคุ้มครองจากพันธมิตรแข็งแกร่ง
ตอนนั้น “พันธมิตรแข็งแกร่ง” ที่มาช่วยเคิร์ดอิรักก็คือตุรกีเองนั่นแหละ!
1
ตุรกีได้ดีลน้ำมันงามๆ ไป แลกกับให้ความช่วยเหลือเคิร์ดอิรักทางเศรษฐกิจ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เคิร์ดอิรักเจริญรุ่งเรือง เป็นรัฐอิสระได้ขนาดทุกวันนี้
...ซึ่งขณะเดียวกันก็ทำให้เคิร์ดอิรักกับเคิร์ดตุรกี-ซีเรียไม่ชอบกันด้วย (เคิร์ดมีสองพวกใหญ่ๆ นะครับ คือเคิร์ดอนุรักษ์นิยมมีอำนาจในอิรัก และเคิร์ดสังคมนิยมมีอำนาจในตุรกี-ซีเรีย สองพวกนี้ทำการแยกกัน ทะเลาะกันบ่อย แต่เนื่องจากเห็นใจที่เป็นเคิร์ดเหมือนกันจึงไม่เคยทะเลาะกันรุนแรง)
หลังนายมัสลุม โคบานีรบชนะ ISIS แล้ว เห็นบ้านเมืองเริ่มสงบลงบ้าง ก็หันมามุ่งสร้างชาติด้วยวิธีทางการเมือง
เขาส่งสารจะยอมขอสวามิภักดิ์รัฐบาลซีเรีย (แต่ยังไม่ได้ทำ), ยอมเจรจาจัด safe zone กับตุรกี, ปิดดีลน้ำมันกับอเมริกา, หันไปเจริญไมตรีกับเคิร์ดอิรัก, และยังมีข่าวว่าเขากำลังคุยดีลน้ำมันอีกดีลกับรัสเซียอีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นวิถีของชนกลุ่มน้อย คือดึงมหาอำนาจกลุ่มต่างๆ ให้สู้แย่งผลประโยชน์กัน และฉกฉวยเอาประโยชน์จากการขัดแย้งนั้น
...นับเป็นเกมส์การเมืองแบบที่ยากและลึกซึ้งยิ่ง... แต่นายโคบานีก็มีความหวัง เพราะที่ผ่านมาเคิร์ดอิรักก็เดินเกมส์แบบนี้ และค่อนข้างทำได้ดีจนตั้งรัฐสำเร็จ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่นายโคบานีต้องตระหนักคือ ตามประวัติศาสตร์แล้วอเมริกาค่อนข้างอินดี้กับพันธมิตรของตนเอง
เฉพาะเรื่องเคิร์ดซีเรียนั้น อเมริกาเริ่มต้นโดยมาสนับสนุนให้เคิร์ดซีเรียเป็นทหารราบไปปราบ ISIS...
ต่อมาพอปราบได้แล้วทรัมป์ก็บอกว่าไม่คุ้มอยู่ต่อละ จะทิ้ง...
แต่กลุ่มทหารอเมริกามาประท้วงว่าการทิ้งเคิร์ดนั้นผิดคุณธรรมทำให้ทรัมป์ยอมอยู่...
แล้วพอเวลาผ่านไปกระแสตกทรัมป์ก็ถอนทหารแบบดื้อๆ จนทำให้เคิร์ดซีเรียถูกตุรกีรังแก...
แล้วทรัมป์ก็เปลี่ยนใจคงทหารอยู่อีก แต่รักษาเฉพาะบ่อน้ำมัน...
กลับไปกลับมาอย่างนี้ถึงห้ารอบในเวลาไม่กี่ปี แสดงให้เห็นถึงความอินดี้ยิ่งนัก เทียบกับรัสเซียที่ชัดเจนเคยพยุงอัสสาดแม้ช่วงเวลาที่ลำบากที่สุด จนกลับมาได้เปรียบ
ดังนี้เคิร์ดซีเรียจะสร้างชาติได้หรือไม่ ยังต้องดูต่อไปอีกยาวๆ
นายมัสลุม โคบานี ผู้นำเคิร์ดซีเรีย
::: ::: :::
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตามเพจ The Wild Chronicles - เชษฐา
https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat
ได้เลยครับ
facebook.com
The Wild Chronicles - เชษฐา
The Wild Chronicles - เชษฐา, Bangkok, Thailand. 247K likes. คุยเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ และการท่องเที่ยวที่แปลกๆ ของผม
3 บันทึก
14
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
งาน ส.ค 2020
3
14
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย