Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MeowField (เล่าเรื่อง)
•
ติดตาม
24 พ.ค. 2023 เวลา 07:24 • ประวัติศาสตร์
5 เหตุการณ์กับเครื่องบินที่เลวร้ายที่สุด
ว่าด้วยการคมนาคมระหว่างประเทศที่ดีที่สุด และรวดเร็วที่สุดในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น การเดินทางด้วยเครื่องบิน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเครื่องมีวิวัฒนาการ และพัฒนาจากรุ่นสู่รุ่น จนมีสมรรถนะการขับเคลื่อนไปถึงจุดหมายปลายทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า ถึงแม้เครื่องบินจะเป็นพาหนะชั้นเลิศ
ในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นก็มักมีเหตุการณ์เครื่องบินตก หรือชนกัน การก่อการร้ายอยู่เนือง ๆ และเมื่อมีเหตุการณ์เกี่ยวกับเครื่องบินมักจะไม่มีผู้รอดชีวิต แอดมินของยกตัวอย่าง 5 เหตุการณ์เกี่ยวกับเครื่องบินที่เลวร้ายที่สุด มาเล่าสู่กันฟังกันครับ
1. เหตุการณ์ที่ 1 Charkhi Dadri mid-air collision
เหตุการณ์แรกนี้ เป็นเหตุการณ์เครื่องบินชนกันระหว่าง เครื่องบินรุ่น โบอิง 747-168บี ของสายการบินซาอุดิอารเบีย เที่ยวบิน 763 ที่เดินทางออกจากสนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เพื่อเดินทางไปยังสนามบินปลายทาง ประเทศซาอุดิอารเบีย มีผู้โดยสาร รวมลูกเรือ 312 คน
เครื่องบินลำที่สอง รุ่นอิลยูซิน อิล-76ทีดี ของสายการบินคาซัคสถาน เที่ยวบิน 1907 ที่ออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติ เชิมเกนต์ ประเทศคาซัคสถาน เพื่อเดินทางไปสนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย มีผู้โดยสาร 37 คนรวมลูกเรือ
โดยเหตุการณ์การชนกัน เริ่มจาก เครื่องบินรุ่น โบอิง 747-168บี ของสายการบินซาอุดิอารเบีย เที่ยวบิน 763 ได้ทำการขึ้นบินจากท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ทำการขึ้นบินซึ่งทางหอบังคับการบินได้มีการสื่อสารให้เที่ยวบิน 763 ไต่ระดับไปที่ความสูง 14,000 ฟุต เพราะในขณะเดียวกันเที่ยวบิน 1907 ของสายการบินคาซัคสถานที่กำลังจะลงจอด ทางหอบังคับการบินแจ้งให้เครื่องบินลดระดับการบินมาที่ 15,000 ฟุต
แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อเที่ยวบิน 1907 ของสายการบินคาซัคสถาน ไม่ได้ลดระดับไปที่ 15,000 ฟุต แต่เป็นที่ระดับ 14,500 ฟุต และลดระดับลงเรื่อย ๆ โดยไม่รู้เลยว่า ว่ามีเครื่องบิน บินสวนกัน ทำให้เกิดการชนกันกลางอากาศ ระเบิดเสียงดังเป็นลูกไฟขนาดใหญ่ ตกลงพื้นที่ว่างเปล่า เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้โดยสาร และลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด
โดยหลังเหตุการณ์จากการตรวจสอบกล่องดำของเครื่องบิน ทางซาอุดิอารเบียได้กล่าวโทษทางคาซัคสถานว่า เที่ยวบิน 1907 ไม่รักษาระดับความสูงที่ 15,000 ฟุต และทางเจ้าหน้าจราจรอากาศไม่แจ้งกับทาง 763 ว่ามีเครื่องบินบินสวนในเส้นทางเดียวกัน เหตุการณ์ Charkhi Dadri mid-air collision ถือเป็นอุบัติเหตุทางอากาศที่รุนแรงและสูญเสียเป็นอย่างมากเหตุการณ์หนึ่งของโลก
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
เหตุการณ์ที่ 2 เลาดาแอร์ ตกที่อุทยานแห่งชาติพุเตย
มาถึงเหตุการณ์ที่ 2 ที่สร้างความเสียหายแก่ชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก นั่นก็คือเหตุการณ์เครื่องบิน ของสายการบินเเลาดาแอร์ ตกที่ที่อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย เกริ่นคร่าวก่อนว่า สายการบินเลาดาร์ เป็นสายการบินของประเทศออสเตรีย ซึ่งเจ้าของสายการบิน มีชื่อว่า นิกิ เลาดา ซึ่งเป็นอดีตแชมป์โลกรถฟอร์มูลาร์วัน ชาวออสเตรีย ปัจจุบันสายการบินนี้ถูกควบรวมไปกับสายการบินของออสเตรียเป็นที่เรียบร้อย
เหตุการณ์ในวันที่เครื่องตกนั้น เครื่องบินโบอิง 767-3Z9ER เที่ยวบินที่ NG004 ที่ขึ้นบินจากสนามบินดอนเมือง ประเทศไทย เตรียมมุ่งหน้าไป กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างที่เครื่องกำลังทำการบินนั้น นักบินผู้ช่วยได้สังเกตว่ามีสัญญาณผิดปกติแจ้งเตือนมาบนหน้าจอ ซึ่งได้ทำอ่านคู่มือ และการปรึกษากับกัปตันประจำเครื่อง ซึ่งลงความเห็นกันว่าเป็นเพียงสัญญาณปกติเท่านั้น และทำการบินต่อไป
แต่หาได้รู้ไม่ว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์หมายเลข 1 นั่นกำลังจะนำพาหายนะครั้งใหญ่มาให้ ซึ่งสัญญาณเตือนที่ปรากฎบนหน้าจอยังดังอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาประมาณ 23.17 น. ตามเวลาประเทศไทย เครื่องบินสูญเสียแรงขับ บริเวณปีกซ้ายของเครื่อง ทำให้เครื่องนั้นเกิดระเบิด และฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ กลางอากาศ ตกลงสู่ยอดเขาพุเตย บริเวณอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตถึง 223 คน ไม่มีผู้ใดรอดชีวิต
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
หลังเหตุการณ์เครื่องบินตก ได้มีการตรวจหาสาเหตุ พบว่า Thrust Reverser ของเครื่องยนต์หมายเลข 1 นั้นเกิดความผิดปกติ กางขึ้นเองกลางอากาศ ถ้าอธิบาย คร่าว ๆ Thrust Reverser ก็คือระบบที่ถูกติดตั้งในเครื่องยนต์อากาศยาน ใช้ชะลอความเร็วในการลงจอดของเครื่องบิน
โดยปกติแล้ว Thrust Reverser จะทำงานก็ต่อเมื่อเครื่องลงจอดเท่านั้น ซึ่งจะไม่ทำงานกลางอากาศเด็ดขาด ถ้าเกิดทำงานช่วงระหว่างที่เครื่องบินอยู่จะทำให้เครื่องสูญเสียแรงขับ และทำให้เกิดเหตุการณ์ดั่งที่เกิดกับเครื่องบินโบอิง 767-3Z9ER เที่ยวบินที่ NG004 ของสายการบินเลาดา ในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไข จุดบกพร่องของ Thrust Reverser ไม่ให้มันทำงานเองกลางอากาศ และมันทำงานได้ก็ต่อเมื่อเครื่องกำลังจะลงจอดเท่านั้น
**ปัจจุบันบริเวณที่เครื่องบินตก กลายเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของ
อุทยานแห่งชาติพุเตย**
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
เหตุการณ์ที่ 3 เหตุเครื่องบินชนกันที่เตเนริเฟ ปี 1977
เหตุเครื่องบินชนกันที่เตเนริเฟ ถือเป็นอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายทางทรัพย์สิน และชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์นี้ถึงจะไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนอากาศ แต่เกิดขึ้นบนอากาศยานสนามบิน ทำให้ตระหนักได้ว่า ความปลอดภัยภายในสนามบินเองก็เป็นเรื่องสำคัญมาก
เหตุเริ่มต้นเมื่อสนามบิน กรานคานาเรีย สนามบินหลักของสเปน ถูกข่มขู่จะมีการวางระเบิดที่สนามบินเป็นเหตุให้สนามบินต้องปิดตัวชั่วคราว เครื่องบินหลายลำจำต้องไปลงจอดที่ ท่าอากาศยานโลสโรเดโอส ซึ่งปัจจุบันคือท่าอากาศยานเตเนริเฟ อยู่บนเกาะเตเนริเฟ หมู่เกาะแคนารี ประเทศสเปน สนามบินเตเนริเฟ นั้นไม่ใช่สนามบินหลัก มีพื้นที่เล็กไม่เพียงพอที่จะรับปริมาณเครื่องบินที่ลงจอดจำนวนมาก หรือรองรับเครื่องขนาดใหญ่
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
เหตุการณ์หายนะ เมื่อ 2 สายการบิน สายการบินแพนแอม เครื่องโบอิง 747-121เที่ยวบินที่ 1736 ที่บินมาจากลอสแองเจอลิส สหรัฐอเมริกาและเครื่องบินโบอิง 747-206B สายการบิน KLM ของประเทศเนเธอแลนด์ ต้องจอดที่เตเนริเฟเนื่องจากเหตุการณ์ขู่วางระเบิดที่สนามบินกรานคานาเรีย เพื่อรอเวลาให้สนามบินกรานคานาเรียเปิดใช้งานได้อีกครั้ง
หลังจากสนามบินเปิดใช้งานได้อีกครั้ง ทางเจ้าหน้าที่หอบังคับวิทยุได้มีการเตรียมให้เครื่องขึ้นบิน แต่เนื่องด้วยสนามบินมีขนาดเล็กทำให้ มีแต่เครื่องลำเล็กเท่านั้นที่สามารถแทรกตัวขึ้นบินได้ ระหว่างนั้นเครื่องของสายการบินเแอลเอ็มนั้นขอจอดเติมน้ำมันให้เต็มก่อนออกเดินทาง
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
ซึ่งด้วยเหตุนี้ซึ่งขวางทางขึ้นบินของเที่ยวบิน 1736 ของสายการบินแพนแอม ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 45 นาทีถึงจะเติมน้ำมันเสร็จ ทางหอบังคับวิทยุจึงแจ้งกัปตันของเที่ยวบิน 1736 ให้วิ่งไปที่ช่องวิ่งที่ 3 แต่เมื่อนำเครื่องวิ่งไปที่ทางวิ่งที่ 3 กับเป็นช่วงโค้งหักศอกไม่สามารถนำเครื่องเข้าไปได้ ประกอบกับช่วงเวลานั้นมีหมอกลงหนาทำให้การมองเห็นจึงไม่ดีนัก จึงตัดสินใจเปลี่ยนไปเข้าทางวิ่งที่ 4 ประกอบกับทางเครื่อง โบอิง 747-206B สายการบิน KLM เติมน้ำมันเสร็จพอดีและแจ้งเตรียมนำเครื่องขึ้น
แต่ด้วยการสื่อสารที่เหมือนจะไม่เข้าใจกัน ซึ่งเหมือนทางหอบังคับจะยังไม่อนุญาตให้เครื่องขึ้นบิน แต่ทางกัปตันของ KLM เข้าใจว่าสามารถนำเครื่องขึ้นได้แล้ว จึงทำการเดินเครื่องเพื่อ Take Off โดยหารู้ไหมว่าเครื่องบินของสายการบินแพนแอมยังขวางทางบนรันเวย์
เป็นเหตุให้เครื่อง โบอิง 747-206B สายการบิน KLM ชนเข้ากับ เครื่องโบอิง 747-121เที่ยวบินที่ 1736 ของสายการบินแพนแอม เกิดเป็นระเบิดขนาดใหญ่เนื่องจาก เครื่อง โบอิง 747-206B ของสายการบิน KLM นั่นเติมน้ำมันมาเต็มถังเป็นชนวนให้เกิดระเบิดขนาดใหญ่ โดยผู้โดยสารของสายการบินทั้ง 2 เสียชีวิตไปถึง 583 คน ถือว่าสูงเป็นประวัติศาสตร์ในการสูญเสียทางการบิน และมีผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ 61 คน
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
หลังเหตุการณ์มีการสืบหาสาเหตุของการชนกันในครั้งนี้ สืบเนื่องจากหมอกที่ลงอย่างหนาและเครื่องบินไม่มีเรดาร์ภาคพื้น ทำให้ต้องใช้การสื่อสารเป็นหลัก ประกอบกับการสื่อสารระหว่างนักบิน กับเจ้าหน้าที่หอบังคับวิทยุนั้น เหมือนจะไม่เข้าใจกัน ในกรณีของการสื่อสารระหว่างของนักบิน สายการบิน เคแอลเอ็ม และเจ้าหน้าที่หอบังคับ ที่สื่อสารกันไม่เข้าใจ นักบินของเคแอลเอ็มนำเครื่องขึ้นทั้งๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ยังไม่แจ้งอนุญาตให้ทำการบิน
เหตุการณ์เครื่องบินชนกันที่เตเนริเฟนี้ ทำให้ตระหนักได้ถึงความปลอดภัยในการทำการบิน เห็นได้ว่าถ้าเครื่องบินมีเรดาร์ภาคพื้นอาจทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจจับสัญญาณของเครื่องบินได้ และอีกสิ่งสำคัญเลยคือการสื่อสาร ถ้าการสื่อสารนั้นมีความชัดเจน อาจจจะไม่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายแบบนี้
เหตุการณ์ที่ 4 เหตุการณ์เที่ยวบินที่ 123 เจแปน แอร์ไลน์ ระเบิด
ข้ามมาดูเหตุการณ์เครื่องบินที่เกิดขึ้นในประเทศแห่งนวัตกรรม อย่างญี่ปุ่นกันบ้างครับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสายการบินแห่งชาติอย่าง เจแปนแอร์ไลน์ กับเครื่องอย่างโบอิ้ง 747-146SR เที่ยวบินที่ 123 เส้นทางการบินจากสนามบินฮาเนดะ ไปยังสนามบินอิตามิ
เหตุการณ์หายนะ เกิดขึ้นเมื่อช่วงเย็นของ วันที่ 12 สิงหาคม ปี 1985 หลังจากที่เที่ยวบิน 123 ขึ้นบินจากสนามบินฮาเนดะ ไปประมาณ 12 นาที ไต่ระดับความสูงที่ 7200 ฟุต เครื่องเกิดความผิดปกติบริเวณท้ายของลำตัวเครื่อง บริเวณแผงกั้นแรงดันอากาศเกิดเสียหายอย่างหนัก และเสียการควบคุมเครื่อง ประกอบกับบริเวณแพนหางฉีกขาด และระเบิด
ภาพสมมติแสดงเหตุการณ์ที่แพนหางฉีกขาด ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
ทางนักบินของเครื่องพยายามจะนำเครื่องลงในสนามบินที่ใกล้ที่สุด แต่ก็ไม่ทันการเครื่องนั้นตกลงกระแทกพื้นบริเวณหุบเขา อตสึตากะ อูเอโนะ ในพื้นที่จังหวัดกุมมะ มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 520 คน รอดชีวิตทั้งหมด 4 คน โดยเหตุการณ์เที่ยวบิน 123 นี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การบินโดยเกิดกับเครื่องบินเพียงลำเดียว
หลังเหตุการณ์นี้ ได้มีการสอบสวนหาสาเหตุที่เครื่องบินตก โดยสรุปได้ว่า เครื่อง
โบอิง 747-146SR บริเวณท้ายของลำตัวเครื่องเคยเกิดอุบัติเหตุกระแทกกับพื้นระหว่างลงจอดทำให้บริเวณแผงปิดกั้นแรงดันอากาศภายในเครื่องเสียหาย และไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ถูกต้องตามวิธีการ เมื่อเหตุเป็นเช่นนี้ทำให้ระบบไฮดรอลิกไม่ทำงานและไม่สามารถควบคุมเครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัวได้ เป็นเหตุให้แพนหางฉีกขาด และระเบิดในที่สุด
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
เหตุการณ์ที่ 5 เหตุการณ์เที่ยวบิน 981 เตอร์กิชแอร์ไลน์ตก
อีกหนึ่งเหตการณ์เครื่องบินตกที่รุนแรงเหตุการณ์หนึ่งของโลก คงหนีไม่พ้น เหตุการณ์เที่ยวบิน 981 ของเตอร์กิชแอร์ไลน์ตก และผู้โดยสารทั้งหมดเสียชีวิต
โดยเหตุการณ์หายนะ เกิดขึ้นกับเครื่องบินแบบ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 เส้นทางทาอากาศยานอิสตันบูล ประเทศตุรเคีย ไป ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ ประเทศอังกฤษ ระหว่างเครื่องขึ้นบินจากสนามบินออร์ลี ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นจุดแวะพักเครื่องก่อนบินไปสนามบินฮีทโธรว์ ประเทศอังกฤษ ระหว่างเครื่องกำลังบิน เกิดเหตุประตูห้องสัมภาระของเครื่องเปิดออกเองขณะทำการบิน
ภาพความเสียหายจากเครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 เที่ยวบิน 981 ตก ขอบคุณภาพจาก https://www.aviation-accidents.net/turkish-airlines-mcdonnel-douglas-dc-10-10-tc-jav-flight-tk981/
ทำให้เครื่องบินสูญเสียแรงดันอากาศภายในห้องผู้โดยสาร เครื่องบินเสียการคบคุมทำให้ดิ่งพสุธา ตกกระแทกพื้นโลกบริเวณป่า Ermenonville ในประเทศฝรั่งเศส ทำให้ผู้โดยสาร 346 คนเสียชีวิตทั้งหมด
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
หลังเหตุการณ์นี้ได้มีการสืบสวนหาสาเหตุ ซึ่งพบว่าเครื่องบินแบบ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 มีการออกแบบประตูห้องสัมภาระผิดพลาด ประตูเกิดปลดล็อกเองเป็นผลให้ประตูหลุดออกจากตัวเครื่องขณะทำการบิน ส่งผลให้ความดันอากาศในห้องโดยสารลดต่ำลงไปด้วย เครื่องจึงเสียการควบคุมและตกลงสู่พื้นโลกในที่สุด เหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทผลิตเครื่องบินต้องตระหนักถึงระบบรักษาความปลอดภัยของประตูห้องโดยสาร และประตูห้องสัมภาระมากยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดียที่อำนวยความสะดวกให้กับบทความ
ขอขอบคุณภาพจาก
https://www.aviation-accidents.net/turkish-airlines-mcdonnel-douglas-dc-10-10-tc-jav-flight-tk981/
ที่ให้นำภาพอุบัติเหตุทางเครื่องบินมาใช้ในบทความ
**เพื่อน ๆท่านไหนที่คิดว่ามีเหตุการณ์เครื่องบินตกที่น่าสนใจ สามารถคอมเม้นแนะนำ ให้ความรู้เพิ่มเติมกันได้นะครับ**
**ติดตามอ่านบทความหัวข้ออื่นได้ที่เพจ มังกรเล่าเรื่อง**
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย