Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วางแผนการเงินกับ ดิวโด้
•
ติดตาม
22 ส.ค. 2020 เวลา 00:00 • การศึกษา
6 ขั้นตอนการอ่าน Fund fact sheet ง่ายๆ โดยไม่ต้องง้อเซียน!!
✔️...สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังจะเริ่มลงทุนในกองทุนรวม สิ่งแรกที่ผมแนะนำเลยคือ โหลด เจ้าตัว Fact sheet กองทุนที่ตัวเองสนใจมาศึกษา ถ้าเกิดเราไม่ศึกษาด้วยตัว สุดท้ายเราก็ต้องมาไล่ถามคนอื่นว่า
กองทุนนี้ดีไหมครับ?
กองนี้น่าลงทุนไหมครับ?
กองนี้ลงทุนในไหนบ้างครับ?
แนะนำกองทุนหน่อยครับ?
✅...ซึ่งจริงๆ Fund fact sheet มีข้อมูลตอบพวกท่านได้อยู่ว่า กองนี้ดีหรือไม่ดี น่าลงทุนหรือไม่
วันนี้ผมจึงมีวิธีการอ่าน Fund fact sheet แบบง่าย ๆ มาให้มือใหม่ทุกท่านได้ลองนำไปใช้ดูครับ
...
กองทุนในภาพคือ K-SET50 ซึ่งไม่ได้มีเจตนาเพื่อชี้ชวนให้ลงทุนในกองนี้นะครับ ผมเอามาเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั่นครับ ‼️‼️
#วางแผนการเงิน #วางแผนการเงินการลงทุน #วางแผนการเงินเชียงใหม่ #การวางแผนการเงิน #วางแผนเกษียณ #วางแผนภาษี #การเงินเชียงใหม่ #เชียงใหม่
เพจ : วางแผนการเงินกับดิวโด้
https://www.facebook.com/planner.dew
1. วันที่
1️⃣. ..วันที่ของ Fund facts sheet
****ส่วนนี้ต้องบอกก่อนว่า ทาง บลจ. จะอัพเดทตัว fact sheet นี้ทุก ๆ 6 เดือน ก็คือ ช่วงต้นปี (มกราคม) และ กลางปี (มิถุนายน)****
▶️เริ่มมาปุ๊บสังเกตมุมขวา ให้ดูว่าวันที่นั่น ล่าสุดหรือยัง เพราะถ้าเกิดเราดู face sheet ย้อนหลัง มันจะทำให้ข้อมูลของกองทุนที่เรากำลังดูอยู่นั่นเพี้ยนได้ครับ เพราะเราไม่รู้ว่าผู้จัดการกองทุน ปรับเปลี่ยนอะไรในกองทุนนี้บ้าง เพราะฉะนั้น
.."วันที่ของ fact sheet จึงสำคัญ เช็คก่อนเลยอันดับแรก"..
2. นโยบาย กุลยุทธ์ ความเสี่ยง
2️⃣.. .นโยบายการลงทุน และ กลยุทธ์การลงทุน ระดับความเสี่ยง
▶️นโยบายการลงทุนเป็นตัวบ่งบอกว่า กองทุนที่เราศึกษาอยู่ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหน เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ หรืออสังหาริมทรัพย์
▶️กลยุทธ์การลงทุน ของกองทุนที่เราศึกษาอยู่นั่น มุ่งหวังผลการลงทุนเป็นแบบใด ก็คือ เป็น Passive (เน้นทำผลตอบแทนให้เท่ากับตลาด) หรือ Active fund (เน้นทำผลตอบแทนให้ชนะตลาด)
▶️ระดับความเสี่ยง ซึ่งระดับความเสี่ยของกองทุนจะมี อยู่ 8 ระดับ ยิ่งมาก ยิ่งเสี่ยงมาก
▶️และที่สำคัญกองทุนที่เราศึกษานั่น จ่าย หรือไม่จ่ายปันผล เพราะกองที่จ่ายกับไม่จ่ายปันผล จะมีเรื่องของมูลค่า Nav มาเกี่ยวข้อง ทำให้มีความต่างกันในเรื่องของผลตอบแทนในอนาคต เรื่องนี้เด่วไว้บทความหน้าจะมารีวิวให้ฟังครับว่า กองที่จ่าย กับไม่จ่ายต่างกันยังไง
3. หลักทรัพย์ลงทุน 5 อันดับแรก
3️⃣ การลงทุนหลักทรัพย์ 5 อันดับแรก
▶️ข้อมูลในส่วนนี้จะช่วยให้เราเห็นว่า กองทุนมีการกระจ่ายการลงทุนไปในสินทรัพย์ไหนบ้าง ตรงกับนโยบายการลงทุนไหม เช่น กองทุน SET50 แต่ สินทรัพย์ 5 อันดับแรก เป้นหุ้นต่างประเทศหมดเลย อันนี้ถือว่าไม่ดำเนินการตามนโยบายการลงทุน ไม่ควรลงทุนอย่างยิ่ง!!
4. ค่าธรรมเนียม
4️⃣ ค่าธรรมเนียม
▶️ข้อมูลในส่วนนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะค่าธรรมเนียมถือว่าเป็นต้นทุนที่นักลงทุนต้องแบกรับ จะเห็นว่าตอนที่เราซื้อกองทุนครั้งแรก มูลค่า Nav ของเราติดลบ เพราะ โดนหักค่าธรรมเนียมขาเข้านั่นเองครับ
ดูยังไงว่าดีไม่ดี ?
▶️ให้ดูตรงค่าธรรมเนียมที่เก็บจริง กับ ที่กองทุนตั้ง Maximum ไว้ ถ้าเกิน Maximum ที่ตั้งไว้ ให้ตั้งสมมติฐานไว้เลยว่า แปลกๆ แล้วนะ ต้องมีอะไรเกิดขึ้นแน่ ๆ ที่เค้าเรียกเก็บซะเยอะขนาดนั้น (จากที่ดูมาหลายๆ กอง ผมยังไม่เคยเห็นกองไหนเก็บเกินนะครับ )
▶️และที่สำคัญ ข้อมูลส่วนนี้ยังเป็นข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบกองทุนได้อีกด้วย เพราะกองทุนที่หน้าตาเหมือนๆกัน แต่ต่าง บลจ. ก็เก็บค่าธรรมเนียมต่างกันเช่นกัน ครับ
5. ผลการดำเนินงานและความเสี่ยง
5️⃣ ...ผลการดำเนินงาน และ ความเสี่ยง
▶️ตรงส่วนของผลการดำเนินงานนี้..ให้เรานำผลการดำเนินงานของกองทุนมาเทียบกับ Benchmark ว่ามันห่างกันมากไหม ถ้าห่างกันมาก เช่น Benchmark ทำได้ 20 % แต่กองทุนทำได้แค่ 10% แบบนี้แสดงว่า กองทุนมีปัญหาด้านบริหารจัดการ แต่ไม่ใช้ว่ากองทุนทำได้น้อยกว่าเท่านั่นถึงจะเป็นปัญหาเท่านั่นนะครับ
ถ้าทำได้มากกว่า Benchmark มาก ๆ เช่น Benchmark ทำได้ 20 % แต่กองทุนทำได้ 30% แบบนี้ แสดงว่าผู้จัดการกองทุน อาจจะมีแอบปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุน หรือ เกิดอะไรขึ้นหรือเปล่าที่ทำให้ผลตอบแทนมันโดดขึ้นมา ก็ถือเป็นความเสี่ยงของผู้ลงทุนเช่นกันนะครับ เพราะถ้าเกิด ผลตอบแทนมันไม่เพิ่ม กลับกลายเป็นว่าลดลง ผลเสียนั่นจะตกเป็นของนักลงทุน นั่นเองครับ
**เอาเป็นว่าถ้าดูจากผลตอบแทนกับ Benchmark แล้วมันไม่หนีห่างกันมาก ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติครับ **
▶️ความเสี่ยง
...ตรงส่วนนี้ดูแค่ Maximum Drawdown กับ ค่า SD ก็เพียงพอแล้วครับ
✔️...Maximum Drawdown ตรงส่วนนี้จะบอกว่า ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมาเนี่ย (ส่วนใหญ่จะย้อนหลัง 5 ปี) กองทุนขาดทุนมากที่สุดเท่าไหร่ เช่น กองนี้ขาดทุนสูงสุด 40% นั่นแสดงว่า ถ้าเราลงเงินไป 1 แสนบาท จะเหลือ 6 หมื่นบาท เรารับได้ไหม? นั่นเองครับ
✔️...ส่วน ค่า SD นี้จะบอกถึงความผันผวนของกองทุน ว่ามีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน ตรงส่วนนี้ผมแนะนำให้ดูเทียบ Benchmark ถ้ามันใกล้เคียงกันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามันห่างกันมากๆ อันเนี่ย ต้องระวังครับ
✅คำแนะนำ
สำหรับใครที่เริ่มอ่าน fact sheet ผมแนะนำให้ หากระดาษจด หรือ เปิด word แล้ว กอปข้อมูลในส่วนที่สำคัญ ๆ ที่ผมบอกไว้ข้างต้น ใว้ในแผ่นเดียวกัน จะทำให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจมากขึ้นครับ
ผิดพลาดประการใดขออภัยครับผม ขอบคุณครับ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย